วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฏนารี #16: เกอิชา และ โออิรัน

     ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมอันเป็นที่แปลกหูแปลกตาอยู่มากมาย และเมื่อกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในสิ่งแรกๆ ที่จะเข้ามาในความคิดของเราก็คือหญิงคณิกาสไตล์ญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดและแยกไม่ออกระหว่าง "หญิงคณิกา" และ "เกอิชา" โดยเรื่องราวของหญิงสาวเหล่านี้ได้กลายเป็นที่รู้จักอย่างมากผ่านภาพยนตร์เรื่อง "Memoirs of a Geisha" ในปี 2005
     ในญี่ปุ่นก็เหมือนกับหลายประเทศอื่นๆ ที่มีเรื่องราวของหญิงคณิกาปรากฏในประวัติศาสตร์ โออิรัน (花魁 : Oiran) เป็นชื่อเรียกของหญิงคณิกาสมัยญี่ปุ่นโบราณ แม้ปัจจุบันเราอาจได้ยินถึงการมีอยู่จริงของพวกเธอบ้าง แต่ก็มีจำนวนน้อยลงมากและพวกเธอก็ไม่ได้ทำหน้าที่ในการขายบริการเช่นสมัยก่อนแล้ว

ประวัติศาสตร์ของเกอิชาและโออิรัน
     ในสังคมตะวันตก เกอิชาเป็นที่รู้จักมากกว่าโออิรันมาก ซึ่งบทบาท หน้าที่ และลักษณะของพวกเธอมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ยุครุ่งเรืองของ โออิรัน คือต้นยุค Edo (ค.ศ.1600-1868) ในยุคนั้นพวกเธอเปรียบเสมือนผู้ให้ความบันเทิงและผู้มีชื่อเสียงระดับ Superstars ในทางตรงกันข้าม เกอิชาเป็นผู้ทำงานอยู่เบื้องหลังและถูกออกกฎให้สามารถแต่งตัวได้เพียงเรียบๆ เท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นที่โดดเด่นแข่งกับโออิรัน โออิรันเป็นหญิงสาวที่ได้รับการศึกษาในศิลปะหลากแขนง และพวกเธอก็ยังได้รับการเคารพยกย่องจากการประกอบอาชีพนี้ ย้อนไปในอดีต การจะเรียกใช้บริการโออิรันได้นั้นต้องใช้เงินมหาศาล เรียกได้ว่าเทียบได้กับเงินรายรับทั้งปีของคนทั่วไปก็ว่าได้ แต่กระนั้น ไม่ว่าคุณจะมีเงินจ่ายมากเท่าไหร่ แต่โออิรันก็มีสิทธิ์ปฏิเสธแขกได้หากคนๆ นั้นดูไม่น่าเชื่อถือ
     เกอิชายังคงมีอยู่จริงมาจนถึงปัจจุบัน ตรงข้ามกับอาชีพโออิรันจริงๆ ที่ได้หายไปจากสังคมญี่ปุ่นปัจจุบันตั้งแต่มีการกำหนดให้การค้าบริการทางเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ก็ยังมีการพยายามรักษาวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์นี้ให้ยังคงมีชีวิตผ่านขบวนโออิรัน (花魁道中 : Oiran Douchuu) ที่สมัยก่อนก็มีการเดินขบวนโออิรันไปรอบๆ เขตของพวกเธอเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งก็จะเป็นการโฆษณาบริการของพวกเธอไปในตัว ปัจจุบันยังมีการจัดการเดินขบวนโออิรันบ้างเป็นครั้งคราวตามงานเทศกาลในจังหวัดต่างๆ ทั่วญี่ปุ่น และที่โด่งดังมากที่สุดก็คือขบวนโออิรันในเขต Asakusa จังหวัดโตเกียว (江戸吉原花魁道中) และในเทศกาล Tsubame Sakura (つばめ桜祭り) จังหวัด Nigata 
     และต่อไปนี้คือข้อแตกต่างของเกอิชาและโออิรัน ที่จะช่วยให้คุณแยกพวกเธอออกจากกันได้ง่ายขึ้น

1. กิโมโน (着物 : Kimono)

     เกอิชาแต่งตัวเรียบร้อยเรียบง่ายเสมอ และไม่สามารถสวมกิโมโนที่มีการสะท้อนแสงออกมาเป็นแวบๆ ได้ แต่สำหรับโออิรัน ทุกอย่างดูเหมือนจะตรงกันข้าม โออิรันต้องแต่งตัวให้ดูหรูหราฟุ่มเฟือยเพื่อดึงดูดความสนใจจากแขก ปกติพวกเธอจะสวมกิโมโนที่มีการสร้างลายจากแผ่นทองหรือดิ้นทองผสมผสานกับสีสันที่ฉูดฉาด ส่วนในเรื่องคุณภาพของกิโมโนที่สวมใส่ก็แตกต่างกัน เกอิชามักสวมกิโมโนที่มีราคาแพง แต่ก็ยังถูกกว่ากิโมโนของโออิรันที่ต้องทำด้วยผ้าไหมแท้ทั้งชุด โดยโออิรันตำแหน่งสูงสุดจะถูกเรียกว่า Tayuu (
太夫) โออิรันในขั้นนี้จะสวมกิโมโนหรูหราทับด้านนอกอีกชั้นที่เรียกว่า Uchikake (打掛) ซึ่่งอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดแตกต่างอย่างชัดเจนของเกอิชาและโออิรันคือ เกอิชาจะผูกเงื่อนโอบิด้านหลัง แต่โออิรันจะผูกไว้ด้านหน้า กล่าวกันว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สะดวกต่อการให้บริการของพวกเธอที่ต้องสวมและถอดกิโมโนบ่อยครั้ง ซึ่งน้ำหนักชุดทั้งหมดของโออิรันอาจมากถึง 20 กิโลกรัมเลยทีเดียว

2. ทรงผม (日本髪 : Nihongami)
     เกอิชาจะทำผมหรือสวมวิกทรงที่เรียบง่าย แต่โออิรันมักทำผมหรือสวมวิกให้ดูอลังการพร้อมประดับเครื่องประดับมากมายเสมอ ทั้งปิ่น (かんざし
 : Kanzashi) และเครื่องประดับผมทั้งสีทองและสีสันอื่นๆ วิกที่โออิรันนิยมสวมคือทรง Date-hyogo (伊達兵庫) ที่มีการมัดผมเป็นโบว์ด้านหลังอย่างชัดเจน ในขณะที่เกอิชาจะไม่ทำเช่นนั้น โดยเฉพาะส่วนผมของโออิรันก็มีน้ำหนักถึง 10 กิโลกรัม ทำให้ชุดทั้งหมดรวมผมและเครื่องประดับของโออิรันมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 30 กิโลกรัม

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก ta_ta999 - blog)
เกอิชามักสวมวิกทรง Taka-shimada

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest)
โออิรันมักสวมวิกทรง Date-hyogo

3. รองเท้า
     ทั้งเกอิชาและโออิรันสวมรองเท้าไม้ (下駄
 : Geta) เหมือนกัน แต่ความแตกต่างนั้นอยู่ที่ความสูงของรองเท้า โดยเกอิชาจะมักสวมรองเท้าไม้ที่ไม่ต่างจากรูปแบบทั่วไปนัก แต่รองเท้าของโออิรันจะสูงราว 15 เซนติเมตร ทำเช่นนี้เพื่อให้แน่ใจว่าขณะเดินขบวนจะไม่มีใครอยู่สูงกว่าโออิรันและเพื่อให้แขกมองเหห็นเธออย่างทั่วถึง โดยการเดินของโออิรันจะมีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า Soto-Hachi-Monji (外八文字) แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของ "หญิงที่งาม 8 ด้าน"

