วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #20: Ume ni mo Haru (Pontocho)

เพลง : Ume ni mo Haru (梅にも春)
แบบฉบับ : Pontocho

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Mitsuhana จากโอกิยะ Tanmika
และไมโกะ Ichiyui จากโอกิยะ Katsumi

By: T.Mitsu on Youtube
ไมโกะ Ayaha จากโอกิยะ Yamaguchi
และไมโกะ Ichiaya จากโอกิยะ Matsunoya

By: IKEKITA Minoru on Youtube
เกโกะ Ichifuku จากโอกิยะ Matsunoya
และเกโกะ Ichiraku จากโอกิยะ Tanmika

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Ayaha จากโอกิยะ Yamaguchi
และไมโกะ Ichiaya จากโอกิยะ Matsunoya

Fumiou, Tai Sakura Okiya

เกอิชา นาฏนารี #20: เกอิชากับการค้าประเวณี

     Sheridan Prasso เขียนถึงว่า ชาวอเมริกันมี “ความเข้าใจผิดต่อโลกของเกอิชาที่แท้จริง ... เกอิชาหมายความว่า ‘บุคคลผู้มีศิลปะ’ พวกเธอถูกฝึกฝนการบรรเลงดนตรีและการร่ายรำมาเพื่อให้ความบันเทิงทางด้านศิลปะกับแขก ไม่ใช่เพื่อความต้องการทางเพศ” K.G. Henshall เขียนถึงวัตถุประสงค์ของเกอิชาว่า “เพื่อให้ความบันเทิงกับแขกด้วยการร่ายรำ บทกวี บรรเลงเครื่องดนตรี และการสนทนาเล็กๆ น้อยๆ การว่าจ้างเกอิชาอาจรวมไปถึงการพูดคุยหยอกล้อกันเล่นๆ แบบหนุ่มสาว แต่แขกจะรู้ดีว่าเขาไม่สามารถคาดหวังอะไรไปมากกว่านี้ได้ ซึ่งชายชาวญี่ปุ่นมักมีความรื่นรมย์กับโลกแห่งความฝันที่ไม่อาจเกิดขึ้นจริง และนี่ถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดามากในสังคมญี่ปุ่น”

     ในปี ค.ศ.1872 หลังการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิไม่นาน รัฐบาลชุดใหม่ได้มีการประกาศกฎหมายว่าด้วยการค้าประเวณีและเกอิชา ที่ก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมากในสังคมสมัยนั้น ข้าราชการบางคนเห็นว่าสิ่งที่เกอิชากับหญิงโสเภณีทำ สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้ต่างกัน คือการค้าประเวณี จึงได้มีการประกาศให้การค้าประเวณีทุกรูปแบบถูกเรียกว่า “เกอิชา” นับตั้งแต่นั้น แต่สุดท้าย รัฐบาลกลับตัดสินใจที่จะรักษาเส้นบางๆ ที่แยกเกอิชากับหญิงโสเภณีออกจากกันเอาไว้ โดยอ้างว่าเกอิชาเป็นอาชีพที่มีความสุภาพเรียบร้อยกว่า และไม่ควรนำไปปะปนกับการค้าประเวณีให้ด่างพร้อย

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Wikipedia)
หนังสือ Autobiography of a Geisha โดยคุณ Sayo Masuda

     นอกจากนี้เกอิชายังประกอบอาชีพของพวกเธอที่บ่อน้ำพุร้อนอีกด้วย เช่น ที่เมือง Atami จังหวัด Shizuoka เกอิชาที่นั่นโด่งดังมากจนถูกเรียกว่าเป็นเกอิชาแห่งบ่อน้ำพุร้อน ซึ่งสมัยก่อนชื่อเสียงของเกอิชาที่ทำงานที่บ่อน้ำพุร้อนนั้นค่อนไปทางด้านลบมากกว่า เพราะมีการค้าประเวณีด้วย และพวกเธอที่ค้าประเวณีเหล่านั้นก็เรียกตัวเองว่าเกอิชา ตรงข้ามกับเกอิชาตัวจริงที่มีความรอบรู้ในด้านการร่ายรำ และการบรรเลงดนตรีอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีหนังสือของคุณ Sayo Masuda ที่ชื่อว่า “Autobiography of a Geisha” กล่าวถึงอาชีพเกอิชาในบ่อน้ำพุร้อนว่าสมัยก่อนมีการบังคับหญิงสาวให้ค้าประเวณีที่บ่อน้ำพุร้อนจริงๆ (แต่สมัยนี้การค้าประเวณีกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาดไปแล้ว)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก art-fuji.info)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก hashikazu.org)
Atami Odori (熱海をどり) เป็นการแสดงในที่สาธารณะ
ของเกอิชาในเมือง Atami จังหวัด Shizuoka
จัดขึ้นในวันที่ 28-29 เมษายน ของทุกปี

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia
Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #20: Hosomaki

     Hosomaki (細巻 : แปลตรงตัวว่าม้วนบางๆ) เป็นซูชิทรงกระบอกที่ห่อด้วยสาหร่าย Hosomaki แบบต้นฉบับจริงๆ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าตัด 1 นิ้ว มักประกอบไปด้วยไส้เพียงอย่างเดียว อาจเป็นทูน่า แตงกวา น้ำเต้าแห้ง(干瓢 : Kanpyou) แครอท หรืออโวคาโด Kappamaki (河童巻) เป็น Hosomaki ประเภทหนึ่งที่ยัดไส้ด้วยแตงกวา ชื่อนี้ได้มาจากการที่แตงกวานั้นเป็นอาหารโปรดของภูตตนหนึ่งในญี่ปุ่นที่เรียกว่า Kappa (河童) สมัยก่อน Kappamaki ใช้รับประทานเพื่อดับกลิ่นระหว่างทานปลาดิบกับอาหารอื่นๆ ไม่ให้รสชาติปนกัน อีกประเภทหนึ่งของ Hosomaki คือ Tekkamaki (鉄火巻) เมนูนี้เป็นซูชิม้วนยัดไส้ปลาทูน่าดิบ คนญี่ปุ่นเชื่อว่า คำว่า “Tekka” แปลว่าเหล็กร้อนสีแดง อาจหมายความถึงสีของเนื้อทูน่าหรือแซลมอนสดๆ ซึ่งจริงๆ แล้วสมัยก่อนนิยมทาน Tekkamaki กันเป็นของทานเล่นในบ่อนการพนันที่เรียกว่า Tekkaba (鉄火場) เทียบเหมือนการทานแซนด์วิชในสมัยนี้ Negitoromaki () เป็น Hosomaki ที่ยัดไส้ต้นหอมและทูน่าสับ และ Tsunamayomaki (ツナマヨ巻) ที่สอดไส้ทูน่ากระป๋องพร้อมซอสมายองเนส

(ขอขอบคุณรูปภาพ จาก 123rf)
Hosomaki

ตำรับ Hosomaki
ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
สำหรับซูชิ 10 ม้วน

วัตถุดิบ
วัตถุดิบสำหรับข้าว
     1. ข้าวญี่ปุ่นหุงสุก 2 ถ้วย (360 มิลลิลิตร)
     2. น้ำส้มสายชูจากข้าว 4 ช้อนโต๊ะ
     3. น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
     4. เกลือ 1 ช้อนชา

วัตถุดิบสำหรับไส้
     1. แตงกวาญี่ปุ่น 1 ผล
     2. เนื้อทูน่า 6.8 ออนซ์
     3. ถั่วนัตโตะญี่ปุ่น 1 กล่อง

วัตถุดิบสำหรับน้ำชุบมือกันข้าวติด
     1. น้ำสะอาด ¼ ถ้วยตวง
     2. น้ำส้มสายชูจากข้าว 1 ช้อนโต๊ะ

