วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #15: อุปกรณ์เสริมของกิโมโน(1)

     อุปกรณ์ที่ใช้สวมคู่กับกิโมโน (着付け小物 : Kitsuke-komono)

Datejime (伊達締め) หรือ Datemaki (伊達巻き)

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.cs-j.bb4u.ne.jp)
Datejime รูปแบบต่างๆ

     อาจเรียกได้ว้าเป็นโอบิชั้นใน ใช้ผูก Nagajuban (長襦袢 : กิโมโนชั้นใน) และกิโมโนตัวหลัก เพื่อยึดกิโมโนให้คงอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

Eri-sugata (衿姿)
     คอปกเสริมที่สามารถใช้สวมแทน Nagajuban (長襦袢 : กิโมโนชั้นใน) ในฤดูร้อนได้ เพราะในฤดูร้อน การสวม Nagajuban จะทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกอบอ้าวและไม่สบายตัวมาก โดย Eri-sugata นี้จะช่วยให้คอปกกิโมโนโค้งและอยู่ในตำแหน่งที่สวยงาม

Geta (下駄)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.e-geta.com)
Geta

     รองเท้าจากไม้ที่สวมได้โดยทั้งผู้หญิงและผู้ชายคู่กับยูคาตะ (浴衣 : กิโมโนฤดูร้อน) และ Geta ที่มีรูปแบบเฉพาะจะสวมโดยเกอิชา

Hakama (袴)
     กางเกงขายาวแบบญี่ปุ่นที่มีทั้งแบบแบ่งเป็นสองขา (
馬乗袴 : Umanoribakama) และแบบไม่แบ่งขา (行灯袴 : Andonbakama) โดยทั่วไปจะสวมโดยผู้ชาย ส่วนผู้หญิงก็สามารถสวมได้ แต่นิยมใช้ในโอกาสที่เป็นทางการน้อยกว่า Hakama จะเป็นจีบๆ คล้ายกระโปรง และใช้เส้นผ้ามัดให้เข้ากับตัวผู้สวม ทับโอบิ Hakama สำหรับผู้ชายจะมีส่วนคล้ายเบาะตรงเอวด้านหลัง (腰板 : Koshi-ita) ด้วย นอกจากนี้ Hakama ยังถูกสวมโดยนักกีฬาในศิลปะการป้องกันตัวแบบญี่ปุ่นหลากหลายแบบ เช่น ไอกิโด (合気道 : Aikido), เคนโด้ (剣道 : Kendo), ศิลปะการใช้ดาบ (居合道 : Iaidou) และศิลปะการใช้หอก (薙刀 : Naginata) สำหรับผู้หญิง จะสวม Hakama ในพิธีจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และใช้สวมโดย Miko (巫女) ในศาลเจ้าชินโต ทั้งนี้ระดับความเป็นทางการของ Hakama จะขึ้นอยู่กับสีหรือลวดลายบนผ้า

Hanten (袢纏)
     เสื้อคลุมแบบฉบับของคนใช้แรงงาน นิยมเสริมความหนาด้วยฟูกเพื่อความอบอุ่น อาจกล่าวได้ว่าตรงข้ามกับ Happi ที่บางกว่ามาก

Haori (羽織)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.hakama-girls.net)
Haori (เสื้อคลุมสีฟ้า-เทา)

     เสื้อคลุมที่มีความยาวถึงสะโพกหรือต้นขา ใช้สวมคู่กับกิโมโนเพื่อเพิ่มระดับความเป็นทางการ แต่ก่อน ผู้ชายเท่านั้นที่สวม Haori แต่ต่อมาในสมัยเมจิ เสื้อคลุมนี้กลายเป็นแฟชั่นในหมู่หญิงสาว ทำให้ปัจจุบันสามารถสวมได้ทั้งหญิงและชาย

Haori-himo (羽織紐)
     เชือกประดับพู่สำหรับผูกคู่กับ Haori โดยมีสีขาวเป็นสีที่เป็นทางการที่สุด