(ขอขอบคุณวิดีโอจาก tane_temiya1969 on Youtube)
ขบวนโออิรัน กับวิธีการเดินอันเป็นเอกลักษณ์

4. เท้า

     ย้อนไปในสมัย Edo การเดินเท้าเปล่าโดยไม่สวมถุงเท้าในที่ส
าธารณะถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรนัก ในขณะที่เกอิชาสวมถุงเท้า Tabi (足袋) เสมอ โออิรันกลับไม่สวมถุงเท้าแม้ว่าจะเป็นฤดูหนาวก็ตาม กล่าวกันว่าเมื่อชายหนุ่มเห็นเท้าเปล่าๆ ของเธอก็จะเริ่มรู้สึกคลั่งและหลงใหลในตัวโออิรัน ซึ่งในปัจจุบันบางครั้งก็มีการทาแป้งขาวลงบนทุกส่วนของร่างกายที่ไม่ได้ถูกปกคลุมโดยกิโมโนด้วย

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก adventuresofanette - blog และ www.tsunagujapan.com

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #16: Hayashi Rice

     Hayashi Rice (ハヤシライス) เป็นอาหารสไตล์ตะวันตก (洋食 : Youshoku) ที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่น มักจะประกอบไปด้วยเนื้อวัว หัวหอม และเห็ด ราดด้วยซอส Demi-glace (ドミグラスソース) ที่อุดมไปด้วยไวน์แดงและซอสมะเขือเทศ นิยมเสิร์ฟคู่หรือราดบนข้าวหุงสุกร้อนๆ โดยบางครั้งก็อาจมีครีมสดราดด้านบนสุดด้วย

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก housefoods.jp)
Hayashi Rice

ตำรับ Hayashi Rice
สำหรับ 4 ที่

วัตถุดิบ
สำหรับน้ำซุป
     1. น้ำมัน 1 ช้อนชา
     2. เนื้อบด 150 กรัม
     3. หัวหอมใหญ่ ½ ลูก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
     4. แครอท ½ หัว หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
     5. ก้านคึ่นฉ่าย 1 ต้น หั่นให้ละเอียด
     6. กระเทียม 1 กลีบ หั่นให้ละเอียด
     7. ใบกระวาน 1 ใบ
     8. น้ำสะอาด 6 ถ้วย (ประมาณ 1,500 มิลลิลิตร)

สำหรับ Roux (ส่วนผสมของแป้งและไขมัน)
     1. แป้งเอนกประสงค์ 1/3 ถ้วย (45 กรัม)
     2. น้ำมัน 1/3 ถ้วย (80 มิลลิลิตร)

สำหรับเครื่องปรุงรส
     1. ซอส Worcester 3 ช้อนโต๊ะ
     2. ซอสมะเขือเทศ 2 ช้อนชา
     3. ครีมมะเขือเทศ (Tomato paste) 4 ช้อนโต๊ะ
     4. ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ
     5. พอร์ตไวน์ ¼ ถ้วย
     6. เกลือ ¾ ช้อนชา
     7. พริกไทย ¼ ช้อนชา
     8. เนย 1 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมหลัก
     1. เนย 1 ช้อนชา
     2. เนื้อ 300 กรัม หั่นบางเป็นชิ้นพอดีคำ
     3. หัวหอมใหญ่ 1 ลูก หั่นบาง
     4. เห็ด 7-8 ชิ้น หั่นบาง
     5. ข้าวหุงสุก
     6. ถั่วลันเตาสุก 1/3 ถ้วย

วิธีทำ
     1. เริ่มต้นที่น้ำซุป อุ่นน้ำมันให้ร้อนในกระทะ ระหว่างรอให้ผสมเนื้อกับผักที่หั่นแล้วในชามใบใหญ่อีกใบ เสร็จแล้วนำลงผัดในกระทะที่เตรียมไว้เป็นเวลา 2 นาที เติมใบกระวานและน้ำ (ในส่วนของใบกระวานและน้ำนี้จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้) เคี่ยวจนสุกแล้วให้ตักเฉพาะซุปใส่ในหม้อใบใหม่ พักไว้
     2. ทำ Roux ในกระทะ ให้เทน้ำมันและแป้งลงไป ให้ความร้อนระดับปานกลางอย่างต่อเนื่องจนส่วนผสมเป็นสีน้ำตาล อาจใช้เวลาประมาณ 10 นาที แล้วพักไว้
     3. เติมวัตถุดิบในส่วนสำหรับเครื่องปรุงรสและ Roux จากข้อ 2 ลงไปผสมกับซุปที่เสร็จแล้วในข้อ 1 จากนั้นเคี่ยวด้วยความร้อนปานกลางจนซอสในหม้อเริ่มข้น
     4. เทเนยลงไปในกระทะใบใหญ่อีกใบ วางเนื้อหั่นบางลงไปทอด 1 นาที จากนั้นใส่หัวหอมและเห็ดตามลงไป ผัดต่อจนผักนุ่ม เทส่วนผสมทั้งหมดที่ได้ในข้อนี้ลงไปผสมกับซอสจากข้อ 3 แล้วเคี่ยวซอสที่อยู่ในหม้อต่ออีก 2-3 นาที
     5. ตักแกงที่ได้ราดบนข้างหุงสุก อาจเพิ่มสีสันด้วยการโรยหน้าด้วยเม็ดถั่วลันเตา

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Japanesecooking101

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #16: อุปกรณ์เสริมของกิโมโน(2)

     อุปกรณ์ที่ใช้สวมคู่กับกิโมโน (着付け小物 : Kitsuke-komono)

Happi (法被)
     เป็นอีกชนิดหนึ่งของ Haori ที่แต่ก่อนมักสวมโดยพ่อค้าแม่ค้า แต่ปัจจุบัน Happi ได้กลายเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานเทศกาลต่างๆ อย่างแยกไม่ออก

Hiyoku (ひよく)
     กิโมโนชั้นใน ซึ่งสมัยก่อนผู้หญิงจะสวมก่อนสวมกิโมโนทับอีกชั้นเสมอ แต่ปัจจุบันจะสวมเฉพาะในโอกาสพิเศษที่มีความเป็นทางการ เช่น งานแต่งงาน โดยในวัฒนธรรมการแต่งกายของกิโมโนชั้นสูงจะมีการสวม Hiyoku หลายชั้นก่อนสวมกิโมโนตัวจริงทับ

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.junihitoe.net)
Juunihitoe (十二単) วัฒนธรรมการสวมกิโมโนในราชสำนักที่ต้องสวมกิโมโนและ Hiyoku รวมกว่า 12 ชั้น

Juban (襦袢) และ Hadajuban (肌襦袢)

     ซับในกิโมโน ใช้สวมก่อน Nagajuban (長襦袢) โดยคำว่า Hadajuban หมายความถึงส่วนเสื้อ ส่วนส่วนที่เป็นกระโปรงคล้ายผ้าถุงจะเรียกว่า Susoyoke (裾よけ)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก wanadesiko on Rakuten)
Kimono surippu (着物スリップ) เป็น Juban แบบชิ้นเดียวทั้งตัว
เกิดจากการผสมกันระหว่าง Hadajuban และ Susoyoke