วัตถุดิบอื่นๆ
     1. สาหร่าย 5 แผ่น
     2. ซีอิ๊วขาว
     3. วาซาบิ

วิธีทำ
     1. เตรียมวัตถุดิบให้พร้อม
     2. หุงข้าวญี่ปุ่นให้สุก เสร็จแล้วเก็บใส่ที่มิดชิด (อาจปิดด้วยผ้าชุดน้ำหมาดๆ หรือแผ่นพลาสติกสำหรับห่ออาหาร) เพื่อป้องกันการแห้งของข้าว
     3. ตัดส่วนท้ายของแตงกวาออกทั้งสองด้าน แล้วแบ่งครึ่งแตงกวาส่วนที่เหลือตามยาว แล้วหั่นครึ่งต่ละชิ้นอีกครั้งตามขวาง นำเมล็ดออกด้วยมีด จากนั้นหั่นแต่ละชิ้นตามยาวอีกครั้ง จะได้แตงกวาทั้งหมด 8 ชิ้นต่อ 1 ผล
     4. หั่นทูน่าเป็นเส้นยาว โดยมีความกว้าง ¼ - ½ นิ้ว
     5. นำถั่วนัตโตะออกจากบรรจุภัณฑ์ ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวหรือเครื่องปรุงที่ให้มากับตัวถั่ว คลุกให้เข้ากัน
     6. ผสมน้ำชุบมือกันข้าวติด โดยการเทน้ำสะอาด ¼ ถ้วยตวงและน้ำส้มสายชูจากข้าว 1 ช้อนโต๊ะผสมเข้าด้วยกันในชามใบเล็ก
     7. ตัดสาหร่ายเป็นแผ่น ถ้าสาหร่ายที่หามาได้ไม่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้ตัดด้านที่ยาวกว่าเพื่อแบ่งสาหร่ายออกเป็น 2 ชิ้น ซึ่งสาหร่ายจะหายกรอบง่ายมาก ให้นำสาหร่ายออกจากซองเท่าที่ใช้ ส่วนที่เหลือให้เก็บไว้ในที่สุญญากาศเพื่อคงความกรอบ
     8. วางเสื่อม้วนซูชิลงบนโต๊ะที่ต้องการ แนวข้องเส้นไม้ไผ่ควรขนานกับตัวคุณเองเพื่อที่จะม้วนได้สะดวก แล้ววางสาหร่ายให้แนวยาวอยู่ตรงด้านใกล้ตัว โดยให้เว้นจากขอบ 3-4 ชิ้นไม้ของเสื่อ และวางสาหร่ายด้านเงากว่าลงด้านล่าง
     9. ทำให้มือเปียกโดยใช้น้ำชุบมือกันข้าวติดที่เตรียมไว้
     10. ตักข้าวญี่ปุ่น ½ ถ้วยใส่ในมือ อาจใช้ถ้วยตวงขนาด ½ ถ้วยตวงตัก จะได้ขนาดที่พอดีและเป็นขนาดที่เท่าๆ กันทุกม้วน แต่อย่าลืมจุ่มถ้วยให้เปียกด้วยน้ำชุบมือกันข้าวติดก่อน
     11. วางข้าวญี่ปุ่นลงบนสาหร่าย ให้วางบนครึ่งด้านซ้ายของสาหร่ายก่อนแล้วค่อยๆ กระจายมาด้านขวา โดยต้องเว้นที่สาหร่ายด้านไกลตัวไว้สัก 1 นิ้วด้วย
     12. กระจายข้าวให้เสมอกันด้วยนิ้วมือ
     13. วางไส้ (ทูน่า แตงกวา หรือถั่วนัตโตะ) ลงไปตามยาวตรงกลางของข้าว จากนั้นใช้นิ้วกดไส้ลงไปในข้าวเล็กน้อย
     14. ม้วนตัวม้วนซูชิเข้าหากันอย่างรวดเร็วด้วยเสื่อ ให้เล็งขอบของข้าวให้จรดกัน จะเหลือสาหร่ายกว้าง 1 นิ้วที่เว้นไว้ตอนแรก
     15. อย่าเพิ่งขยับหรือนำเสื่อม้วนซูชิออก พยายามทำให้ม้วนซูชิแน่นโดยใช้นิ้วกดจากด้านนอกของเสื่อให้ม้วนซูชินั้นเป็นเหลี่ยมหรือทรงกระบอกตามต้องการ จากนั้นคลายเสื่อม้วนซูชิออกได้ แล้วม้วนสาหร่ายไปจรดขอบที่เว้นไว้โดยไม่ต้องใช้เสื่อ อย่าลืมทำให้ตัวข้าวแน่นอีกครั้ง
     16. เวลาตัดม้วนซูชิเป็นคำๆ ให้นำมีดไปเช็ดกับผ้าขนหนูเปียกก่อน ขั้นแรกให้หั่นครึ่งที่เท่ากันก่อน โดยให้ขยับมีดขึ้นหน้าถอยหลัง ไม่ใช่กดลงไปตรงๆ จากนั้นหั่นเป็นคำๆ ตามความเหมาะสมของความยาวสาหร่าย เสร็จแล้วเสิร์ฟคู่กับซีอิ๊วขาว วาซาบิ หรืออื่นๆ ตามชอบ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Justonecookbook
Fumiou, Tai Sakura Okiya

กิโมโนศาสตร์ #20: วิธีดูแลกิโมโน(2) การทำความสะอาดกิโมโนด้วยตนเอง

     การทำความสะอาดกิโมโนด้วยตนเองที่บ้านเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ต้องพึงตระหนักเสมอว่า มีกิโมโนบางประเภทเท่านั้นที่ทำความสะอาดเองได้ และการซักด้วยตนเองที่บ้านก็เป็นการเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำให้กิโมโนของคุณเสียหาย เพราะแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ก็ต้องใช้ระยะเวลาลองผิดลองถูก สั่งสมเป็นประสบการณ์และเทคนิคเฉพาะที่ถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่น

ประเภทของกิโมโนที่ไม่ควรทำความสะอาดด้วยตนเอง
     1. กิโมโนผ้าไหม
     2. กิโมโน Shibori
     3. กิโมโนที่ประกอบไปด้วยการตกแต่ง เช่น แผ่นทอง ปักดิ้น
     4. กิโมโนที่มีซับใน


(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Aiyama on Rakuten)
กิโมโน Shibori

     แม้แต่การจุ่มกิโมโนประเภทดังกล่าวลงไปในน้ำ นั่นก็เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้ผ้ายับย่นแล้ว ดังนั้นถ้ากิโมโนของคุณมีราคาแพง สวยงามหรือทำด้วยวัสดุที่ดูแลยากมาก ขอแนะนำให้คุณนำกิโมโนชุดนั้นไปหาผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า


จะรู้ได้อย่างไรว่าเราสามารถทำความสะอาดกิโมโนชุดนั้นได้เอง
     วิธีที่ง่ายที่สุดเพื่อตรวจสอบว่ากิโมโนตัวนั้นสามารถซักเองที่บ้านได้ไหมคือให้มองหาป้ายผ้าที่ติดมากันกิโมโน ถ้ามีสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ก็แปลว่าคุณ “อาจจะ” ซักมันได้ในน้ำที่อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก 123rf)

     กิโมโนฤดูร้อนที่ไม่มีซับในและทำมาจากผ้าฝ้ายแบบหนา ผ้าขนสัตว์ หรือผ้าสังเคราห์อย่างโพลีเอสเตอร์ คือตัวอย่างของกิโมโนที่อาจทำความสะอาดได้เองที่บ้าน

วิธีทำความสะอาดกิโมโนด้วยตนเอง
     1. พับกิโมโนด้วยวิธีเฉพาะ เรียกว่า Sodedatami (袖畳み)