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #14: Gosho no Oniwa

เพลง : Gosho no Oniwa (御所のお庭)
แบบฉบับ : Miyagawacho

By: nerocomxjp on Youtube
ไมโกะ Fukukana จากโอกิยะ kawayoshi

By: Tsunoda kazushi on Youtube
ไมโกะ Toshisumi และไมโกะ Toshiteru จากโอกิยะ Komaya

By: Kimo Kame on Youtube
ไมโกะ Toshimana และไมโกะ Toshikana จากโอกิยะ Komaya

By: kainmacourt on Youtube
ไมโกะ Satono จากโอกิยะ Kawahisa

แบบฉบับ : Kamishichiken

By: torayatorao on Youtube
ไมโกะ Satohana จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Ichimari จากโอกิยะ Ichi

Fumiou, Tai Sakura Okiya

เกอิชา นาฎนารี #14: เกโกะ และ ไมโกะ

     เกโกะ (芸子 : Geiko)คือผู้ให้ความบันเทิงด้วยศิลปะ พวกเธอเป็นศิลปินชั้นสูงที่อุดมไปด้วยความสามารถและความงดงาม
     ไมโกะ (舞妓 : แปลตรงตัวว่า เด็กร่ายรำ) คือเกอิชาฝึกหัด โดยเริ่มการฝึกตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนกลางถึงอายุ 20 ปี หลังจากสิ้นสุดการฝึกฝนของไมโกะ พวกเธอจะได้เลื่อนขั้นสูงขึ้นเป็นเกอิชาในพิธี Erikae (衿替え : และตรงตัวว่า เปลี่ยนปกกิโมโน)
     โดยคำว่าไมโกะและเกโกะ เป็นคำที่ใช้เรียกเกอิชาในแถบคันไซ เช่น เกียวโต นะระ และต่อไปนี้คือวิธีง่ายๆ ที่จะใช้แยกความแตกต่างระหว่างไมโกะและเก
โกะ

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก PinkCyborn13 on Twitter)
เกโกะ Mamemaru (ซ้าย) และไมโกะ Mamesumi (ขวา)
สังเกตเห็นความแตกต่างบ้างไหมคะ

1. ทรงผม (日本髪 : Nihongami)

     ไมโกะจะมีผมที่รวบตึงอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เกโกะไม่ต้องทนกับความลำบากนี้
     ไมโกะทำผมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม (日本髪 : Nihongami) ด้วยผมจริงของพวกเธอ ส่วนเกอิชาส่วนใหญ่แล้วจะสวมวิก การทำผมจริงของไมโกะจะนำความลำบากมาให้หลายด้าน โดยเฉพาะการรักษาทรงผมนี้ให้สวยงามต่อไป แม้แต่เวลานอน พวกเธอจะนอนบนหมอนสูงที่ใช้หนุนบริเวณคอ (高枕 : Takamakura) และทำผมใหม่ทุกๆ 5-7 วัน
     การทาแป้งขาวลงบนหน้าและคอของไมโกะ จะเว้นที่บริเวณโคนผมส่วนล่างด้านหลังให้เห็นสีผิวจริงอยู่เล็กน้อย ส่วนเกโกะจะมัดผมจริงของเธอขึ้นสูง ทาแป้งจนถึงโคนผมแล้วจึงสวมวิก โดยไมโกะจะทำผมหลักๆ 5 ทรง ขึ้นอยู่กับระดับขั้นของเธอ

2. เครื่องประดับผม (かんざし : Kanzashi)
     ไมโกะจะประดับผมด้วยเครื่องประดับผมชิ้นใหญ่ เป็นดอกไม้จากผ้า เรียกว่า Kanzashi (かんざし) โดยจะเปลี่ยนชนิดของดอกไม้ทุกเดือนตามฤดูกาล ส่วนเกโกะจะเสียบเครื่องประดับที่เรียบง่ายกว่า และปริมาณน้อยกว่า
     ตามประวัติศาสตร์ มีความเชื่อว่า Kanzashi จะใช้เป็นเครื่องป้องกันตัวได้ เนื่องมาจากขาปิ่นที่มีความแหลมคมนั่นเอง


