วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #21: Ikayaki

     Ikayaki (烏賊焼) เป็นอาหารยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น ที่เมื่อกล่าวถึงแล้วสิ่งที่มักนึกขึ้นได้เป็นอย่างแรกคือปลาหมึกย่างราดซีอิ๊วขาว โดยชิ้นส่วนของปลาหมึกที่เสิร์ฟอาจเป็นแบบทั้งตัว หั่นเป็นวงๆ หรือเสิร์ฟคู่กับหนวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาหมึกด้วย มักรับประทานกันในบาร์แบบญี่ปุ่น (居酒屋 : Izakaya) และมีหนวดปลาหมึกเสียบไม้ย่างเป็นอาหารขึ้นชื่อตามงานเทศกาลต่างๆ

(ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Nagoyajpcuisine)
Ikayaki

ตำรับ Ikayaki
สำหรับ 2-4 ที่

วัตถุดิบ
     1. ปลาหมึกหั่นเป็นแว่นๆ 500 กรัม
     2. ขิงสดขูด 2 ช้อนชา
     3. มิริง 2 ช้อนโต๊ะ
     4. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
     5. ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
     1. ผสมขิงสดขูด ซีอิ๊วขาว และมิริงเข้าด้วยกันในชามใบใหญ่
     2. ใส่ปลาหมึกที่หั่นแล้วตามลงไปในชาม คลุกเคล้าให้ซอสเคลือบปลาหมึกทั่วกัน แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
     3. นำปลาหมึกไปทอดแทนการย่าง ให้ตั้งกระทะบนไฟร้อนมาก แล้วเติมน้ำมันพืชลงไป
     4. หยิบปลาหมึกที่หมักทิ้งไว้ลงไปทอดในกระทะ และให้เหลือซอสหมักไว้ในชามด้วย
     5. ผัดปลาหมึกเร็วๆ จนกระทั่งเนื้อเปลี่ยนสี (หรือประมาณ 7 นาที) โดยให้ปลาหมึกสุกพอดี เพราะถ้าทอดนานเกินไปจะทำให้เนื้อปลาหมึกเหนียว
     6. เทซอสหมักที่เหลือจากการหมักในชาม (ข้อ 4) ลงไปผสมกับปลาหมึก แล้วผัดอย่างรวดเร็ว เพราะซอสนี้จะไหม้ง่ายมาก
     7. พอปลาหมึกสุกดี ให้ตักลงใสจานพร้อมเสิร์ฟคู่กับผักหรือข้าวสวยร้อนๆ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Geniuskitchen
Fumiou, Tai Sakura Okiya

กิโมโนศาสตร์ #21: วิธีดูแลกิโมโน(3) วิธีซักชุดยูกาตะ

การซักด้วยเครื่องซักผ้า
     ชุดยูการตะส่วนใหญ่สามารถซักโดยใช้เครื่องซักผ้าได้ แต่หากคุณเพิ่งสวมมันไปแค่ครั้งเดียว การทำความสะอาดด้วยน้ำก็เพียงพอแล้ว

     1. พับยูกาตะ แล้วนำไปใส่ในถุงซักผ้าขนาด 40 cm x 50 cm โดยประมาณ นี่จะช่วยไม่ให้ยูกาตะยับย่นระหว่างการปั่นซัก
     2. เลือกรูปแบบการปั่นของเครื่องซักผ้าให้เบาที่สุด และเป็นแบบสำหรับผ้าบาง จากนั้นให้ปั่นประมาณ 30 วินาที
     3. การซักอาจทำให้ยูกาตะสีตกได้เล็กน้อย ดังนั้นจึงต้องซักยูการตะแยกจากเสื้อผ้าอื่นๆ