(ขอขอบคุณวิดีโอดีๆ จาก kimonon1 on Youtube)
Sodedatami

     2. ใส่กิโมโนลงไปในถุงซักผ้า ลองหาถุงซักผ้าที่มีขนาดพอดีกับขนาดของกิโมโนที่พับแล้ว

     3. ใช้ผงซักฟอกที่เจือจางมากๆ และอย่าให้เป็นด่างแก่ เพราะความด่างของผงซักฟอกจะทำลายสีสันของกิโมโน
     4. ตั้งระบบเครื่องซักผ้าให้เป็นแบบเบาที่สุดสำหรับผ้าบาง แม้แต่การปั่นแบบปานกลางก็อาจทำลายทรงกิโมโนของคุณได้
     5. แขวนตากกิโมโนแบบแนวตรงในที่แห้งที่มีอากาศถ่ายเทสม่ำเสมอและห้ามถูกแดดโดยตรง

(ขอขอบคุณรูปภาพ จาก www.savacoolandsons.com)
การตากกิโมโนใน “แนวตรง"

สิ่งที่ทำให้กิโมโนสกปรก

     1. น้ำมันจากผิวหนัง
     2. ฝุ่นผง (ทั้งที่ลอยในอากาศและจากพื้นดิน)
     3. เหงื่อ
     4. รา

     เมื่อคุณสวมกิโมโนชุดใดไปแล้ว แม้ว่าจะไม่มีร่องรอยความสกปรกที่เห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าคุณไม่คิดว่าจะสวมชุดนี้อีกในเร็วๆ นี้ ให้นำกิโมโนชุดชี้ไปซักทำความสะอาดเสียจะดีกว่า


จุดที่มักเกิดร่องรอยความสกปรกบนตัวกิโมโน
     1. คอปก เป็นจุดที่อยู่ใกล้ใบหน้า จึงได้รับทั้งเหงื่อและเครื่องสำอาง
     2. แขน จุดนี้มักเต็มไปด้วยเหงื่อ น้ำมันจากผิว และเศษเนื้อเยื่อตายที่หลุดออกมาจากแขน
     3. ส่วนด้านหน้า ที่คุณมักทำอาหารหรือเครื่องดื่มหกใส่
     4. ด้านใน รอบๆ ส่วนเอว ที่ซับเหงื่อจากความร้อนไว้
     5. ขอบด้านล่าง เมื่อคุณเดิน นั่นจะทำให้ขอบด้านล่างของกิโมโนสกปรก

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อคุณทำบางสิ่งเลอะกิโมโน
ทำ !
     ตบรอยเลอะเบาๆ ด้วยผ้าเช็ดหน้า แล้วปล่อยให้ผ้าเช็ดหน้าซับคราบสกปรกนั้น แต่หากสิ่งที่เลอะมีส่วนประกอบของน้ำมัน เช่น เครื่องสำอางหรือหมึกน้ำมัน ให้หากระดาษชำระสอดเข้าไปใต้ผ้าในส่วนที่เลอะ แล้วเตรียมผ้าฝ้ายสะอาดสีขาวที่พรมด้วยแอลกอฮอล์เล็กน้อยวางทับด้านนอกของผ้า ลักษณะที่ออกมาจะเหมือนการประกบแซนด์วิชโดยให้ผ้าของกิโมโนอยู่ตรงกลาง ตบลงไปบนผ้าฝ้ายจนผ้านั้นซับคราบน้ำมันออกมา พยายามทำให้ได้มากที่สุด

     แต่ถ้าสิ่งที่เลอะมีส่วนประกอบของน้ำ เช่น ชา สาเก ซอสต่างๆ ให้หากระดาษชำระสอดเข้าไปใต้ผ้าในส่วนที่เลอะ เตรียมผงซักฟอกที่เจือจางมากๆ ในน้ำ แล้วนำไปป้ายลงบนจุดที่เลอะ ตามด้วยการตบเบาๆ(ห้ามถูหรือขัด) ซึ่งการตบนี้ให้ใช้ผ้าฝ้ายสะอาดสีขาวหรือแปรงสีฟันสะอาดก็ได้


ห้ามทำ !
     ห้ามขัด ถู หรือเช็ดรอยเลอะโดยเด็ดขาด เพราะนั่นจะเป็นการทำให้รอยแผ่กระจายกว้างขึ้น และการทำความสะอาดมันก็จะยิ่งยากไปกว่าเดิม

     และหากคุณอยู่ที่ญี่ปุ่นแล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้กิโมโนของคุณเลอะ อย่าใช้ Oshibori(おしぼり : ผ้าคล้ายผ้าขนหนูที่มักม้วนไว้เป็นแท่ง) ที่วางอยู่บนโต๊ะเช็ดกิโมโน เพราะผ้านั้นอาจมีส่วนประกอบของสารเคมีที่อาจทำลายสีของตัวกิโมโนได้

กิโมโนกับการรีด
ต่อไปนี้คือเทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในการรีดกิโมโน
     1. ห้ามพรมน้ำ โดยเฉพาะกับกิโมโนผ้าไหม น้ำจะทำให้กิโมโนยับย่น
     2. ห้ามปรับอุณหภูมิเตารีดสูงเกินไป
     3. ห้ามรีดลงไปบนตัวกิโมโนโดยตรง แต่ให้ใช้ผ้าฝ้ายวางลงไปก่อนรีด เพื่อกั้นระหว่างผิวผ้ากิโมโนกับผิวหน้าเตารีด
     4. ห้ามรีดจากด้านนอก ให้รีดจากด้านใน
     5. ห้ามรีดส่วนที่ถูกตกแต่ง เช่น ส่วนที่ปักดิ้น ติดแผ่นทอง เพราะความร้อนจะทำลายสีตรงส่วนนั้น

     เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ คือ ถ้ามีรอบยับบนตัวกิโมโนของคุณ ลองนำกิโมโนตัวนั้นไปแขวนไว้ก่อน เมื่อเวลาผ่านไปก็ให้ดูว่ารอยนั้นหายไปไหม ถ้าไม่หายไป ให้คุณนึกจินตนาการดีๆ ว่าส่วนนั้นสามารถมองเห็นได้เมื่อสวมใส่ไหม ถ้ามองเห็นได้ก็ให้นำกิโมโนไปรีดเสีย แต่ถ้าส่วนนั้นอยู่ด้านในอยู่แล้วคุณก็ไม่จำเป็นต้องรีดก็ได้


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก www.onegai-kaeru.jp
Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #19: Gion Kouta (Gion Higashi)

เพลง : Gion Kouta (祇園小唄) 
แบบฉบับ : Gion Higashi 

By: Juande Mondria on Youtube 
ไมโกะ Ryouka จากโอกิยะ Sakaemasa 
และไมโกะ Kanoyumi จากโอกิยะ Kanoya 

By: cokeccoco on Youtube 
ไมโกะ Fumine จากโอกิยะ Okatome 

By: MIMICAN1120 on Youtube 
ไมโกะ Kanoemi และไมโกะ Kanoyumi จากโอกิยะ Kanoya 

By: IKEKITA Minoru on Youtube 
ไมโกะ Fukuharu จากโอกิยะ Okatome 
ไมโกะ Ryouka จากโอกิยะ Sakaemasa 
ไมโกะ Kanoemi จากโอกิยะ Kanoya 
ไมโกะ Kanoka จากโอกิยะ Kanoya 
ไมโกะ Tomitae จากโอกิยะ Tomikiku 
และไมโกะ Kanoyumi จากโอกิยะ Kanoya 