3. การแต่งหน้า (白粉 : Oshiroi)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก fragrantolive11 on Instagram)
ไมโกะ Yuriha, Mameaki, Mametama, Tatsuha และ Mamesaya
ไมโกะรุ่นน้องที่เพิ่งเริ่มงานเป็นปีแรก ได้รับอนุญาตให้ทาปากสีแดงเฉพาะริมฝีปากล่างเท่านั้น
(ยกเว้นบางกรณีในเขต Pontocho) โดยมีเหตุผลว่าการทาปากลักษณะนี้จะแสดงถึงความเป็นเด็ก

     ไมโกะและเกโกะจะแต่งหน้าคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ตาม ไมโกะมีการใช้แป้งสีแดงหรือชมพูแต้มเพื่อไล่สีกับสีขาวบริเวณรอบตาและแก้มด้วย


4. กิโมโน (着物 : Kimono)

     กิโมโนของไมโกะนั้นมีสีสันและมีลวดลายมากกว่าของเกโกะ และยังมีแขนกิโมโนที่ยาวกว่ามากด้วย คล้ายๆ กับกิโมโน Furisode (振り袖 : กิโมโนแขนยาว) ส่วนเกโกะจะสวมกิโมโนแขนสั้นที่มีสีสันน้อยกว่า แต่เน้นให้มีมีลวดลายวิจิตรงดงามแสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่

5. โอบิ (帯 : Obi)
     โอบิของไมโกะมีความกว้าง (1 ฟุตเป็นอย่างน้อย) และยาวมาก (5-6 เมตร) ใช้ผูกกิโมโนด้วยเงื่อน Darari (だらりの帯 : Darari no Obi) ส่วนเกอิชานั้นใช้โอบิแบบสั้นกว่า และผูกด้วยเงื่อน Otaiko (お太鼓結び : Otaiko musubi) ธรรมดา

6. ปกกิโมโน (衿 : Eri)

ปกกิโมโนของไมโกะ
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก tomtombeat on Instagram และ tigertakashi on Instagram)
ไมโกะรุ่นน้อง Chikasuzu และไมโกะอาวุโส Fumiyoshi
มีกฎว่า ไมโกะรุ่นน้อง (ปี1-3) จะสวมปกกิโมโนที่มีลวดลายเน้นสีแดง ส่วนไมโกะอาวุโส (ปี3-6) จะสวมปกกิโมโนสีขาวล้วน

ความแตกต่างของปกกิโมโนทางด้านหลัง
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก fragrantolive11 on Instagram และ minerinhane on Instagram)
ไมโกะ Hinayuu และเกโกะ Korin
ปกด้านหลังของไมโกะเป็นสีแดงเสมอ (ไม่ว่าจะเป็นไมโกะมากี่ปีแล้วก็ตาม)
ส่วนปกด้านหลังของเกโกะจะเป็นสีขาวเสมอ

     ปกกิโมโนของไมโกะมักมีลวดลาย โดยไมโกะรุ่นน้องจะสวมปกสีแดงปักลวดลายต่างๆ ส่วนไมโกะอาวุโสจะใช้ปกสีขาวเมื่อมองจากด้านหน้า และเป็นสีแดงเสมอเมื่อมองจากด้านหลัง ส่วนปกกิโมโนของเกโกะจะเป็นสีขาวล้วนทั้งด้านหน้าและหลัง

7. รองเท้า
     ไมโกะมักสวมรองเท้าแบบสูง เรียกว่า Okobo (おこぼ) ส่วนเกโกะจะสวมรองเท้าเกี๊ยะทำขึ้นพิเศษที่สูงน้อยกว่า เรียกว่า Komachi-geta (小町下駄) แต่ในโอกาสที่ทั้งไมโกะและเกโกะต้องเดินในระยะทางไกลๆ พวกเธอก็จะเลือกสวมรองเท้า Zori (草履) แทน

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Japan-talk

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #14: Gouyaa Chanpuruu

     Gouyaa Chanpuruu (ゴーヤーチャンプルー) เป็น Chanpuruu ชนิดหนึ่งที่เป็นที่โด่งดังมากจนกลายเป็นเมนูขึ้นชื่อของ Okinawa ทำขึ้นโดยวิธีผัดมะระ เต้าหู้ ไข่ และหมูสไลซ์เข้าด้วยกัน