Jittoku (十徳)
     บางครั้งอาจเรียก Jittoku Haori (十徳羽織) เป็นชนิดหนึ่งของเสื้อคลุม Haori ที่สวมโดยผู้ชายเท่านั้น Jittoku ทำมาจากผ้า Ro () หรือ Sha () ขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยตัว Jittaku มีความยาวถึงสะโพก และมีสายสำหรับรัดด้านหน้าที่ทำจากผ้าชนิดเดียวกันกับตัวเสื้อ บริเวณข้อมือถูกออกแบบให้เปิดกว้างทั้งหมด ต่างจาก Haori ธรรมดาที่จะมีช่องเล็กๆ สำหรับให้มือผ่านได้เท่านั้น และจะไม่มีการเพิ่มสัญลักษณ์ประจำตระกูลเพื่อเพิ่มระดับความเป็นทางการใดๆ ทั้งสิ้น
     Jittoku มีต้นกำเนิดจากยุค Kamakura (ค.ศ.1185-1333) และยุค Edo (ค.ศ.1603-1868) สมัยนั้นคนที่จะสวม Jittoku คือ หมอ นักบวช ปราชญ์ขงจื๊อ และผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีชงชาของญี่ปุ่น ปัจจุบันกลุ่มคนที่สวม Jittoku ในชีวิตประจำวันก็เห็นจะมีแต่ผู้ประกอบพิธีชงชาที่อยู่ในขั้นสูงๆ

Nagajuban (長襦袢)
     ซับในกิโมโนที่สวมได้ทั้งชายและหญิง นิยมสวมด้านในก่อนสวมกิโมโนตัวจริงทับ เนื่องจากกิโมโนส่วนใหญ่มีสวดลายที่ดูแลรักษาความสะอาดยาก การสวมซับในชั้นหนึ่งก่อน จะช่วยให้กิโมโนตัวจริงเปื้อนน้อยลง จึงไม่ต้องซักมากให้เสี่ยงลายเสียหายโดยใช่เหตุ ส่วนเดียวของ Nagajuban ที่เห็นได้จากภายนอกแม้จะสวมกิโมโนทับอีกชั้นไปแล้วก็คือปก Nagajuban หลายแบบมีปกที่สามารถแยกออกจากตัวชุดได้ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนรูปแบบ ลาย และสีของปกให้เข้ากับกิโมโนตัวจริง และยังช่วยให้ซักทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งสีของ Nagajuban ที่มีระดับความเป็นทางการสูงคือสีขาว แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่เน้นลวดลายหรูหราและสีสีนสดใสประหนึ่งเป็นกิโมโนที่จะสวมด้านนอกจริงๆ และตั้งแต่ที่กิโมโนของผู้ชายถูกปรับรูปแบบให้เรียบง่ายขึ้น Nagajuban ของผู้ชายก็กลับพัฒนาในทางตรงกันข้าม คือมีการใส่ลวดลายและสีสันสดใสโดดเด่นลงไปมากขึ้น

Kanzashi (簪)
     เครื่องประดับผมของผู้หญิงแบบญี่ปุ่นโบราณที่มีรูปแบบหลากหลายมาก ซึ่งคำๆ นี้ยังรวมไปถึงดอกไม้จากผ้า หวีเสียบ และปิ่นหยกด้วย

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก kwc_photo on Instagram)
ไมโกะ Fumiyuki จาก Kamishichiken
Tsumami Kanzashi (つまみ簪) ดอกไม้ประดับผมจากผ้า
เป็นรูปแบบของดอกเบญจมาศ สำหรับเดือนตุลาคม

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก kyohanamachi_kawamura on Instagram)
ไมโกะ Kanako จาก Miyagawacho
Tsumami Kanzashi (つまみ簪) ดอกไม้ประดับผมจากผ้า
รูปแบบพิเศษเฉพาะช่วงเทศกาล Gion ในเดือนกรกฎาคม

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia
Fumiou, Tai Sakura Okiya

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #15: Kitano Kouta (Kamishichiken)

เพลง : Kitano Kouta (北野小唄)
แบบฉบับ : Kamishichiken

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Naokinu จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Umechie จากโอกิยะ Umeno

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Ichitaka จากโอกิยะ Ichi
และไมโกะ Katsuna จากโอกิยะ Daimonji

By: kunihiko takenaka on Youtube
ไมโกะ Naokinu จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Umechie จากโอกิยะ Umeno

By: kunihiko takenaka on Youtube
ไมโกะ Naokinu จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Umechie จากโอกิยะ Umeno

Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฏนารี #15: เกโกะ และ เกอิชา

     เกอิชา (芸者 : Geisha) คำนี้มาจากอักษรสองตัว "Gei ()" แปลว่าศิลปะ "Sha ()" แปลว่าบุคคล ดังนั้นเกอิชาจึงแปลว่า "บุคคลผู้แสดงศิลปะ" ใช้เรียกกันทั่วไป โดยเฉพาะในโตเกียว
     เกโกะ (芸子 : Geiko) เป็นคำที่ใช้เรียกเกอิชาในแถบเกียวโต มีความหมายตรงตัวว่า "หญิงสาวผู้แสดงศิลปะ"
     ต่อไปนี้คือวิธีง่ายๆ ที่จะใช้แยกความแตกต่างระหว่างเกอิชาและเกโกะ

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก geisha-kai on Tumblr)
เกอิชา Chifumi ในโตเกียว
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก koimaiko_satsuki on Instagram)
เกโกะ Satsuki ในเกียวโต

1. ทรงผม (日本髪 : Nihongami)
     ทั้งเกอิชาและเกโกะจะสวมวิกทรง Taka Shimada (高島田) เหมือนกันแต่อาจมีแตกต่างกันบ้างในบางโอกาส
     โดยทั่วไปเกโกะจะสวมวิกทรง Taka Shimada เสมอ(ยกเว้นในโอกาสพิเศษ หรือด้วยรสนิยมส่วนตัวของเกโกะที่อาวุโสมาก) ส่วนเกอิชาสามารถสวมวิกได้ทั้งทรง Taka Shimada และ Tsubushi Shimada (つぶし島田) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขั้นของเกอิชาแต่ละคน

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก kotobank.jp)
Tsubushi Shimada (ซ้าย) Taka Shimada (กลาง) และ Nage Shimada (投げ島田) (ขวา)

2.
กิโมโน (着物 : Kimono)
     เกโกะในเกียวโตทุกคนจะสวมกิโมโนที่ยาวลากพื้น เรียกว่า Hikizuri (
引きずり) แต่หากได้รับขั้น Natori (ขั้นที่สูงขึ้นของเกโกะ) เธอก็สามารถเลือกสวมกิโมโนสีดำที่ยาวน้อยลงลงได้
     ในโตเกียว เกอิชาที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นานจะสวมกิโมโนทั่วไปที่ไม่ยาวลากพื้น และจะได้รับกิโมโนที่ยาวขึ้นเมื่อพวกเธอมีประสบการณ์มากขึ้น

3. โอบิ (帯 : Obi)
     เกโกะจะผูกโอบิด้วยเงื่อน Taiko (
太鼓結び) ในโอกาสทั่วไป ส่วนเกอิชาในโตเกียวจะมัดเงื่อนที่ต่างออกไป ใน Asakusa เกอิชารุ่นน้องจะผูกด้วยเงื่อน Taiko แต่เกอิชาอาวุโสที่มีประสบการณ์มากกว่าจะผูกโอบิด้วยเงื่อน Tsunodashi (角出し結び) และเกอิชาทุกคนจะผูกเงื่อน Yanagi (柳結び) ในโอกาสพิเศษ

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก shiomi.info)
เงื่อน Taiko (ซ้าย) เงื่อน Yanagi (กลาง) และเงื่อน Tsunodashi(ขวา)

4. ปกกิโมโน (衿 : Eri)
     ทั้งเกโกะและเกอิชาสวมปกกิโมโนสีขาวด้านในเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่เกอิชาจะไม่สวมปกกิโมโนสีขาวในฤดูร้อน ในขณะที่เกโกะจะสวมตลอดทั้งปี