By: Kei Gekiku on Youtube 
ไมโกะ Tomichie จากโอกิยะ Tomikiku 
ไมโกะ Ryouma จากโอกิยะ Sakaemasa 
ไมโกะ Masano จากโอกิยะ Man 
ไมโกะ Tomitsuyu จากโอกิยะ Tomikiku 
ไมโกะ Hinayuu จากโอกิยะ Okatome 
ไมโกะ Kanotomo จากโอกิยะ Kanoya 
และไมโกะ Fumine จากโอกิยะ Okatome 

Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

เกอิชา นาฏนารี #19: ศิลปะของเกอิชา

     เกอิชาเริ่มการฝึกฝนศิลปะทางด้านดนตรีและการร่ายรำตั้งแต่ยังเด็กมากๆ และพวกเธอก็จะยังคงเป็นเกอิชาไปชั่วชีวิต โดยเริ่มขึ้นเป็นเกอิชาเต็มตัวได้เมื่ออายุ 18-19 ปี การฝึกฝนศิลปะเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเกอิชา ไม่สำคัญว่าจะประกอบอาชีพนี้มานานเท่าใด แต่ที่สำคัญคือพวกเธอจะฝึกกันทุกวัน

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Huryouoyaj on exblog)
ไมโกะ Mamefuji และเกโกะ Makino กำลังรำในเพลง Gion Kouta (祇園小唄)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Tamayura on Flickr)
ไมโกะ Kiyono ในตำแหน่งเดียวกับรูปถาพก่อนหน้า
สังเกตมือของเธอ ที่แสดงให้เห็นถึง “การฝึกฝนแบบเก็บรายละเอียดทุกกระเบียดนิ้ว”

     การร่ายรำของเกอิชาถูกพัฒนามาจากการร่ายรำในการแสดง Noh (能) และ Kabuki (歌舞伎) การร่ายรำที่โผงผางตรงไปตรงมาเหล่านั้นถูกดัดแปลงให้เรียบง่ายและมีรูปแบบเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้มีรูปแบบที่ตายตัว ทุกส่วนของร่างกายถูกออกแบบมาให้รำด้วยท่าทางที่สื่อความหมายในตัวมันเอง แต่ปัจจุบันก็มีเพียงผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่สามารถเข้าใจท่าทางเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น การใช้มือเพื่อสื่อความหมายถึงการอ่านจดหมายรัก การคาบปลายด้านหนึ่งของผ้าเช็ดหน้าใช้แสดงถึงมารยาหญิง และการใช้แขนกิโมโนที่ห้อยยาวลงมาเช็ดน้ำตาแทนความโศกเศร้า

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Geishakai - blog)
เกโกะ Toshimana กำลังบรรเลง Shamisen

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Geishakai - blog)
เกโกะ Toshimana กำลังดีด Koto

     การร่ายรำของเกอิชานั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กับดนตรีแบบญี่ปุ่นโบราณ ซึ่งเครื่องดนตรีญี่ปุ่นที่เป็นพื้นฐานที่สุดของพวกเธอคือชามิเซ็ง (三味線 : เครื่องดนตรีประเภทดีด มี 3 สาย) ชามิเซ็งเริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมของเกอิชาเมื่อประมาณ ค.ศ.1750 ตอนนั้นมีศิลปินหญิงมากมาย ที่ประสบผลสำเร็จในการฝึกเล่นชามิเซ็ง ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจาก Okinawa มีลักษณะคล้าย Banjo ที่มี3 สาย บรรเลงโดยการใช้แผ่นไม้ดีดสายคล้ายการเล่นกีตาร์ด้วยปิ๊ก ชามิเซ็งมีเสียงที่คมชัดแต่ก็เต็มไปด้วยความเศร้า นิยมบรรเลงคู่กับขลุ่ยญี่ปุ่น โดยเหล่าเกอิชาต้องฝึกฝนชามิเซ็งให้ชำนาญแม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายปีก็ตาม นอกเหนือจากชามิเซ็งและขลุ่ยญี่ปุ่นแล้ว เกอิชายังต้องฝึกเครื่องดนตรีอื่นๆ อีก เช่น กลองเล็ก Ko-tsuzumi, กลองใหญ่ Taiko, Koto และอาจมีอื่นๆ อีก เกอิชาบางคนไม่ได้ทำได้เพียงร่ายรำและบรรเลงดนตรีเท่านั้น แต่พวกเธอยังจัดดอกไม้ แต่งกลอน แต่งเพลง เขียนอักษร หรือวาดพู่กันได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia
Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #19: Hiyashi Chuuka

     Hiyashi Chuuka (冷やし中華) คำนี้แปลตรงตัวว่า “จีนแช่เย็น” อาหารจานนี้เป็นอาหารแบบญี่ปุ่นที่มีที่มาจากหมี่ของจีน ประกอบไปด้วยเส้นราเมงแช่เย็นและส่วนโรยหน้าหลากหลายรูปแบบ โดยนิยมเสิร์ฟกันเฉพาะฤดูร้อน ซึ่ง Hiyashi Chuuka มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในภูมิภาคคันไซ คือ Reimen (冷麺 : แปลตรงตัวว่าเส้นแช่เย็น) และเรียกว่า Hiyashi Raamen (冷やしラーメン : แปลตรงตัวว่า “ราเมงแช่เย็น”) ในฮอกไกโด

     ส่วนโรยหน้าของ Hiyashi Chuuka ที่เป็นที่นิยมมากคือไข่หวานย่าง (玉子焼き : Tamagoyaki) หั่นเป็นเส้น แครอท แตงกวา ขิง แฮม และไก่ หรืออาจเป็นหมูหมักบาร์บีคิวก็ได้ และซอสถั่วเหลืองที่ใช้ราดนั้นมักทำมาจากน้ำสะอาด น้ำส้มสายชูจากข้าว ซีอิ๊วขาว น้ำตาล น้ำมันงา และงา

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.sirogohan.com)
Hiyashi Chuuka

ตำรับ Hiyashi Chuuka
สำหรับ 3 ที่
ใช้เวลาเตรียมวัตถุดิบ 20 นาที
           ประกอบอาหาร 10 นาที

วัตถุดิบ
ส่วนผสมน้ำซอส (Tare Sauce)
     1. ซีอิ๊วขาว 6 ช้อนโต๊ะ
     2. น้ำตาล 4 ช้อนโต๊ะ
     3. น้ำส้มสายชูจากข้าว 3 ช้อนโต๊ะ
     4. น้ำมันงา 2 ช้อนโต๊ะ
     5. น้ำสะอาด 2 ช้อนโต๊ะ
     6. งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
     7. ขิงขูด ¼ ช้อนชา
     8. น้ำมันพริกญี่ปุ่น (Layu) ½-1 ช้อนชา

ส่วนผสมไข่หวานย่าง
     1. ไข่ใบใหญ่ 2 ใบ ตอกใส่ชามรวมกัน
     2. น้ำตาล 2 ช้อนชา
     3. เกลือ ¼ ช้อนชา
     4. น้ำมัน (พืช, คาโนล่า, อื่นๆ)

ส่วนผสมส่วนโรยหน้า
     1. กุ้ง 6 ตัว (+สาเก 1 ช้อนโต๊ะ)
     2. แตงกวาญี่ปุ่น 1 ผล (หรือแตงกวาอังกฤษ (English Cucumber) 1/3 ผล
     3. กะหล่ำปลีฉีก 1 หัว
     4. มะเขือเทศหั่น ½ ผล
     5. แฮมหั่น 2-3 ชิ้น
     6. ปูอัดฉีกเป็นฝอย 4-6 ชิ้น
     7. ต้นอ่อนหัวไชเท้าญี่ปุ่น (Kaiware Daikon)

ตัวเลือกส่วนโรยหน้าอื่นๆ
     1. เนื้อไก่ นึ่งแล้วฉีกเป็นฝอยๆ
     2. ถั่วงอกลวก
     3. สาหร่ายอบแห้ง