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.touhoku-syouyu.co.jp)
Gouyaa Chanpuruu

ตำรับ Gouyaa Chanpuruu

สำหรับ 3-4 ที่

วัตถุดิบ
     1. มะระ 1 ผล
     2. เกลือ 2 ช้อนชา
     3. เต้าหู้ 1 ก้อน
     4. หมูสไลซ์ 100-200 กรัม
     5. ไข่ 2-3 ฟอง
     6. น้ำมันงา 1 ช้อนชา
     7. ผงสต็อกดะชิ 1 ช้อนชา
     8. สาเก 2 ช้อนชา
     9. ซีอิ๊ว 1 ช้อนชา
     10. ปลาฝอย Bonito
     11. มายองเนส

วิธีทำ
     1. หั่นมะระครึ่งผลตามยาว ใช้ช้อนขูดเมล็ดและแกน(ส่วนสีขาวรอบๆเมล็ด)ข้างในออกให้หมด แล้วหั่นเป็นชิ้นบาง จากนั้นโรยด้วยเกลือ 1 ช้อนชาให้ทั่ว พักทิ้งไว้ 5 นาที
     2. ล้างเต้าหู้ให้สะอาดแล้วซับน้ำออกด้วยกระดาษเช็ดมือออกให้หมด จากนั้นห่อเต้าหู้ด้วยกระดาษเช็ดมืออีกครั้ง หาอะไรที่มีน้ำหนัก เช่น เขียงบางๆ มาทับเต้าหู้ไว้ เพื่อบีบให้น้ำออกหมด เสร็จแล้วแกะกระดาษออก นำเต้าหู้เข้าไมโครเวฟ 3-4 นาที ระหว่างรอ ให้หั่นหมูเป็นเส้นๆ เตรียมไว้
     3. ตั้งกระทะ เทน้ำมันงาลงไปให้ร้อน จากนั้นฉีกเต้าหู้ที่เตรียมไว้ด้วยมือ แล้วผัดในกระทะ เมื่อเต้าหู้เริ่มเหลืองจนเกือบน้ำตาล ให้ตักลงจากกระทะ ใส่จานพักไว้
     4. ล้างมะระที่หมักไว้ด้วยน้ำสะอาด แล้วนำลงผัดพร้อมหมูที่หั่นแล้ว ผัดจนสุกทั่วกัน จากนั้นใส่เต้าหู้จากข้อ 3 ผงสต็อกดะชิ สาเก และซีอิ๊วตามลงไป ผัดให้เข้ากัน
     5. ตอกไข่ใส่ชามอีกใบ หากต้องการรสเค็มก็สามารถเติมเกลือเพิ่มลงได้ตามชอบ เสร็จแล้วเทไข่ใส่กระทะลงไปผสมกับส่วนผสมจากข้อ 4 จากนั้นให้ชิมรสดูว่าต้องเติมอะไรเพิ่มแล้วแต่ความชอบ
     6. ตักใส่จาน เสิร์ฟคู่กับมายองเนส และปลาฝอย Bonito

เคล็ดลับ
     - มะระมีรสชาติขมนิดๆ หากคุณไม่ชอบรสขม ให้แช่มะระในน้ำร้อน 30 วินาที ก่อนจะลงผัด สิ่งนี้จะช่วยลดความขมลงได้ หรือจะเติมน้ำมันหอยเพื่อกลบรสชาติขมก็ได้เช่นกัน


Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Japancentre

กิโมโนศาสตร์ #14: กิโมโนสำหรับผู้ชาย

     ตรงกันข้ามกับกิโมโนของผู้หญิงที่สวยงานหรูหรา นั่นคือกิโมโนสำหรับผู้ชายที่มีความเรียบง่ายกว่ามาก ซึ่งปกติแล้วจะประกอบจากชิ้นส่วนหลักๆ 5 ชิ้น โดยไม่นับรวมรองเท้า