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Geisha kai - blog

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #15: Gyouza

     Gyouza (ギョーザ, ギョウザ) คำนี้ในภาษาญี่ปุ่นมาจากคำว่า "餃子" ในภาษาจีนแมนดารินเหนือ ซึ่งก็เขียนด้วยตัวอักษรตัวเดียวกันในภาษาจีนแมนดารินหรือภาษาจีนกลางนั่นเอง อักษรเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคำนี้มีต้นกำเนิดมาจากต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่น เล่ากันว่าหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นก็กลับมายังญี่ปุ่นบ้านเกิด พร้อมนำความรู้ในวิธีทำ Gyouza กลับมาด้วย เมนูนี้มีลักษณะเป็นเกี๊ยว ที่ต่อมาก็เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากพอๆ กับ Ramen เลยทีเดียว

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก news.cookpad.com)
Gyouza

ตำรับ Gyouza
สำหรับ 52 ชิ้น

วัตถุดิบ
     1. แผ่นแป้งสำหรับห่อเกี๊ยว 52 แผ่น
     2. น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ
     3. น้ำสะอาด ¼ ถ้วย
     4. น้ำมันงา 1 ช้อนชา

สำหรับไส้
     1. หมูบด 340 กรัม
     2. กะหล่ำปลี 2-3 ใบ (ประมาณ 140 กรัม)
     3. ต้นหอม 2 ต้น (ประมาณ 15 กรัม)
     4. เห็ดหอม 2 ต้น
     5. กระเทียม 1 กลีบ สับละเอียด
     6. ขิงสดหนา 1 นิ้ว นำมาขูดเป็นฝอย

สำหรับเครื่องปรุงรส
     1. สาเก 1 ช้อนชา
     2. น้ำมันงา 1 ช้อนชา
     3. ซีอิ๊ว 1 ช้อนชา
     4. เกลือ ¼ ช้อนชา
     5. พริกไทยดำ

สำหรับซอส
     1. น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ
     2. ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ
     3. น้ำมันพริก  ช้อนชา

วิธีทำ
วิธีทำไส้เกี๊ยว
     1. ถ้าใบกะหล่ำปลียังแข็งเกินไป ให้นำไปอุ่นในไมโครเวฟ 1-2 นาทีก่อน
     2. หั่นแยกส่วนแกนแข็งๆ ตรงกลางใบกะหล่ำปลีออก แล้วสับใบที่เหลือเป็นชิ้นเล็กๆ
     3. หั่นต้นหอมและเห็ดหอมเป็นชิ้นเล็กๆ
     4. เทหมูบด กะหล่ำปลี ต้นหอม และเห็ดหอมที่หั่นแล้วลงในชาม
     5. ใส่กระเทียมสับและขิงขูดตามลงไป
     6. เติมเครื่องปรุงรส (สาเก น้ำมันงา ซีอิ๊ว เกลือ และพริกไทยดำ สัดส่วนตามรายการส่วนผสมด้านบน)
     7. ผสมส่วนผสมทั้งหมดในชามเข้าด้วยกัน จากนั้นในมือนวดคลุกเคล้าจนเหนียว จะได้ไส้สำหรับเกี๊ยว
     8. วางแผ่นแป้งสำหรับห่อเกี๊ยวลงบนฝ่ามือข้างหนึ่งที่ไม่เปียก ใช้มืออีกข้างหยิบช้อนโต๊ะตักไส้ลงตรงกลางแผ่นแป้ง แล้วใช้นิ้วของมือข้างเดียวกันจุ่มน้ำ จากนั้นนำไปแตะรอบๆ แผ่นเกี๊ยวให้เปียก

วิธีห่อเกี๊ยว
     1. พับครึ่งแผ่นแป้งที่ตักไส้ใส่ลงไปแล้ว จิกขอบตรงกึ่งกลาง จากนั้นใช้นิ้วโป้งและนิ้วกลางจับแผ่นแป้งให้เป็นจีบทุกๆ ประมาณ ¼ นิ้ว จับจีบไปทางขวาเรื่อยๆ จนสุดแผ่นเกี๊ยว โดยต้องบียให้แน่นๆ ทุกจีบ
     2. จับจีบไปทางซ้ายในลักษณะเดียวกับวิธีห่อเกี๊ยวข้อ 1

วิธีทอดเกี๊ยว
     1. อุ่นน้ำมันในกระทะเคลือบป้องกันอาหารติดด้วยความร้อนสูงปานกลาง เมื่อน้ำมันร้อนแล้ววางเกี๊ยวซ่าลงไป ให้ด้านหนึ่งเรียบติดกับกระทะ
     2. ทอดประมาณ 3 นาที ให้เกี๊ยวด้านล่างเหลือง
     3. เทน้ำสะอาด ¼ ถ้วย ลงไปในกระทะ จากนั้นให้ปิดฝากระทะทันที แล้วทิ้งไว้ 3 นาที หรือจนกระทั่งน้ำระเหยเกือบหมด
     4. เปิดฝาออก เติมน้ำมันงา 1 ช้อนชาลงไปรอบๆ ขอบกระทะ
     5. ทอดต่อโดยไม่ต้องกลับเกี๊ยวจนด้านบนเหลือง และด้านล่างที่ติดกระทะเริ่มกรอบ
     6. ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมซอส โดยวิธีทำซอสคือ ให้ผสมส่วนผสมทั้งหมดในส่วนวัตถุดิบสำหรับซอสเข้าด้วยกันแล้วเทใส่ถ้วยใบเล็กๆ

เคล็ดลับ
     1. ห่อเกี๊ยวแล้วให้ทอดหรือนำเข้าช่องแช่แข็งทันที ไม่เช่นนั้นไส้จะทำให้แผ่นเกี๊ยวเปียกเสียทรง ทอดออกมาไม่สวย
     2. หากห่อเกี๊ยวแล้วแต่ต้องการเก็บไว้ทอดในภายหลัง ให้วางเกี๊ยวลงบนภาชนะเรียบพอห่างๆ กันเพื่อป้องกันการติด แล้วน้ำเข้าช่องแช่แข็ง จากนั้นนำใส่ถุงให้มิดชิด สามารถแช่ทิ้งไว้ในช่องแช่แข็งได้นานสูงสุด 1 เดือน เมื่อต้องการนำออกมาทอด ไม่ต้องทำให้หายแข็งก่อน สามารถนำออกมาแล้วทอดได้เลย แต่ต้องเพิ่มเวลาทอดไปอีก 1-2 นาทีด้วย

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Justonecookbook

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #15: อุปกรณ์เสริมของกิโมโน(1)

     อุปกรณ์ที่ใช้สวมคู่กับกิโมโน (着付け小物 : Kitsuke-komono)

Datejime (伊達締め) หรือ Datemaki (伊達巻き)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.cs-j.bb4u.ne.jp)
Datejime รูปแบบต่างๆ

     อาจเรียกได้ว้าเป็นโอบิชั้นใน ใช้ผูก Nagajuban (長襦袢 : กิโมโนชั้นใน) และกิโมโนตัวหลัก เพื่อยึดกิโมโนให้คงอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

Eri-sugata (衿姿)
     คอปกเสริมที่สามารถใช้สวมแทน Nagajuban (長襦袢 : กิโมโนชั้นใน) ในฤดูร้อนได้ เพราะในฤดูร้อน การสวม Nagajuban จะทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกอบอ้าวและไม่สบายตัวมาก โดย Eri-sugata นี้จะช่วยให้คอปกกิโมโนโค้งและอยู่ในตำแหน่งที่สวยงาม

