วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฎนารี #14: เกโกะ และ ไมโกะ

     เกโกะ (芸子 : Geiko)คือผู้ให้ความบันเทิงด้วยศิลปะ พวกเธอเป็นศิลปินชั้นสูงที่อุดมไปด้วยความสามารถและความงดงาม
     ไมโกะ (舞妓 : แปลตรงตัวว่า เด็กร่ายรำ) คือเกอิชาฝึกหัด โดยเริ่มการฝึกตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนกลางถึงอายุ 20 ปี หลังจากสิ้นสุดการฝึกฝนของไมโกะ พวกเธอจะได้เลื่อนขั้นสูงขึ้นเป็นเกอิชาในพิธี Erikae (衿替え : และตรงตัวว่า เปลี่ยนปกกิโมโน)
     โดยคำว่าไมโกะและเกโกะ เป็นคำที่ใช้เรียกเกอิชาในแถบคันไซ เช่น เกียวโต นะระ และต่อไปนี้คือวิธีง่ายๆ ที่จะใช้แยกความแตกต่างระหว่างไมโกะและเก
โกะ

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก PinkCyborn13 on Twitter)
เกโกะ Mamemaru (ซ้าย) และไมโกะ Mamesumi (ขวา)
สังเกตเห็นความแตกต่างบ้างไหมคะ

1. ทรงผม (日本髪 : Nihongami)

     ไมโกะจะมีผมที่รวบตึงอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เกโกะไม่ต้องทนกับความลำบากนี้
     ไมโกะทำผมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม (日本髪 : Nihongami) ด้วยผมจริงของพวกเธอ ส่วนเกอิชาส่วนใหญ่แล้วจะสวมวิก การทำผมจริงของไมโกะจะนำความลำบากมาให้หลายด้าน โดยเฉพาะการรักษาทรงผมนี้ให้สวยงามต่อไป แม้แต่เวลานอน พวกเธอจะนอนบนหมอนสูงที่ใช้หนุนบริเวณคอ (高枕 : Takamakura) และทำผมใหม่ทุกๆ 5-7 วัน
     การทาแป้งขาวลงบนหน้าและคอของไมโกะ จะเว้นที่บริเวณโคนผมส่วนล่างด้านหลังให้เห็นสีผิวจริงอยู่เล็กน้อย ส่วนเกโกะจะมัดผมจริงของเธอขึ้นสูง ทาแป้งจนถึงโคนผมแล้วจึงสวมวิก โดยไมโกะจะทำผมหลักๆ 5 ทรง ขึ้นอยู่กับระดับขั้นของเธอ

2. เครื่องประดับผม (かんざし : Kanzashi)
     ไมโกะจะประดับผมด้วยเครื่องประดับผมชิ้นใหญ่ เป็นดอกไม้จากผ้า เรียกว่า Kanzashi (かんざし) โดยจะเปลี่ยนชนิดของดอกไม้ทุกเดือนตามฤดูกาล ส่วนเกโกะจะเสียบเครื่องประดับที่เรียบง่ายกว่า และปริมาณน้อยกว่า
     ตามประวัติศาสตร์ มีความเชื่อว่า Kanzashi จะใช้เป็นเครื่องป้องกันตัวได้ เนื่องมาจากขาปิ่นที่มีความแหลมคมนั่นเอง


3. การแต่งหน้า (白粉 : Oshiroi)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก fragrantolive11 on Instagram)
ไมโกะ Yuriha, Mameaki, Mametama, Tatsuha และ Mamesaya
ไมโกะรุ่นน้องที่เพิ่งเริ่มงานเป็นปีแรก ได้รับอนุญาตให้ทาปากสีแดงเฉพาะริมฝีปากล่างเท่านั้น
(ยกเว้นบางกรณีในเขต Pontocho) โดยมีเหตุผลว่าการทาปากลักษณะนี้จะแสดงถึงความเป็นเด็ก

     ไมโกะและเกโกะจะแต่งหน้าคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ตาม ไมโกะมีการใช้แป้งสีแดงหรือชมพูแต้มเพื่อไล่สีกับสีขาวบริเวณรอบตาและแก้มด้วย


4. กิโมโน (着物 : Kimono)

     กิโมโนของไมโกะนั้นมีสีสันและมีลวดลายมากกว่าของเกโกะ และยังมีแขนกิโมโนที่ยาวกว่ามากด้วย คล้ายๆ กับกิโมโน Furisode (振り袖 : กิโมโนแขนยาว) ส่วนเกโกะจะสวมกิโมโนแขนสั้นที่มีสีสันน้อยกว่า แต่เน้นให้มีมีลวดลายวิจิตรงดงามแสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่

5. โอบิ (帯 : Obi)
     โอบิของไมโกะมีความกว้าง (1 ฟุตเป็นอย่างน้อย) และยาวมาก (5-6 เมตร) ใช้ผูกกิโมโนด้วยเงื่อน Darari (だらりの帯 : Darari no Obi) ส่วนเกอิชานั้นใช้โอบิแบบสั้นกว่า และผูกด้วยเงื่อน Otaiko (お太鼓結び : Otaiko musubi) ธรรมดา

6. ปกกิโมโน (衿 : Eri)

ปกกิโมโนของไมโกะ
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก tomtombeat on Instagram และ tigertakashi on Instagram)
ไมโกะรุ่นน้อง Chikasuzu และไมโกะอาวุโส Fumiyoshi
มีกฎว่า ไมโกะรุ่นน้อง (ปี1-3) จะสวมปกกิโมโนที่มีลวดลายเน้นสีแดง ส่วนไมโกะอาวุโส (ปี3-6) จะสวมปกกิโมโนสีขาวล้วน

ความแตกต่างของปกกิโมโนทางด้านหลัง
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก fragrantolive11 on Instagram และ minerinhane on Instagram)
ไมโกะ Hinayuu และเกโกะ Korin
ปกด้านหลังของไมโกะเป็นสีแดงเสมอ (ไม่ว่าจะเป็นไมโกะมากี่ปีแล้วก็ตาม)
ส่วนปกด้านหลังของเกโกะจะเป็นสีขาวเสมอ

     ปกกิโมโนของไมโกะมักมีลวดลาย โดยไมโกะรุ่นน้องจะสวมปกสีแดงปักลวดลายต่างๆ ส่วนไมโกะอาวุโสจะใช้ปกสีขาวเมื่อมองจากด้านหน้า และเป็นสีแดงเสมอเมื่อมองจากด้านหลัง ส่วนปกกิโมโนของเกโกะจะเป็นสีขาวล้วนทั้งด้านหน้าและหลัง

7. รองเท้า
     ไมโกะมักสวมรองเท้าแบบสูง เรียกว่า Okobo (おこぼ) ส่วนเกโกะจะสวมรองเท้าเกี๊ยะทำขึ้นพิเศษที่สูงน้อยกว่า เรียกว่า Komachi-geta (小町下駄) แต่ในโอกาสที่ทั้งไมโกะและเกโกะต้องเดินในระยะทางไกลๆ พวกเธอก็จะเลือกสวมรองเท้า Zori (草履) แทน

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Japan-talk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น