     แขนกิโมโนของผู้ชายจะติดอยู่กับตัวกิโมโนตลอด โดยไม่มีส่วนย้อยลงมาเป็นกระเป๋าแม้แต่นิ้วเดียว ต่างจากกิโมโนผู้หญิงที่มีแขนย้อยลงมาเป็นส่วนที่ไม่ติดกับตัวกิโมโนเยอะมาก ความยาวของแขนตามแนวตั้งในกิโมโนผู้ชายก็น้อยกว่าของผู้หญิงเช่นกัน เพื่อให้เข้ากันกับความกว้างของโอบิพอ
ดี

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก gaijinpot - blog)
ยูคาตะ (浴衣 : Yukata) กิโมโนฤดูร้อนสำหรับผู้ชาย 

     ใน
ยุคสมัยใหม่ ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างกิโมโนชายและหญิงคือเนื้อผ้า กิโมโนทั่วไปของผู้ชายจะเรียบง่าย มีสีโทนมืด เช่น ดำ น้ำเงินเข้ม เขียว หรือน้ำตาล และจะมีการเคลือบผ้าแบบเฉพาะ บางแบบอาจมีสีอ่อนลงหรือมีลวดลายบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้จะทำให้กิโมโนมีระดับความเป็นทางการลดหลั่นลงไป ยิ่งสดใสมากยิ่งมีความเป็นกิโมโนลำลองมาก (กิโมโนลำลอง ในที่นี้หมายความถึงกิโมโนที่สวมใส่ในบ้านทั่วไป ซึ่งก็คือมีระดับความเป็นทางการน้อยมากนั่นเอง) โดยนักซูโม่นั้นเป็นที่รู้กันดีว่ามีโอกาสได้สวมใส่กิโมโนสีสันสดใสบ่อยๆ เช่น สีแดงม่วง

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก brewminate.com)
(ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest)
กิโมโนทั่วไปของผู้ชายจะเรียบง่าย และมีสีโทนมืด

     สำหรับกิโมโนผู้ชายที่มีระดับความเป็นทางการสูงที่สุดคือแบบที่ทำจากผ้าไหมสีพื้นดำล้วน พร้อมสัญลักษณ์ประจำตระกูล 5 จุด (บนหลัง 1 จุด, ไหล่ 2 จุด, และบนหน้าอกซ้ายขวา 2 จุด) อาจมีเพียงแค่ 3 จุดก็ได้ แต่ก็จะเป็นทางการน้อยลงไปด้วย

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #13: Gion Kouta (Miyagawacho)

เพลง : Gion Kouta (祇園小唄)
แบบฉบับ : Miyagawacho

By: tomy idn on Youtube
ไมโกะ Toshimomo จากโอกิยะ Komaya

By: 扇元矢 Watanabe Ayako 西川 on Youtube
ไมโกะ Fukuhana จากโอกิยะ Shigemori

By: hat chibikuro on Youtube
ไมโกะ Toshisumi และไมโกะ Toshimomo จากโอกิยะ Komaya

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Chikaharu และไมโกะ Toshimomo จากโอกิยะ Komaya

Fumiou, Tai Sakura Okiya

เกอิชา นาฏนารี #13 : Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(6 ตอนจบ)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 6 (ตอนจบ)

     Q: คุณคิดว่าสภาวะทางเศรษฐกิจและการเมืองสมัยนี้เอื้อต่อการเป็นอยู่ของเกอิชาไหมคะ
     A: ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นมีกำลังซื้อสินค้าและบริการที่หรูหราลดน้อยลงค่ะ ทำให้ศิลปะแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมหลายแขนง รวมถึงเกอิชา กลายเป็นบริการระดับสูงที่มีราคาแพง สิ่งเหล่านี้ยังส่งผลให้การสนับสนุนเกอิชาให้ประกอบอาชีพต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ตัดสินใจยากมากค่ะ