ส่วนเส้น
     1. เส้นราเมง 3 ห่อ (ห่อละ 6 ออนซ์โดยประมาณ)

ส่วนผสมส่วนตกแต่ง
     1. งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
     2. มัสตาร์ดญี่ปุ่นรสเผ็ด (Karashi) (ใส่หรือไม่ก็ได้)
     3. ขิงแดงดอง (ใส่หรือไม่ก็ได้)


วิธีทำ
     1. เตรียมวัตถุดิบให้พร้อม
     2. ผสมส่วนผสมของน้ำซอสทั้งหมดในชาม ตีให้เข้ากัน แล้วน้ำเข้าตู้เย็นให้เย็น
     3. สำหรับไข่หวานย่าง ให้เจียวไข่บางๆ ในกระทะกันแบน ซึ่งสามารถทำได้โดยการตีไข่ผสมกับน้ำตาลและเกลือ ตั้งกระทะบนเตา ใส่น้ำมัน ทิ้งไว้ให้ร้อน แล้วเทไข่ที่ตีไว้ลงไป จากนั้นทอดให้สุกดีทั้งสองด้าน
     4. รอให้ไข่เย็น เมื่อไข่หวานย่างเย็นแล้วให้นำมาหั่นเป็นเส้นเล็กๆ
     5. สำหรับกุ้ง เทน้ำสะอาดใส่หม้อใบไม่ต้องใหญ่มาก นำหม้อไปตั้งบนเตาจนน้ำเดือด เติมสาเกลงไปพร้อมกับกุ้ง แล้วปิดฝาหม้อ แอลกอฮอล์ในสาเกจะช่วยขจัดกลิ่นคาวและทำให้เนื้อกุ้งนุ่มขึ้น เมื่อกุ้งเปลี่ยนแป็นสีส้ม ให้ปิดไฟ แล้วปล่อยให้กุ้งอบอยู่ในความร้อนของหม้อโดยไม่ต้องเปิดฝา เสร็จแล้วตักกุ้งใส่จาน พักให้เย็น
     6. หั่นส่วนผสมของส่วนโรยหน้าทั้งหมด
     7. สำหรับเส้นราเมง เทน้ำสะอาดใส่หม้อ แล้วตั้งหม้อบนไฟให้เดือด จากนั้นค่อยใส่เส้นลงไป และอย่าลืมที่จะกระจายเส้นก่อนนำลงน้ำเดือดนั้น ต้มเส้นจนนุ่ม นำเส้นไปใส่ตะแกรงกรองน้ำออก การทำเช่นนี้จะทำให้แป้งเคลือบเส้นหลุดออกไป
     8. นำเส้นที่กรองแล้วแช่ในน้ำเย็นผสมน้ำแข็ง กรองน้ำออกอีกครั้ง แล้วจัดเส้นลงจาน
     9. วางส่วนโรยหน้าบนเส้นราเมง และราดน้ำซอสก่อนเสิร์ฟ
     10. อาจวางขิงแดงดองหรือมัสตาร์ดญี่ปุ่นรสเผ็ดลงไป หรือจัดเป็นเครื่องเคียงได้ตามชอบ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Justonecookbook
Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

กิโมโนศาสตร์ #19: วิธีดูแลกิโมโน(1) ความรู้ทั่วไป

     ในอดีต การทำความสะอาดกิโมโนจะต้องแยกชิ้นส่วนทั้งหมดออกจากกันก่อน เมื่อซักและแห้งแล้วก็นำมาเย็บประกอบกันอีกครั้ง วิธีทำความสะอาดกิโมโนแบบนี้เรียกว่า Arai Hari (洗い張り) และเนื่องด้วยผู้ซักจะต้องนำด้ายที่เย็บชิ้นผ้าติดกันออกก่อนนำไปทำความสะอาด กิโมโนสมัยก่อนจึงต้องเย็บด้วยมือเท่านั้น ซึ่งการจะทำ Arai Hari ได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและยังมีขั้นตอนที่ยาก ทำให้ความนิยมสวมกิโมโนของชาวญี่ปุ่นลดลงไปมาก ต่อมาก็มีการพยายามพัฒนาผ้าสมัยใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาวิธีการทำความสะอาดกิโมโนให้ง่ายขึ้น แม้ขั้นตอนของ Arai Hari ได้ถูกตัดออกไปแล้ว แต่ปัจจุบันก็ยังอนุรักษ์โดยการฝึกฝนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อการทำความสะอาดเฉพาะด้าน โดยเฉพาะเครื่องสวมใส่ที่วิจิตรและมีราคาแพง

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Kozakai-co)
Arai Hari

     ปัจจุบัน กิโมโนที่สั่งทำขึ้นแบบเฉพาะจะถูกส่งให้ลูกค้า แต่นั่นมักเป็นกิโมโนที่มีการเย็บชิ้นผ้าบริเวณขอบด้านนอกติดกันไว้แบบหลวมๆ การเย็บลักษณะนี้เรียกว่า Shitsuke (しつけ) ผู้ผลิตกิโมโนจะเย็บตัวกิโมโนมาแบบหลวมและหยาบเพื่อป้องกันไม่ให้กิโมโนย่นหรือเป็นรอยพับระหว่างการขนส่ง ซึ่งลูกค้าที่สั่งนั้นก็ต้องนำ Shitsuke Ito (しつけ糸 : ด้ายของการทำ Shitsuke) ออกก่อนสวมใส่ด้วย

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Yagi-yan on Ameblo)
ด้ายที่คล้ายกับเนาไว้คือ Shitsuke Ito

     เช่นเดียวกับเครื่องสวมใส่อื่นๆ ของชาวญี่ปุ่น การพับกิโมโนก็มีวิธีการเฉพาะด้าน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยรักษาเนื้อผ้าและป้องกันไม่ให้ผ้ายับย่นเวลาพับเก็บ โดยมีกระดาษชนิดพิเศษที่ใช้ห่อกิโมโนก่อนเก็บเข้าตู้ เรียกว่า Tatoushi (たとう紙)

     แต่ก่อน กิโมโนต้องถูกนำมาตากอากาศให้แห้งทั้งก่อนและหลังสวมใส่ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบซักแห้งกิโมโนมากกว่า แม้ว่าการซักแห้งจะแพงมาก แต่ก็ยังแพงน้อยกว่า Arai Hari แต่การซักแห้งก็ยังมีข้อจำกัดคือ อาจใช้ทำความสะอาดผ้าบางชนิดไม่ได้ เช่น ผ้าย้อมสี


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดกิโมโน

     - เมื่อใดก็ตาม หากคุณสวมใส่กิโมโนตัวนั้นไปแล้ว ให้นำกิโมโนมาแขวนในที่แห้งและห้ามถูกแดดโดยตรง กระนั้นก็ห้ามแขวนนานกว่า 1 วัน จากนั้นให้พับแล้วนำไปเก็บในที่แห้งและสะอาด


     - ใช้ผ้านุ่มๆ เช่น ผ้าขนหนู ผ้าขนสัตว์ หรือผ้ากำมะหยี่ เช็ดปัดฝุ่นกิโมโน

     - ต้องรีบทำความสะอาดคราบต่างๆ ทันที อาจใช้น้ำมันเบนซินทำความสะอาดคราบเครื่องสำอาง ดิน หรือน้ำมันอื่นๆ ขั้นแรกให้วางผ้าขนหนูสีขาวลงบนแผ่นรองรีดหรือโต๊ะ วางส่วนของกิโมโนที่มีคราบเปื้อนลงไปทับบนผ้าขนหนู แล้วเทน้ำมันเบนซินลงบนผ้าพันแผล(ผ้ากอซ) จากนั้นนำผ้าพันแผลนั้นตบเบาๆ ลงบนส่วนที่เปื้อน ห้ามเช็ดหรือถูลงบนกิโมโนโดยตรง เว้นแต่ว่าคราบนั้นจะกระจายฝังลึกลงไปบนเนื้อผ้าแล้ว

