วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฏนารี #2: ต้นกำเนิดของเกอิชา

     ในช่วงต้นๆ ของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นนั้น มีหญิงผู้ให้ความบันเทิง เรียกว่า “Saburuko” อยู่แล้ว ในหมู่ Saburuko มีเพียงบางคนขายบริการทางเพศ ในขณะที่คนที่มีการศึกษาบ้างจะเลี้ยงชีพด้วยเงินจากการแสดงศิลปะชั้นสูงเท่านั้น และหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงไปยัง Heian-kyou (平安京: เกียวโต) ในปี ค.ศ.794 ปัจจัยที่ทำให้เกอิชาถือกำเนิดขึ้น คือวัฒนธรรมในยุคที่ความงามถูกยกให้เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินว่าใคร “ดี” หรือไม่ นั่นทำให้หญิงผู้ให้ความบันเทิง และมีทักษะเพียงพอ เช่น นักรำ Shirabyoushi (白拍子) และอื่นๆ รุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก

Shirabyoushi (白拍子)
By: juraihelm

     วัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม มีความชื่นชอบในเรื่องทางเพศในระดับหนึ่ง เพราะไม่มีข้อห้ามกล่าวไว้ในลัทธิชินโตซึ่งเป็นที่พึ่งทางจิตใจหลักของชาวญี่ปุ่นสมัยนั้น ผู้ชายไม่ถูกจำกัดอยู่ภายใต้ความซื่อสัตย์ต่อภรรยา ภรรยาในอุดมคติจะต้องมีความเจียมเนื้อเจียมตัวและต้องคอยดูแลบ้าน อีกประการหนึ่ง ด้วยความเชื่อของลัทธิขงจื๊อ ความรักไม่ได้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเพียงแค่สำหรับความสุขทางเพศ ผู้ชายสมัยนั้นเลือกที่จะไปหาหญิงโสเภณีมากกว่าภรรยาของตัวเอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เกิดสถานบันเทิงที่รู้จักกันในชื่อ “Yuukaku(遊郭)” ขึ้น และในปี ค.ศ.1617 ภายใต้รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ การค้าประเวณีจะต้องได้รับอนุญาติก่อน หญิงค้าประเวณีสมัยนั้นที่เป็นต้นแบบของเกอิชาในปัจุบัน คือ “Tayuu (太夫)” ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดของโสเภณีธรรมดาที่เรียกว่า “Yuujo (遊女)” หนึ่งในศิลปะที่พวกเธอแสดงก็คือการรำและละครสั้นที่มีแนวเสียดสีชีวิตรักบนเตียงของคนสมัยนั้น และนี่ก็เป็นจุดกำเนิดของ “Kabuki (歌舞伎)” การแสดงของชาวญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลกในปัจจุบัน


Tayuu (太夫)

การถือกำเนิดของเกอิชา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18

     สถานบันเทิงเหล่านี้ ขยายตัวไปสู่ศูนย์รวมความบันเทิงอันหรูหราอย่างรวดเร็ว โดยมีจุดเด่นคือการบริการมากกว่าเรื่องทางเพศ คือมีการแสดงศิลปะชั้นสูงร่วมด้วย หญิงคณิการะดับสูงมักให้ความบันเทิงแขกของพวกเธอด้วยการร้องเพลง รำ และเล่นดนตรี บางคนก็เขียนอักษรด้วยพู่กันได้อย่างสวยงาม หรือรู้จักบทกวีต่างๆ ด้วย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้ให้ความบันเทิงจริงๆ ด้วยศิลปะก็ถือกำเนิดขึ้น โดยมีชื่อเรียกว่า “เกอิชา” แต่ก่อน ในยุคแรกของสังคมเกอิชา พวกเขาไม่ใช่ผู้หญิง แต่เป็นผู้ชาย ที่มีหน้าที่ให้ความบันเทิงแก่แขกด้วยศิลปะ

     ผู้ที่เบิกทางให้ผู้หญิงได้มีฐานะเกอิชาในสังคมก็คือนักแสดงวัยรุ่นที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดีและอย่างแพง เรียกว่า “Odoriko (踊り子)” (Odori = รำ, Ko = เด็ก) ช่วง ค.ศ.1680 เหล่า Odoriko นี่เองที่ได้รับความนิยมในการจ้างไปแสดงส่วนตัวในบ้านของซามุไรระดับสูง แม้ว่าต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จะมีหลายคนหันไปค้าประเวณีแทนก็ตาม ในยุคนั้น เมื่อ Odoriko เริ่มมีอายุมากขึ้นและไม่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้ต่อไป หญิงเล่านั้นจึงได้รับชื่อ “เกอิชา” ตามผู้ให้ความบันเทิงที่เป็นชายมา ประมาณปี ค.ศ.1750 หญิงคนแรกที่เรียกตัวเองว่าเกอิชา อยู่ในเขต Fukagawa (深川) แหล่งหญิงคณิกาที่โด่งดัง เธอมีชื่อว่า “Kikuya” ผู้มีความสามารถด้านการร้องเพลงและเล่นชามิเซ็งสูงมาก เธอทำให้เหล่าเกอิชาหญิงที่เริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งขณะที่พวกเธอกำลังโด่งดังขึ้นนั้น ก็มีหลายคนเริ่มหันมาให้ความบันเทิงแขกด้วยศิลปะ มากกว่าการค้าประเวณี ที่จะคอยให้บริการในแหล่งเดียวกับเกอิชาชายนั่นเอง

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น