Geta (下駄)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.e-geta.com)
Geta

     รองเท้าจากไม้ที่สวมได้โดยทั้งผู้หญิงและผู้ชายคู่กับยูคาตะ (浴衣 : กิโมโนฤดูร้อน) และ Geta ที่มีรูปแบบเฉพาะจะสวมโดยเกอิชา

Hakama (袴)
     กางเกงขายาวแบบญี่ปุ่นที่มีทั้งแบบแบ่งเป็นสองขา (
馬乗袴 : Umanoribakama) และแบบไม่แบ่งขา (行灯袴 : Andonbakama) โดยทั่วไปจะสวมโดยผู้ชาย ส่วนผู้หญิงก็สามารถสวมได้ แต่นิยมใช้ในโอกาสที่เป็นทางการน้อยกว่า Hakama จะเป็นจีบๆ คล้ายกระโปรง และใช้เส้นผ้ามัดให้เข้ากับตัวผู้สวม ทับโอบิ Hakama สำหรับผู้ชายจะมีส่วนคล้ายเบาะตรงเอวด้านหลัง (腰板 : Koshi-ita) ด้วย นอกจากนี้ Hakama ยังถูกสวมโดยนักกีฬาในศิลปะการป้องกันตัวแบบญี่ปุ่นหลากหลายแบบ เช่น ไอกิโด (合気道 : Aikido), เคนโด้ (剣道 : Kendo), ศิลปะการใช้ดาบ (居合道 : Iaidou) และศิลปะการใช้หอก (薙刀 : Naginata) สำหรับผู้หญิง จะสวม Hakama ในพิธีจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และใช้สวมโดย Miko (巫女) ในศาลเจ้าชินโต ทั้งนี้ระดับความเป็นทางการของ Hakama จะขึ้นอยู่กับสีหรือลวดลายบนผ้า

Hanten (袢纏)
     เสื้อคลุมแบบฉบับของคนใช้แรงงาน นิยมเสริมความหนาด้วยฟูกเพื่อความอบอุ่น อาจกล่าวได้ว่าตรงข้ามกับ Happi ที่บางกว่ามาก

Haori (羽織)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.hakama-girls.net)
Haori (เสื้อคลุมสีฟ้า-เทา)

     เสื้อคลุมที่มีความยาวถึงสะโพกหรือต้นขา ใช้สวมคู่กับกิโมโนเพื่อเพิ่มระดับความเป็นทางการ แต่ก่อน ผู้ชายเท่านั้นที่สวม Haori แต่ต่อมาในสมัยเมจิ เสื้อคลุมนี้กลายเป็นแฟชั่นในหมู่หญิงสาว ทำให้ปัจจุบันสามารถสวมได้ทั้งหญิงและชาย

Haori-himo (羽織紐)
     เชือกประดับพู่สำหรับผูกคู่กับ Haori โดยมีสีขาวเป็นสีที่เป็นทางการที่สุด

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #14: Gosho no Oniwa

เพลง : Gosho no Oniwa (御所のお庭)
แบบฉบับ : Miyagawacho

By: nerocomxjp on Youtube
ไมโกะ Fukukana จากโอกิยะ kawayoshi

By: Tsunoda kazushi on Youtube
ไมโกะ Toshisumi และไมโกะ Toshiteru จากโอกิยะ Komaya

By: Kimo Kame on Youtube
ไมโกะ Toshimana และไมโกะ Toshikana จากโอกิยะ Komaya

By: kainmacourt on Youtube
ไมโกะ Satono จากโอกิยะ Kawahisa

แบบฉบับ : Kamishichiken

By: torayatorao on Youtube
ไมโกะ Satohana จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Ichimari จากโอกิยะ Ichi

Fumiou, Tai Sakura Okiya

เกอิชา นาฎนารี #14: เกโกะ และ ไมโกะ

     เกโกะ (芸子 : Geiko)คือผู้ให้ความบันเทิงด้วยศิลปะ พวกเธอเป็นศิลปินชั้นสูงที่อุดมไปด้วยความสามารถและความงดงาม
     ไมโกะ (舞妓 : แปลตรงตัวว่า เด็กร่ายรำ) คือเกอิชาฝึกหัด โดยเริ่มการฝึกตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนกลางถึงอายุ 20 ปี หลังจากสิ้นสุดการฝึกฝนของไมโกะ พวกเธอจะได้เลื่อนขั้นสูงขึ้นเป็นเกอิชาในพิธี Erikae (衿替え : และตรงตัวว่า เปลี่ยนปกกิโมโน)
     โดยคำว่าไมโกะและเกโกะ เป็นคำที่ใช้เรียกเกอิชาในแถบคันไซ เช่น เกียวโต นะระ และต่อไปนี้คือวิธีง่ายๆ ที่จะใช้แยกความแตกต่างระหว่างไมโกะและเก
โกะ

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก PinkCyborn13 on Twitter)
เกโกะ Mamemaru (ซ้าย) และไมโกะ Mamesumi (ขวา)
สังเกตเห็นความแตกต่างบ้างไหมคะ

1. ทรงผม (日本髪 : Nihongami)

     ไมโกะจะมีผมที่รวบตึงอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เกโกะไม่ต้องทนกับความลำบากนี้
     ไมโกะทำผมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม (日本髪 : Nihongami) ด้วยผมจริงของพวกเธอ ส่วนเกอิชาส่วนใหญ่แล้วจะสวมวิก การทำผมจริงของไมโกะจะนำความลำบากมาให้หลายด้าน โดยเฉพาะการรักษาทรงผมนี้ให้สวยงามต่อไป แม้แต่เวลานอน พวกเธอจะนอนบนหมอนสูงที่ใช้หนุนบริเวณคอ (高枕 : Takamakura) และทำผมใหม่ทุกๆ 5-7 วัน
     การทาแป้งขาวลงบนหน้าและคอของไมโกะ จะเว้นที่บริเวณโคนผมส่วนล่างด้านหลังให้เห็นสีผิวจริงอยู่เล็กน้อย ส่วนเกโกะจะมัดผมจริงของเธอขึ้นสูง ทาแป้งจนถึงโคนผมแล้วจึงสวมวิก โดยไมโกะจะทำผมหลักๆ 5 ทรง ขึ้นอยู่กับระดับขั้นของเธอ

2. เครื่องประดับผม (かんざし : Kanzashi)
     ไมโกะจะประดับผมด้วยเครื่องประดับผมชิ้นใหญ่ เป็นดอกไม้จากผ้า เรียกว่า Kanzashi (かんざし) โดยจะเปลี่ยนชนิดของดอกไม้ทุกเดือนตามฤดูกาล ส่วนเกโกะจะเสียบเครื่องประดับที่เรียบง่ายกว่า และปริมาณน้อยกว่า
     ตามประวัติศาสตร์ มีความเชื่อว่า Kanzashi จะใช้เป็นเครื่องป้องกันตัวได้ เนื่องมาจากขาปิ่นที่มีความแหลมคมนั่นเอง


3. การแต่งหน้า (白粉 : Oshiroi)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก fragrantolive11 on Instagram)
ไมโกะ Yuriha, Mameaki, Mametama, Tatsuha และ Mamesaya
ไมโกะรุ่นน้องที่เพิ่งเริ่มงานเป็นปีแรก ได้รับอนุญาตให้ทาปากสีแดงเฉพาะริมฝีปากล่างเท่านั้น
(ยกเว้นบางกรณีในเขต Pontocho) โดยมีเหตุผลว่าการทาปากลักษณะนี้จะแสดงถึงความเป็นเด็ก