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Aiyama on Rakuten)
การสร้างลวดลายบนผ้าด้วยเทคนิค Shibori

     - การรีดกิโมโนใช้ผ้ารองรีด (Pressing Cloth) และเตารีดรีดตัวกิโมโนจากด้านใน ค่อยๆ ใช้เตารีดกดลงไปบนรอยยับเบาๆ โดยห้ามรีดลงบนส่วนที่สะท้อนแสงวิบวับหรือส่วนที่ปักด้วยด้าย เพราะความร้อนอาจทำให้สีและคุณภาพของส่วนนั้นลดลง เช่นกันส่วนที่เป็น Shibori (絞り) ก็ห้ามรีดโดยตรง เพราะจะทำให้เนื้อผ้าเรียบลงไปจนขาดความสวยงาม และที่ขาดไม่ได้เลยคือห้ามใช้เตารีดไอน้ำ ต้องใช้เตารีดธรรมดาเท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Wikipedia 
และ Ubuge.club
Fumiou, Tai Sakura Okiya

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #18: Washi ga Zaishou

เพลง : Washi ga Zaishou (わしが在所)
แบบฉบับ : Gion Kobu


By: bamboo on Youtube
เกโกะ Ichiyuri จากโอกิยะ Nakagishi

แบบฉบับ : Miyagawacho

By: mamemaru93 on Youtube
ไมโกะ Fukusuzu จากโอกิยะ Ishihatsu

By: FFMD1318 on Youtube
ไมโกะ Satono และไมโกะ Satomi จากโอกิยะ Kawahisa

แบบฉบับ : Pontocho

By: MIMICAN1120 on Youtube
เกโกะ Ichiraku จากโอกิยะ Tanmika

By: Shinobu Umeno on Youtube
เกโกะ Ichiemi เกโกะ Tomoyuki และเกโกะ Ichiraku จากโอกิยะ Tanmika
และเกโกะ Ichifuku จากโอกิยะ Matsunoya
(เพลงแรก)

แบบฉบับ : Kamishichiken


By: kouchan7557 on Youtube
ไมโกะ Naosome จากโอกิยะ Nakasato
(เพลงแรก)

By: nymphetalice on Youtube
ไมโกะ Naosome จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Ichimame จากโอกิยะ Ichi

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Naoai จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Ichikoma จากโอกิยะ Ichi

Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

เกอิชา นาฏนารี #18: เกอิชากับการแสดงในที่สาธารณะ

     ในสมัยก่อน เหล่าเกอิชามีความตั้งใจที่จะรักษาศิลปะของตนเองให้คงอยู่ต่อไปอย่างเป็นความลับ จึงมีการแสดงศิลปะเฉพาะในสถานที่ส่วนตัว แต่ปัจจุบันเกอิชาเริ่มปรับตัวโดยให้มีการแสดงศิลปะในที่สาธารณะมากขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการให้ความบันเทิงด้วยศิลปะของเกอิชาได้โดยไม่ต้องมีพิธีรีตอง หรือการแนะนำต่อๆ กันไปด้วยก็ได้ (สมัยก่อนเกอิชาจะให้บริการเฉพาะแขกที่เคยมาใช้บริการแล้ว คนนอกที่ต้องการเข้าถึงศิลปะของเกอิชา จึงต้องผ่านการแนะนำชักชวนโดยคนที่เคยมาแล้วเท่านั้น)

     รูปแบบทั่วไปที่สุดของการแสดงศิลปะในที่สาธารณะของเกอิชาคือ Odori (踊/をどり) ในเกียวโต จะเป็นการแสดงร่วมกันของไมโกะ (舞妓 : เกอิชาฝึกหัด) และเกโกะ (芸子 : ชื่อเรียกเกอิชาในสำเนียงคันไซ) ทุกๆ เขตเกอิชาในเกียวโตจะมี Odori แบบเฉพาะของตนเอง โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังมีงานนิทรรศการเกียวโต ที่จัดขึ้นตั้งแต่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1872 มีการแสดงมากมาย และที่สำคัญคือตั๋วราคาไม่สูงเกินไปนัก โดยประมาณคือ 1,500-4,500 เยน ซึ่งตั๋วราคาแพงที่สุดจะรวมราคาค่าเข้าชมพิธีชงชา (茶道 : Chadou) ที่ทำการแสดงโดยไมโกะก่อนที่การแสดง Odori จะเริ่มต้นขึ้น นอกจากนี้ เขตเกอิชาในจังหวัดอื่นๆ ก็มีการแสดงในที่สาธารณะเช่นกัน เช่นบางเขตในโตเกียว ที่แม้จะมีการแสดงในที่สาธารณะบ้างแต่ก็ยังน้อยกว่าที่เกียวโต

งาน Odori ในเขตเกอิชาทั้ง 5 เขต ของเกียวโต
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Onozomi)
Miyako Odori (都をどり) ในเขต Gion Kobu (祇園甲部)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Mboogiedown-japan on Blogspot)
Gion Odori (祇園をどり) ในเขต Gion Higashi (祇園東)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก 京都いいとこ動画 KyotoiitokoVideo on Youtube)
Kyou Odori (京をどり) ในเขต Miyagawa-chou (宮川町)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Kamogawa-odori.com)
Kamogawa Odori (鴨川をどり) ในเขต Ponto-chou (先斗町)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Usagi-yado)
Kitano Odori (北野をどり) ในเขต Kamishichiken (上七軒)

     อีกหนึ่งการแสดงในที่สาธารณะเด่นๆ ก็คือเทศกาลดอกพลัม หรือ Baikasai (梅花祭) เหล่าไมโกะและเกโกะจากเขต Kamishichiken (上七軒) ในเกียวโตจะแสดงพิธีชงชาแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น และเสิร์ฟชานั้นให้กับแขกประมาณ 3,000 คนที่ซื้อตั๋วเข้าร่วมงานมาก่อนหน้านี้ เทศกาลนี้จัดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยจะไม่จัดในห้องชงชาเหมือนพิธีชงชาทั่วไป แต่จะจัดในสถานที่คล้ายซุ้มกลางแจ้ง เป็นการชงชาในสถานที่แบบเปิดโล่ง เรียกว่า 野点 (Nodate) ซึ่งสถานที่ที่ใช้จัดก็คือศาลเจ้า Kitano Tenman-guu (北野天満宮) ในเกียวโตนั่นเอง

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Discoverkyoto
Baikasai 

     ต่อมาในปี ค.ศ.2010 เกอิชาจากเขต Kamishichiken ในเกียวโตนี้ยังได้มีการจัดลานเบียร์ที่โรงละคร Kamishichiken (上七軒歌舞練場 : Kamishichiken Kaburenjou) ช่วงระหว่างฤดูร้อน คือประมาณเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนกันยายน และยังมีลานเบียร์อีกแห่งหนึ่งในเขต Gion Kobu ซึ่งงานเหล่านี้จะมีการแสดงจากเหล่าไมโกะและเกโกะอยู่เป็นประจำ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia
Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #18: Hiroshima Okonomiyaki

     Okonomiyaki (お好み焼き) เปรียบเสมือนเป็นแพนเค้กแบบเผ็ดสไตล์ญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยวัตถุดิบหลากหลาย ชื่อ Okonomiyaki มีที่มาจากคำว่า Okonomi ที่แปลว่า "คุณชอบอย่างไร" หรือ "คุณชอบอะไร" และคำว่า Yaki ที่แปลว่า "ย่าง" ซึ่ง Okonomiyaki นั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นอาหารขึ้นชื่อของประเทศญี่ปุ่นแถบ Kansai หรือ Hiroshima ส่วนที่โรยหน้าและเนื้อแป้งจะมีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่การผลิต โดยในโตเกียวจะมี Okonomiyaki รูปแบบเฉพาะที่เป็นกึ่งของเหลว เรียกว่า Mojayaki (もんじゃ焼き)