การซักด้วยมือ
     1. แนะนำให้ซักในอ่างล้างหน้า หรือหากไม่มีอ่างล้างหน้า อาจใช้กล่องใส่เสื้อผ้าทรงสี่เหลี่ยมแทนได้
     2. จุ่มยูกาตะลงในน้ำ แล้วใช้มือกดลงไปหลายๆ ครั้ง (ระหว่างการซักและการบิด พยายามทำให้ยูกาตะพับอยู่ในรอยพับตามแนวผ้าที่ถูกต้อง เพื่อรักษารูปทรงของชุดเอาไว้ และให้ใช้น้ำอุ่น เพราะน้ำอุ่นจะช่วยไม่ให้ผ้าหดตัว)
     3. การทำให้ยูกาตะแห้ง ให้พาดผ้าขนหนูผืนใหญ่ลงไปก่อนแล้วค่อยตากยูกาตะทับลงไป หลังจากนั้น คลุมยูกาตะด้วยผ้าขนหนูอีกผืน
     4. หากต้องการให้ยูกาตะมีผิวสัมผัสที่แข็งขึ้น ลองจุ่มชุดลงในน้ำผสมน้ำยาจัดทรงผม (Styling liquid) ในกรณีนี้ เมื่อซักเสร็จแล้วห้ามบิด แต่ปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ หรือหากวิธีนี้ซับซ้อนเกินไป ก็ให้ซักยูกาตะตามปกติ ตากให้แห้ง แล้วค่อยใช้สเปรย์จัดแต่งทรงผมฉีดพรมๆ ลงบนเนื้อผ้า จากนั้นก็รีดยูกาตะให้เรียบ จะทำให้เนื้อผ้าแข็งมากขึ้น

วิธีตากชุดยูกาตะ
     ให้ตากยูกาตะไว้สูงๆ และไม่ถูกพื้น ที่สำคัญคือต้องตากเป็น “แนวตรง” โดยใช้แท่งเหล็กหรืออื่นๆ ที่ยาวมากพอและสะอาดแทนไม้แขวนผ้า จะช่วยไม่ให้ยูกาตะเสียรูปทรง

(ขอขอบคุณรูปภาพ จาก www.savacoolandsons.com)
การตากกิโมโนใน “แนวตรง”

วิธีรีดชุดยูกาตะ

     ช่วงที่รีดยูกาตะออกมาได้ดีที่สุดคือช่วงที่ชุดยังหมาดๆ (ไม่เปียกหรือแห้งจนเกินไป) โดยเริ่มรีดจากคอปกก่อน และต้องไม่ลืมที่จะจับให้ยูกาตะพับอยู่ในรอยพับตามแนวผ้าที่ถูกต้อง อาจใช้ผ้าขนหนูห่อชุดแล้ว

วิธีซักยูกาตะที่ควรหลีกเลี่ยง

     ไม่ควรนำชุดยูกาตะไปซักแห้ง เพราะการซักแห้งไม่สามารถกำจัดเหงื่อออกจากชุดได้ แม้ว่าการซักแห้งจะทำให้ผลงานที่ได้ออกมาดูสะอาดมากก็ตาม โดยเหงื่อที่ตกค้างอยู่ในเนื้อผ้าจะทำให้ยูกาตะสีตกมากขึ้น

การตกสีของยูกาตะ
     การที่ยูกาตะมีสีตกนั้นเป็นเรื่องธรรมดา สีจะตกทีละน้อยในทุกๆ ครั้งที่ซัก จึงต้องซักยูกาตะแยกจากผ้าทั่วไปเสมอ และต่อไปนี้คือวิธีง่ายๆ ในการหลีกเลี่ยงการตกสีของยูกาตะด้วยตัวคุณเอง

     1. ซักด้วยผงซักฟอกที่เป็นกลาง (คือไม่เป็นกรดหรือด่างจนเกินไป) มากที่สุด ยิ่งผงซักฟอกเป็นด่างมากเท่าไร โอกาสที่สีจะตกก็ยิ่งมากขึ้น ซึ่งผงซักฟอกส่วนมากจะเป็นด่างอยู่แล้ว จึงควรเลือกชนิดให้ดี
     2. เติมน้ำที่จะใช้ซักให้พอดีกับปริมาตรของผ้า การซักด้วยปริมาณน้ำที่น้อยเกินไปจะทำให้ สีละลายตกลงไปในน้ำมากขึ้น แล้วสียูกาตะของคุณก็จะซีดเร็วขึ้น แต่หากไม่แน่ใจว่าปริมาณน้ำนั้นเพียงพอหรือยัง ให้เติมน้ำให้มากเข้าไว้
     3. ใช้น้ำเย็น (น้ำเย็นช่วยให้สีตกน้อยลง แต่น้ำอุ่นจะช่วยป้องกันไม่ให้ผ้าหดตัว ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นในส่วนของการซักชุดยูกาตะด้วยมือ)

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Kyoto Yumeyakata on Facebook
Fumiou, Tai Sakura Okiya