     ไมโกะและเกโกะจะแต่งหน้าคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ตาม ไมโกะมีการใช้แป้งสีแดงหรือชมพูแต้มเพื่อไล่สีกับสีขาวบริเวณรอบตาและแก้มด้วย


4. กิโมโน (着物 : Kimono)

     กิโมโนของไมโกะนั้นมีสีสันและมีลวดลายมากกว่าของเกโกะ และยังมีแขนกิโมโนที่ยาวกว่ามากด้วย คล้ายๆ กับกิโมโน Furisode (振り袖 : กิโมโนแขนยาว) ส่วนเกโกะจะสวมกิโมโนแขนสั้นที่มีสีสันน้อยกว่า แต่เน้นให้มีมีลวดลายวิจิตรงดงามแสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่

5. โอบิ (帯 : Obi)
     โอบิของไมโกะมีความกว้าง (1 ฟุตเป็นอย่างน้อย) และยาวมาก (5-6 เมตร) ใช้ผูกกิโมโนด้วยเงื่อน Darari (だらりの帯 : Darari no Obi) ส่วนเกอิชานั้นใช้โอบิแบบสั้นกว่า และผูกด้วยเงื่อน Otaiko (お太鼓結び : Otaiko musubi) ธรรมดา

6. ปกกิโมโน (衿 : Eri)

ปกกิโมโนของไมโกะ
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก tomtombeat on Instagram และ tigertakashi on Instagram)
ไมโกะรุ่นน้อง Chikasuzu และไมโกะอาวุโส Fumiyoshi
มีกฎว่า ไมโกะรุ่นน้อง (ปี1-3) จะสวมปกกิโมโนที่มีลวดลายเน้นสีแดง ส่วนไมโกะอาวุโส (ปี3-6) จะสวมปกกิโมโนสีขาวล้วน

ความแตกต่างของปกกิโมโนทางด้านหลัง
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก fragrantolive11 on Instagram และ minerinhane on Instagram)
ไมโกะ Hinayuu และเกโกะ Korin
ปกด้านหลังของไมโกะเป็นสีแดงเสมอ (ไม่ว่าจะเป็นไมโกะมากี่ปีแล้วก็ตาม)
ส่วนปกด้านหลังของเกโกะจะเป็นสีขาวเสมอ

     ปกกิโมโนของไมโกะมักมีลวดลาย โดยไมโกะรุ่นน้องจะสวมปกสีแดงปักลวดลายต่างๆ ส่วนไมโกะอาวุโสจะใช้ปกสีขาวเมื่อมองจากด้านหน้า และเป็นสีแดงเสมอเมื่อมองจากด้านหลัง ส่วนปกกิโมโนของเกโกะจะเป็นสีขาวล้วนทั้งด้านหน้าและหลัง

7. รองเท้า
     ไมโกะมักสวมรองเท้าแบบสูง เรียกว่า Okobo (おこぼ) ส่วนเกโกะจะสวมรองเท้าเกี๊ยะทำขึ้นพิเศษที่สูงน้อยกว่า เรียกว่า Komachi-geta (小町下駄) แต่ในโอกาสที่ทั้งไมโกะและเกโกะต้องเดินในระยะทางไกลๆ พวกเธอก็จะเลือกสวมรองเท้า Zori (草履) แทน

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Japan-talk

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #14: Gouyaa Chanpuruu

     Gouyaa Chanpuruu (ゴーヤーチャンプルー) เป็น Chanpuruu ชนิดหนึ่งที่เป็นที่โด่งดังมากจนกลายเป็นเมนูขึ้นชื่อของ Okinawa ทำขึ้นโดยวิธีผัดมะระ เต้าหู้ ไข่ และหมูสไลซ์เข้าด้วยกัน

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.touhoku-syouyu.co.jp)
Gouyaa Chanpuruu

ตำรับ Gouyaa Chanpuruu

สำหรับ 3-4 ที่

วัตถุดิบ
     1. มะระ 1 ผล
     2. เกลือ 2 ช้อนชา
     3. เต้าหู้ 1 ก้อน
     4. หมูสไลซ์ 100-200 กรัม
     5. ไข่ 2-3 ฟอง
     6. น้ำมันงา 1 ช้อนชา
     7. ผงสต็อกดะชิ 1 ช้อนชา
     8. สาเก 2 ช้อนชา
     9. ซีอิ๊ว 1 ช้อนชา
     10. ปลาฝอย Bonito
     11. มายองเนส

วิธีทำ
     1. หั่นมะระครึ่งผลตามยาว ใช้ช้อนขูดเมล็ดและแกน(ส่วนสีขาวรอบๆเมล็ด)ข้างในออกให้หมด แล้วหั่นเป็นชิ้นบาง จากนั้นโรยด้วยเกลือ 1 ช้อนชาให้ทั่ว พักทิ้งไว้ 5 นาที
     2. ล้างเต้าหู้ให้สะอาดแล้วซับน้ำออกด้วยกระดาษเช็ดมือออกให้หมด จากนั้นห่อเต้าหู้ด้วยกระดาษเช็ดมืออีกครั้ง หาอะไรที่มีน้ำหนัก เช่น เขียงบางๆ มาทับเต้าหู้ไว้ เพื่อบีบให้น้ำออกหมด เสร็จแล้วแกะกระดาษออก นำเต้าหู้เข้าไมโครเวฟ 3-4 นาที ระหว่างรอ ให้หั่นหมูเป็นเส้นๆ เตรียมไว้
     3. ตั้งกระทะ เทน้ำมันงาลงไปให้ร้อน จากนั้นฉีกเต้าหู้ที่เตรียมไว้ด้วยมือ แล้วผัดในกระทะ เมื่อเต้าหู้เริ่มเหลืองจนเกือบน้ำตาล ให้ตักลงจากกระทะ ใส่จานพักไว้
     4. ล้างมะระที่หมักไว้ด้วยน้ำสะอาด แล้วนำลงผัดพร้อมหมูที่หั่นแล้ว ผัดจนสุกทั่วกัน จากนั้นใส่เต้าหู้จากข้อ 3 ผงสต็อกดะชิ สาเก และซีอิ๊วตามลงไป ผัดให้เข้ากัน
     5. ตอกไข่ใส่ชามอีกใบ หากต้องการรสเค็มก็สามารถเติมเกลือเพิ่มลงได้ตามชอบ เสร็จแล้วเทไข่ใส่กระทะลงไปผสมกับส่วนผสมจากข้อ 4 จากนั้นให้ชิมรสดูว่าต้องเติมอะไรเพิ่มแล้วแต่ความชอบ
     6. ตักใส่จาน เสิร์ฟคู่กับมายองเนส และปลาฝอย Bonito

เคล็ดลับ
     - มะระมีรสชาติขมนิดๆ หากคุณไม่ชอบรสขม ให้แช่มะระในน้ำร้อน 30 วินาที ก่อนจะลงผัด สิ่งนี้จะช่วยลดความขมลงได้ หรือจะเติมน้ำมันหอยเพื่อกลบรสชาติขมก็ได้เช่นกัน


Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Japancentre

กิโมโนศาสตร์ #14: กิโมโนสำหรับผู้ชาย

     ตรงกันข้ามกับกิโมโนของผู้หญิงที่สวยงานหรูหรา นั่นคือกิโมโนสำหรับผู้ชายที่มีความเรียบง่ายกว่ามาก ซึ่งปกติแล้วจะประกอบจากชิ้นส่วนหลักๆ 5 ชิ้น โดยไม่นับรวมรองเท้า

