เกโกะ (芸子 : Geiko) เป็นคำที่ใช้เรียกเกอิชาในแถบเกียวโต มีความหมายตรงตัวว่า "หญิงสาวผู้แสดงศิลปะ"
ต่อไปนี้คือวิธีง่ายๆ ที่จะใช้แยกความแตกต่างระหว่างเกอิชาและเกโกะ
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก geisha-kai on Tumblr)
เกอิชา Chifumi ในโตเกียว
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก koimaiko_satsuki on Instagram)
เกโกะ Satsuki ในเกียวโต
ทั้งเกอิชาและเกโกะจะสวมวิกทรง Taka Shimada (高島田) เหมือนกันแต่อาจมีแตกต่างกันบ้างในบางโอกาส
โดยทั่วไปเกโกะจะสวมวิกทรง Taka Shimada เสมอ(ยกเว้นในโอกาสพิเศษ หรือด้วยรสนิยมส่วนตัวของเกโกะที่อาวุโสมาก) ส่วนเกอิชาสามารถสวมวิกได้ทั้งทรง Taka Shimada และ Tsubushi Shimada (つぶし島田) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขั้นของเกอิชาแต่ละคน
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก kotobank.jp)
Tsubushi Shimada (ซ้าย) Taka Shimada (กลาง) และ Nage Shimada (投げ島田) (ขวา)
2. กิโมโน (着物 : Kimono)
เกโกะในเกียวโตทุกคนจะสวมกิโมโนที่ยาวลากพื้น เรียกว่า Hikizuri (引きずり) แต่หากได้รับขั้น Natori (ขั้นที่สูงขึ้นของเกโกะ) เธอก็สามารถเลือกสวมกิโมโนสีดำที่ยาวน้อยลงลงได้
ในโตเกียว เกอิชาที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นานจะสวมกิโมโนทั่วไปที่ไม่ยาวลากพื้น และจะได้รับกิโมโนที่ยาวขึ้นเมื่อพวกเธอมีประสบการณ์มากขึ้น
3. โอบิ (帯 : Obi)
เกโกะจะผูกโอบิด้วยเงื่อน Taiko (太鼓結び) ในโอกาสทั่วไป ส่วนเกอิชาในโตเกียวจะมัดเงื่อนที่ต่างออกไป ใน Asakusa เกอิชารุ่นน้องจะผูกด้วยเงื่อน Taiko แต่เกอิชาอาวุโสที่มีประสบการณ์มากกว่าจะผูกโอบิด้วยเงื่อน Tsunodashi (角出し結び) และเกอิชาทุกคนจะผูกเงื่อน Yanagi (柳結び) ในโอกาสพิเศษ
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก shiomi.info)
เงื่อน Taiko (ซ้าย) เงื่อน Yanagi (กลาง) และเงื่อน Tsunodashi(ขวา)
4. ปกกิโมโน (衿 : Eri)
ทั้งเกโกะและเกอิชาสวมปกกิโมโนสีขาวด้านในเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่เกอิชาจะไม่สวมปกกิโมโนสีขาวในฤดูร้อน ในขณะที่เกโกะจะสวมตลอดทั้งปี
ทั้งเกโกะและเกอิชาสวมปกกิโมโนสีขาวด้านในเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่เกอิชาจะไม่สวมปกกิโมโนสีขาวในฤดูร้อน ในขณะที่เกโกะจะสวมตลอดทั้งปี
Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Geisha kai - blog
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น