     ใน Hiroshima การจัดจานของ Okonomiyaki จะมาในลักษณะเป็นชั้นๆ มากกว่าที่จะผสมวัตถุดิบไปโดยตรง โดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วยแป้ง กะหล่ำปลี เนื้อหมู และวัตถุดิบเพิ่มเติมอื่นๆอย่างปลาหมึกและชีส มีการใช้เส้นยากิโซบะหรือเส้นอูด้งมาโรยหน้า เสิร์ฟพร้อมกับไข่และซอสเฉพาะของ Okonomiyaki

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.iceorrice.com)
Hiroshima Okonomiyaki

ตำรับ Hiroshima Okonomiyaki
ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที
สำหรับ 2 ที่

วัตถุดิบ
ส่วนผสมหลัก
     1. น้ำสะอาด 150 มิลลิลิตร (2/3 ถ้วยตวง)
     2. มิริง 1 ช้อนชา
     3. แป้งอเนกประสงค์ 100 กรัม
     4. กะหล่ำปลี 240 กรัม (ประมาณ 3 ใบใหญ่)
     5. ต้นหอม 1 ต้น
     6. Katsuobushi (ผงปลา Bonito อบแห้ง) 2 ช้อนโต๊ะ
     7. Tenkasu/Agedama (แป้งทอด) 4 ช้อนโต๊ะ
     8. ถั่วงอก 60 กรัม (1 กำมือ)
     9. สาหร่าย Kombu 2 ช้อนโต๊ะ
     10. เนื้อหมูหั่นบาง 6 ชิ้น
     11. เส้นยากิโซบะ
     12. ไข่ 2 ฟองใหญ่

ส่วนผสมส่วนโรยหน้า
     1. ซอส Okonomiyaki (ดูสูตรซอสทำเองที่เคล็ดลับด้านล่าง)
     2. มายองเนสญี่ปุ่น
     3. Aonori (สาหร่ายสีเขียวอบแห้ง)
     4. ขิงแดงดอง

วิธีทำ
     1. เตรียมวัตถุดิบทั้งหมดให้พร้อม
     2. เทนำ้สะอาดและมิริงลงในชามผสม
     3. เทแป้งตามลงไปแล้วตีให้เข้ากัน จากนั้นนำส่วนนี้เข้าตู้เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จะทำให้เนื้อแป้งเหนียวนุ่ม
     4. ระหว่างรอ ให้หั่นกะหล่ำปลีและต้นหอมเป็นชิ้นเล็กๆ มีดยิ่งคมจะยิ่งช่วยให้หั่นกะหล่ำปลีเป็นเส้นเล็กได้ง่ายยิ่งขึึ้น
     5. บด Katsuobushi ด้วยครกกับสากจนกลายเป็นผงละเอียด
     6. สูตรนี้ใช้สำหรับทำ Okonomiyaki สำหรับ 2 ที่ จึงต้องแบ่งวัตถุดิบเป็นสองส่วน แล้วค่อยๆ ทำที่ละส่วน จะได้ Okonomiyaki 2 ชิ้น
     7. เมื่อแป้งที่ผสมไว้แช่ในตู้เย็นครบ 1 ชั่วโมงแล้วจึงเริ่มทำชิ้นแรก ให้ตั้งกระทะเคลือบกันอาหารติดบนไฟที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียสจนร้อน ใช้กระบวยตักแป้งที่นำออกจากตู้เย็น ¼ ถ้วยตวงเทลงไปบนกระทะ แล้วใช้ส่วนล่างของกระบวยวนกระจายแป้งออกเป็นวงกลมทันที แนะนำให้ทำให้เป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-9 นิ้ว
     8. โรยผง Katsuobushi ที่บดไว้ลงไปบนแป้งในกระทะ ตามด้วยกะหล่ำปลีหั่นฝอย
     9. โรย Tenkatsu ต้นหอมหั่น และถั่วงอกตามลงไป
     10. วาวสาหร่าย Kombu และเนื้อหมูหั่นบางลงไป ระวังอย่าให้แผ่นเนื้อหมูซ้อนกัน
     11. เทแป้งที่นำออกจากตู้เย็นลงไปด้านบน แป้งจะทำหน้าที่เหมือนกาวประสานส่วนผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน ใช้ไม้พายสองอันแซะด้านซ้ายขวาของเครป แล้วกลับด้านวัตถุดิบทั้งหมดอย่างรวดเร็วและระมัดระวัง จากนั้นตั้งให้เครปอยู่บนความร้อนต่อไป แต่อย่าเพิ่งใช้กระบวยกดลงไป จนกระทั่งเนื้อหมูสุก ยกกระทะลงจากเตาแล้วเริ่มตั้งกระทะใบใหม่ให้ร้อน
     12. แยกเส้นยากิโซบะไม่ให้ติดเป็นปึก ใส่ลงไปในกระทะร้อน ผัดจนตัวเส้นเริ่มเงาจากน้ำมันที่ออกมา เติมซอส Okonomiyaki ลงไป 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วผัดต่อจนซอสเคลือบเส้นทั่วถึงกัน
     13. กระจายเส้นให้มีขนาดพอดีกับส่วนเครป จากนั้นยกส่วนเครปลงมาโปะบนเส้น โดยให้ด้านที่เป็นแผ่นเครปสมบูรณ์ (ด้านล่างจากตอนแรกสุด) อยู่ด้านบน
     14. ตั้งกระทะอีกใบ (หรือใบเก่าใบที่ 1) ให้ร้อน ตอกไข่ลงไป พอไข่เริ่มสุกให้ใช้ไม้พายค่อยๆ แซะส่วนของเครปกับเส้นที่โปะติดกันอยู่ลงมาวางทับไข่ ตอนนี้ไข่จะอยู่ด้านล่างสุด มีเส้นอยู่ตรงกลาง และมีเครปอยู่ด้านบนสุด
     15. เมื่อไข่สุกดี ใช้ไม้พายสองอันช่วยกันกลับด้าน Okonomiyaki เป็นครั้งสุดท้าย
     16. ตักใส่จาน โรยหน้าด้วยซอส Okonomiyaki มายองเนส Aonori หรืออื่นๆ ตามชอบ แนะนำให้รับประทานทันทีเพื่อรสชาติที่ดีที่สุด

เคล็ดลับ
ซอส Okonomiyaki แบบทำเอง : ให้ผสมส่วนผสมทั้งหมดต่อไปนี้เข้าด้วยกัน
     1. ซอสมะเขือเทศ 4 ช้อนโต๊ะ
     2. ซอส Worcestershire หรือซอส Usutah ญี่ปุ่น 3½ ช้อนโต๊ะ
     3. ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
     4. น้ำตาล 1½ ช้อนโต๊ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Justonecookbook
Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

กิโมโนศาสตร์ #18: Hiyoku กิโมโนชั้นใน

     ปัจจุบัน ความสำคัญของการสวมกิโมโนหลายชั้นได้ค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา มีเพียงไมโกะและเกอิชาที่ยังคงสวมกิโมโนหลายชั้นอยู่ในสมัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้กิโมโนประกอบการร่ายรำที่งดงามมากยิ่งขึ้น เหล่าเกอิชามีเอกลักษณ์ของการสวมกิโมโนคือการดึงกิโมโนด้านหลังลงต่ำๆ เผยให้เห็นส่วนหลังของคอมากกว่าที่ปรากฏในการสวมกิโมโนของหญิงชาวบ้านธรรมดา นอกจากนี้ในงานแต่งงานในปัจจุบัน เจ้าสาวก็อาจสวมกิโมโนหลายชั้น คือสวมคู่กับ Hiyoku (ひよく : กิโมโนชั้นใน) ตามความเชื่อของลัทธิชินโต (神道: ลัทธิตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น) ของญี่ปุ่นได้เช่นกัน