     แขนกิโมโนของผู้ชายจะติดอยู่กับตัวกิโมโนตลอด โดยไม่มีส่วนย้อยลงมาเป็นกระเป๋าแม้แต่นิ้วเดียว ต่างจากกิโมโนผู้หญิงที่มีแขนย้อยลงมาเป็นส่วนที่ไม่ติดกับตัวกิโมโนเยอะมาก ความยาวของแขนตามแนวตั้งในกิโมโนผู้ชายก็น้อยกว่าของผู้หญิงเช่นกัน เพื่อให้เข้ากันกับความกว้างของโอบิพอ
ดี

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก gaijinpot - blog)
ยูคาตะ (浴衣 : Yukata) กิโมโนฤดูร้อนสำหรับผู้ชาย 

     ใน
ยุคสมัยใหม่ ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างกิโมโนชายและหญิงคือเนื้อผ้า กิโมโนทั่วไปของผู้ชายจะเรียบง่าย มีสีโทนมืด เช่น ดำ น้ำเงินเข้ม เขียว หรือน้ำตาล และจะมีการเคลือบผ้าแบบเฉพาะ บางแบบอาจมีสีอ่อนลงหรือมีลวดลายบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้จะทำให้กิโมโนมีระดับความเป็นทางการลดหลั่นลงไป ยิ่งสดใสมากยิ่งมีความเป็นกิโมโนลำลองมาก (กิโมโนลำลอง ในที่นี้หมายความถึงกิโมโนที่สวมใส่ในบ้านทั่วไป ซึ่งก็คือมีระดับความเป็นทางการน้อยมากนั่นเอง) โดยนักซูโม่นั้นเป็นที่รู้กันดีว่ามีโอกาสได้สวมใส่กิโมโนสีสันสดใสบ่อยๆ เช่น สีแดงม่วง

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก brewminate.com)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest)
กิโมโนทั่วไปของผู้ชายจะเรียบง่าย และมีสีโทนมืด

     สำหรับกิโมโนผู้ชายที่มีระดับความเป็นทางการสูงที่สุดคือแบบที่ทำจากผ้าไหมสีพื้นดำล้วน พร้อมสัญลักษณ์ประจำตระกูล 5 จุด (บนหลัง 1 จุด, ไหล่ 2 จุด, และบนหน้าอกซ้ายขวา 2 จุด) อาจมีเพียงแค่ 3 จุดก็ได้ แต่ก็จะเป็นทางการน้อยลงไปด้วย

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #13: Gion Kouta (Miyagawacho)

เพลง : Gion Kouta (祇園小唄)
แบบฉบับ : Miyagawacho

By: tomy idn on Youtube
ไมโกะ Toshimomo จากโอกิยะ Komaya

By: 扇元矢 Watanabe Ayako 西川 on Youtube
ไมโกะ Fukuhana จากโอกิยะ Shigemori

By: hat chibikuro on Youtube
ไมโกะ Toshisumi และไมโกะ Toshimomo จากโอกิยะ Komaya

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Chikaharu และไมโกะ Toshimomo จากโอกิยะ Komaya

Fumiou, Tai Sakura Okiya

เกอิชา นาฏนารี #13 : Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(6 ตอนจบ)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 6 (ตอนจบ)

     Q: คุณคิดว่าสภาวะทางเศรษฐกิจและการเมืองสมัยนี้เอื้อต่อการเป็นอยู่ของเกอิชาไหมคะ
     A: ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นมีกำลังซื้อสินค้าและบริการที่หรูหราลดน้อยลงค่ะ ทำให้ศิลปะแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมหลายแขนง รวมถึงเกอิชา กลายเป็นบริการระดับสูงที่มีราคาแพง สิ่งเหล่านี้ยังส่งผลให้การสนับสนุนเกอิชาให้ประกอบอาชีพต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ตัดสินใจยากมากค่ะ

     Q: คุณคิดว่าสังคมเกอิชาจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต และจะมีวิธีปรับตัวเพื่อความอยู่รอดอย่างไรบ้างคะ
     A: ฉันหวังว่าศิลปะแบบดั้งเดิมทั้งหลายรวมถึงวัฒนธรรมของเกอิชานี้จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปในอนาคตได้ เราต้องมีความทะเยอทะยานค่ะ ต้องพยายามทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้เข้าถึงคนญี่ปุ่นและคนต่างชาติมากขึ้น และฉันก็หวังด้วยว่าจะต้องสนับสนุนให้มีการลงทุนในด้านศิลปะดั้งเดิมเพิ่มขึ้น ลองจินตนาการดูสิคะ ในอนาคต หากเกอิชา นักแสดงโนะ (能 : Noh [ละครเวทีญี่ปุ่นโบราณ]) ช่างแต่งกิโมโน และอื่นๆ อีกมาก กลายเป็นเพียงเรื่องราวในหนังสือหรือละคร นั่นคงเป็นอนาคตที่แสนเศร้า ฉันคิดว่ากุญแจสำคัญที่จะทำให้วัฒนธรรมศิลปะเหล่านี้ยังคงอยู่ต่อไป คือการรู้จักปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกสิ่งหนึ่งคือต้องยอมรับเลยว่ายุครุ่งเรืองของเกอิชาได้ผ่านไปแล้ว อุปสงค์ของลูกค้าก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นเกอิชาต้องยอมปรับเปลี่ยนตัวเองเล็กน้อย เพื่อให้เข้ากับแขกสมัยใหม่มากกว่าเดิม ซึ่งเกียวโตก็เป็นแหล่งวัฒนธรรมด้านนี้ที่ยังคงรักษาไว้ได้เหมือนแต่เก่าก่อนมากที่สุดอยู่แล้ว ก็ต้องรักษาต่อไป ส่วนแหล่งเกอิชาที่อื่นๆ เช่น โตเกียว, Nara, Niigata และที่อื่น มันก็มีที่ว่างสำหรับการเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่นกิจกรรมใหม่ในเกียวโต คือลานเบียร์ Kamishichiken ในเกียวโต, หรือ Gion Corner นั่นคือตัวอย่างของการปรับตัวที่เยี่ยมมากค่ะ ต่อไปเกอิชาก็จะกลายเป็นผู้ให้ความบันเทิงอันทรงคุณค่า ที่สามารถแสดงศิลปะของตนเองออกมาได้มากกว่าในงานเลี้ยง แต่จริงๆ แล้วจะเป็นอย่างไรก็ต้องค้นหากันต่อไปค่ะ

     Q: มีโอกาสไหมคะที่คนอื่นๆ ที่สนใจจะได้เป็นเกอิชาแบบคุณบ้าง
     A: ถ้าคุณต้องการจะเป็นเกอิชาจริงๆ แล้วละก็ จงเชื่อมั่นในตัวเอง คุณต้องทำได้แน่นอนค่ะ แต่มันอาจยากหรือต้องสละหลายสิ่งไป แต่ก็เหมือนฉันแหละค่ะ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ไม่ต้องรีรอ เริ่มได้เลยตอนนี้ค่ะ สิ่งนี้จะเป็นกุญแจช่วยเป็นประตูความฝันของคุณได้ หากคุณพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ เรื่องนี้จะกลายเป็นเป็นไปไม่ได้ทันทีค่ะ อย่างที่สอง คุณต้องมาญี่ปุ่นให้ได้ จากนั้นก็เริ่มเรียนรำ เรียนบรรเลงเครื่องดนตรีญี่ปุ่น เรียนเกี่ยวกับกิโมโนและชา จงพยายามต่อไป ให้ชื่อเสียงของคุณดังกึกก้อง และอย่างที่ฉันบอกไป มันยากก็จริง แต่อย่าเพิ่งท้อถอย พยายามต่อไปนะคะ หากมันคือความฝันที่คุณจริงจังจริงๆ คุณต้องทำได้แน่นอนค่ะ