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก kichirobi on Instagram)
ไมโกะ Fumiyuki จากโอกิยะ Katsufumi

     ไมโกะและเกโกะจะสวมกิโมโนที่เรียกว่า Susohiki (裾引き) หรือ Hikizuri (引きずり) ด้วยความยาวที่ลากถึงพื้นของกิโมโนประเภทนี้ ทำให้พวกเธอต้องดึงส่วนล่างของกิโมโนขึ้นมาเวลาเดิน เพื่อไม่ให้ปลายด้านล่างของกิโมโนเปื้อนฝุ่นจากพื้นดิน เราจึงสามารถมองเห็น Hiyoku ของไมโกะและเกโกะได้ไม่ยากนัก

     อีกหนึ่งรูปแบบของการสวม Hiyoku คือกิโมโนของเจ้าสาว นิยมสวมกิโมโนหลายๆ ชั้น โดยกิโมโนตัวหลักต้องเป็นสีขาวเท่านั้น แต่อาจสวมกิโมโนที่เรียกว่า Uchikake (打掛) ที่มีสีอ่อนคลุมอีกชั้นได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว Hiyoku ของกิโมโนเจ้าสาวก็มีสีแดงเหมือนกัน แต่กิโมโนชั้นในเหล่านั้นจะถูกสวมด้านใน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก  E-kimono rental on Rakuten)
กิโมโนของเจ้าสาว

     ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น กิโมโนจะใช้สวมคู่กับ Hiyoku โดย Hiyoku จะเปรียบเสมือนกิโมโนตัวที่สองนอกจากกิโมโนตัวหลัก ใช้สวมเป็นอีกชั้นด้านในก่อนสวมกิโมโนหลัก ตัว Hiyoku ช่วยให้ลักษณะกิโมโนที่สวมเสร็จเรียบร้อยแล้วดูมีความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมมากขึ้น ซึ่งคำว่า Hiyoku อาจหมายความถึงกิโมโนชั้นในเฉพาะส่วนล่างลงไป ที่จะปรากฏออกให้คนอื่นเห็นได้เมื่อสวมใส่ ในขณะที่ส่วนบนอาจไม่สามารถมองออกได้จากภายนอก จึงไม่จำเป็นต้องสวม Hiyoku ก็ได้

     แฟชั่นสมัยญี่ปุ่นโบราณ นิยมสวม Hiyoku เป็นกิโมโนชั้นในตลอดทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ในขณะที่แฟชั่นกิโมโนปัจจุบันจะนิยมสวมเป็นบางส่วนตามที่ได้กล่าวถึงด้านบน เป็นการให้ความรู้สึกพอเป็นพิธีการว่าจริงๆ แล้วผู้สวมกิโมโนมีการสวมชั้นในด้วยเท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Japan-talk
Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #17: Ume to Sansan (Kamishichiken)

เพลง : Ume to Sansan (梅とさんさん)
แบบฉบับ : Kamishichiken

By: Breakthrough25L on Youtube
ไมโกะ Ichitaka จากโอกิยะ Ichi
และไมโกะ Katsuna จากโอกิยะ Daimonji

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Ichitaka จากโอกิยะ Ichi
และไมโกะ Katsuna จากโอกิยะ Daimonji

By: taoyakani on Youtube
ไมโกะ Ichitaka จากโอกิยะ Ichi
และไมโกะ Katsuna จากโอกิยะ Daimonji
(นาทีที่ 23:30-28:05)

Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561

เกอิชา นาฏนารี #17: เกอิชาชาวต่างชาติ

     ตั้งแต่สมัยคริสตศักราช 1970 ได้มีชาวต่างชาติหลายคนพยายามที่จะเป็นเกอิชาในญี่ปุ่น เริ่มแรก Liza Dalby ชาวอเมริกันได้ทำงานร่วมกับเกอิชาในเขต Ponto-chou (先斗町) ในเกียวโต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยระดับปริญญาเอกของเธอ แม้เธอจะได้อยู่ใกล้ชิดและได้เรียนรู้กับเกอิชาจริงๆ ในญี่ปุ่น แต่เธอก็ไม่เคยผ่านการเปิดตัวให้เป็นเกอิชาอย่างแท้จริง

     ในเขต Gion ของจังหวัดเกียวโตไม่ยอมรับชาวต่างชาติเข้ามาฝึกฝนเพื่อเป็นเกอิชา ในขณะที่เขตอื่นในจังหวัดอื่นๆ นั้นยอมรับชาวต่างชาติ และชาวต่างชาติสามารถทำงานเป็นเกอิชาได้อย่างถูกกฎหมาย แต่สิ่งที่สำคัญมากคือต้องมีที่อยู่อาศัยถาวรในญี่ปุ่นเสียก่อน

     และต่อไปนี้คือตัวอย่างของชาวต่างชาติที่ฝึกฝนทักษะต่างๆ จนได้เป็นเกอิชาเต็มตัวในญี่ปุ่น

     1. Sayuki-san (Fiona Graham)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก hiveminer.com)
     เธอคือเกอิชาจากชนชาติผิวขาวคนแรกในญี่ปุ่น เธอเปิดตัวเป็นเกอิชาอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ.2007 ใน Asakusa (浅草) ของโตเกียว ต่อมาในปี ค.ศ.2011 เธอก็ได้ย้ายออกจาก Asakusa เนื่องจากคุณแม่ (お母さん : ผู้ดูแลโอกิยะ เปรียบเสมือนแม่ของเกอิชาทุกคนในโอกิยะนั้น) ประจำโอกิยะของเธอเลิกเป็นเกอิชาและปิดโอกิยะ (置屋 : สำนักเกอิชา) ที่เธอได้อาศัยอยู่มาโดยตลอดลง สมาคมเกอิชาประจำ Asakusa มีกฎว่าเกอิชาที่ประกอบอาชีพนี้มาเกินกว่า 4 ปีได้รับอนุญาตให้เปิดโอกิยะเป็นของตัวเองได้ แต่เมื่อคุณ Sayuki จะเปิดโอกิยะบ้าง เธอกลับถูกปฏิเสธและต่อต้านว้าไม่สามารถทำได้ เพียงเพราะเธอเป็นชาวต่างชาติ คุณ Sayuki เคยทำงานร่วมกับเกอิชาชาวญี่ปุ่นท่านอื่นๆ ทั้งในโตเกียวและในเขตอื่นทั่วญี่ปุ่นด้วย

     2. Rinka-san (Zhang Xue)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest)
     ชาวจีนจากเมืองเสิ่นหยาง ในมลฑลเหลียวหนิง เธอประกอบอาชีพเกอิชาในเมือง Shimoda จังหวัด Shizuoka

     3. Ibu-san (Eve)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.sayuki.net)
คุณ Ibu (ซ้าย) และคุณ Sayuki (ขวา)
     ชาวยูเครน เธอประกอบอาชีพเกโกะในเขต Anjo จังหวัด Aichi

     4. Juri-san (Maria)
     ชาวเปรู เธอประกอบอาชีพเกโกะในรีสอร์ท ที่ Yugawara จังหวัด Kanagawa

     5. Fukutarou-san (Isabella)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.japantimes.co.jp)
     ชาวโรมาเนียน ผู้ประกอบอาชีพเกอิชาในเขต Izu-Nagaoka ของจังหวัด Shizuoka

     6. Mutsuki-san (Yi Xin Sun)
     ชาวจีน ผู้ประกอบอาชีพเกอิชาในเขต Shinagawa ของโตเกียว

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia
Fumiou, Tai Sakura Okiya