     Q: เกอิชาในเกียวโตและโตเกียวแตกต่างกันอย่างไรคะ
     A: เกอิชาในสองที่นี้ค่อนข้างแตกต่างกันเลยค่ะ ฉันก็พอทราบมาบ้าง แต่ไม่เคยพบเกโกะเกียวโตตัวจริงสักทีนะคะ เกโกะที่เกียวโตมีตารางการฝึกซ้อมที่เข้มข้นจริงจังกว่า และในงานเลี้ยง โตเกียวและเกียวโตก็มีบรรยากาศที่ต่างกันด้วยค่ะ ในโตเกียว พวกเราจะมีเพลงและร่ายรำที่ทรงพลังและครึกครื้นมากกว่า แต่ระดับความเป็นทางการนั้นน้อยกว่าในเกียวโต ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าด้วยนะคะ

     Q: คุณคิดว่าประโยคที่ว่า “วัฒนธรรมญี่ปุ่นหลายประเภทกำลังสูญหาย” เป็นจริงไหมคะ
     A: ฉันไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้นค่ะ เพียงแค่วิถีชีวิตของคนสมัยใหม่เปลี่ยนไปเท่านั้นเอง วัฒนธรรมหลายๆ อย่าง เช่น พิธีชงชา หรือเกอิชาและงานเลี้ยง ที่เคยเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ก็กลายเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโอกาสพิเศษเท่านั้น ส่วนตัวฉันก็พยายามจะร่วมมือกับศิลปินท่านอื่น เพื่อฟื้นฟูและค่อยๆ ปรับศิลปะเหล่านี้ให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่มากขึ้นค่ะ

     Q: คุณเริ่มต้นการฝึกด้วยการเป็น Shikomi หรือ Minarrai ก่อนไหมคะ แล้วที่เกียวโตเขาเรียกการฝึกฝนเหล่านี้เหมือนกันไหมคะ
     A: โอกิยะ (置屋: Okiya [สำนักเกอิชา]) ส่วนใหญ่ในโตเกียวจะไม่มีช่วง Shikomi (仕込み : Shikomi [ช่วงฝึกก่อนเป็นไมโกะ Shikomi มีหน้าที่หลักคือดูแลบ้าน ทำความสะอาด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งกิโมโนแบบไมโกะหรือเกโกะ]) ค่ะ โดยจะทำข้อตกลงกับหญิงที่มีอาชีพอื่นอยู่แล้ว แต่ต้องการเป็นเกอิชาด้วย ด้วยสิ่งนี้นั่นเอง ที่ทำให้เกอิชาในโตเกียวไม่มีโอกาสได้อาศัยร่วมกันในโอกิยะเหมือนในเกียวโตค่ะ

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ**

Fumiou, Tai Sakura Okiya 
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #13: Ganmodoki

     Ganmodoki (がんもどき) คือเต้าหู้ผสมผักชุบแป้งทอด เช่น แครอท หรือรากบัว และบางครั้งก็อาจใส่ไข่ลงไปด้วย คำว่า Ganmodoki มาจากคำ 2 คำ がん (Gan : ห่าน) และ もどき (Modoki : ปลอม) Ganmodoki จึงแปลได้ตรงตัวว่า "เนื้อห่านปลอม" นั่นก็เพราะว่าเมนูนี้มีรสคล้ายเนื้อห่าน ทั้งที่จริงแล้วคือเต้าหู้ โดยชาวญี่ปุ่นก็ยังเรียกอาหารจานนี้สั้นๆ ว่า Ganmo อีกด้วย

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก glutenfree-komekofood - blog)
Ganmodoki 

ตำรับ Ganmodoki
สำหรับ 2 ที่

วัตถุดิบ

     1. เต้าหู้แบบแข็ง 1 ก้อน
     2. สาหร่าย Hijiki แห้ง 5 กรัม
     3. ถั่ว Edamame 20 กรัม
     4. ต้นหอม 2 ต้น
     5. แครอท ¼ หัว
     6. เกล็ดขนมปังกรอบ 20 กรัม
     7. ไข่ฟองใหญ่ 1 ฟอง
     8. Miso ขาว 1 ช้อนโต๊ะ
     9. ผงสต็อกจากสาหร่าย Kombu 1 ช้อนชา
     10. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ

สำหรับซอส Daikon
     1. ขิง 20 กรัม
     2. หัวไชเท้า 120 กรัม
     3. ซีอิ๊ว 20 มิลลิลิตร

วิธีทำ
     1. ล้างเต้าหู้ แล้วห่อเต้าหู้ด้วยกระดาษเช็ดมือเพื่อซับน้ำส่วนเกินออก
     2. แกะกระดาษออก แล้วหั่นเต้าหู้ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ห่อด้วยกระดาษเช็ดมืออีกครั้ง จากนั้นค่อยๆ บีบเต้าหู้เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออกให้ได้มากที่สุด
     3. แช่สาหร่าย Hijiki ในน้ำสะอาด 500 มิลลิลิตร เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นเทน้ำออกแล้วพักไว้
     4. หั่นแครอทและต้นหอมเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมปอกและขูดขิงเตรียมไว้
     5. บดเต้าหู้ในชามด้วยมือ แล้วเท Miso ขาว, ผงสต็อก, ไข่, ต้นหอมหั่น และขิงขูด 1 ช้อนชา (ขิงส่วนที่เหลือให้เก็บไว้ก่อน) ลงไปผสม เมื่อเข้ากันดีแล้ว ให้ใส่สาหร่าย Hijiki, แครอท และถั่ว Edamame ลงตามไป จากนั้นค่อยๆ คนให้เข้ากัน
     6. ทำให้มือเปียกน้ำ แล้วค่อยๆ ปั้นส่วนผสมจากข้อ 5 เป็นแผ่นหนาประมาณ 2 เซนติเมตร
     7. ตั้งกระทะแบน เปิดไฟกลาง เทน้ำมันพืชลงไป จากนั้นค่อยทยอยนำส่วนผสมที่ปั้นแล้วลงทอดให้เหลือง ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที แล้วใช้ตะหลิวกลับด้าน ทอดอีกด้านต่ออีก 2-3 นาที อาจปิดฝากระทะเพื่อให้สุกเร็วขึ้นก็ได้ เสร็จแล้วตักลงใส่จาน
     8. ปอกและขูดหัวไชเท้า บีบน้ำออกจากตัวหัวไชเท้าเล็กน้อย จากนั้นวางใส่ในถ้วยน้ำจิ้มคู่กับขิงที่เหลือจากข้อ 5 แล้วเติมซีอิ๊วลงไปผสม จะได้เป็นซอส Daikon
     9. เสิร์ฟ Ganmodoki คู่กับซอส Daikon (ซอสหัวไชเท้า) ได้เลย

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Japancentre

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #13: กิโมโนกับโอกาสต่างๆ

     ตาราง TPO (Time[เวลา], Place[สถานที่], Occasion[โอกาส]) ของกิโมโน เป็นตารางที่กำหนดความเหมาะสมของการสวมใส่กิโมโนแต่ละประเภทในโอกาสต่างๆ

ตาราง TPO แสดงประเภทของกิโมโนที่เหมาะสมกับโอกาสต่างๆ

หมายเหตุุ: Furisode
                 Tomesode
                     - Kuro Tomesode (สีดำ)
                     - Iro Tomesode (สีอื่นที่ไม่ใช่สีดำ)
                 Houmongi และ Tsukesage
                     - Formal Houmongi (มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                     - Casual Houmongi (ไม่มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                     - Formal Tsukesage (มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                     - Casual Tsukesage (ไม่มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                 Iromuji
                 Edo Komon
                 Komon
                 Tsumugi

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Immortalgeisha