     Q: คุณคิดว่าสังคมเกอิชาจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต และจะมีวิธีปรับตัวเพื่อความอยู่รอดอย่างไรบ้างคะ
     A: ฉันหวังว่าศิลปะแบบดั้งเดิมทั้งหลายรวมถึงวัฒนธรรมของเกอิชานี้จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปในอนาคตได้ เราต้องมีความทะเยอทะยานค่ะ ต้องพยายามทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้เข้าถึงคนญี่ปุ่นและคนต่างชาติมากขึ้น และฉันก็หวังด้วยว่าจะต้องสนับสนุนให้มีการลงทุนในด้านศิลปะดั้งเดิมเพิ่มขึ้น ลองจินตนาการดูสิคะ ในอนาคต หากเกอิชา นักแสดงโนะ (能 : Noh [ละครเวทีญี่ปุ่นโบราณ]) ช่างแต่งกิโมโน และอื่นๆ อีกมาก กลายเป็นเพียงเรื่องราวในหนังสือหรือละคร นั่นคงเป็นอนาคตที่แสนเศร้า ฉันคิดว่ากุญแจสำคัญที่จะทำให้วัฒนธรรมศิลปะเหล่านี้ยังคงอยู่ต่อไป คือการรู้จักปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกสิ่งหนึ่งคือต้องยอมรับเลยว่ายุครุ่งเรืองของเกอิชาได้ผ่านไปแล้ว อุปสงค์ของลูกค้าก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นเกอิชาต้องยอมปรับเปลี่ยนตัวเองเล็กน้อย เพื่อให้เข้ากับแขกสมัยใหม่มากกว่าเดิม ซึ่งเกียวโตก็เป็นแหล่งวัฒนธรรมด้านนี้ที่ยังคงรักษาไว้ได้เหมือนแต่เก่าก่อนมากที่สุดอยู่แล้ว ก็ต้องรักษาต่อไป ส่วนแหล่งเกอิชาที่อื่นๆ เช่น โตเกียว, Nara, Niigata และที่อื่น มันก็มีที่ว่างสำหรับการเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่นกิจกรรมใหม่ในเกียวโต คือลานเบียร์ Kamishichiken ในเกียวโต, หรือ Gion Corner นั่นคือตัวอย่างของการปรับตัวที่เยี่ยมมากค่ะ ต่อไปเกอิชาก็จะกลายเป็นผู้ให้ความบันเทิงอันทรงคุณค่า ที่สามารถแสดงศิลปะของตนเองออกมาได้มากกว่าในงานเลี้ยง แต่จริงๆ แล้วจะเป็นอย่างไรก็ต้องค้นหากันต่อไปค่ะ

     Q: มีโอกาสไหมคะที่คนอื่นๆ ที่สนใจจะได้เป็นเกอิชาแบบคุณบ้าง
     A: ถ้าคุณต้องการจะเป็นเกอิชาจริงๆ แล้วละก็ จงเชื่อมั่นในตัวเอง คุณต้องทำได้แน่นอนค่ะ แต่มันอาจยากหรือต้องสละหลายสิ่งไป แต่ก็เหมือนฉันแหละค่ะ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ไม่ต้องรีรอ เริ่มได้เลยตอนนี้ค่ะ สิ่งนี้จะเป็นกุญแจช่วยเป็นประตูความฝันของคุณได้ หากคุณพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ เรื่องนี้จะกลายเป็นเป็นไปไม่ได้ทันทีค่ะ อย่างที่สอง คุณต้องมาญี่ปุ่นให้ได้ จากนั้นก็เริ่มเรียนรำ เรียนบรรเลงเครื่องดนตรีญี่ปุ่น เรียนเกี่ยวกับกิโมโนและชา จงพยายามต่อไป ให้ชื่อเสียงของคุณดังกึกก้อง และอย่างที่ฉันบอกไป มันยากก็จริง แต่อย่าเพิ่งท้อถอย พยายามต่อไปนะคะ หากมันคือความฝันที่คุณจริงจังจริงๆ คุณต้องทำได้แน่นอนค่ะ

     Q: เกอิชาในเกียวโตและโตเกียวแตกต่างกันอย่างไรคะ
     A: เกอิชาในสองที่นี้ค่อนข้างแตกต่างกันเลยค่ะ ฉันก็พอทราบมาบ้าง แต่ไม่เคยพบเกโกะเกียวโตตัวจริงสักทีนะคะ เกโกะที่เกียวโตมีตารางการฝึกซ้อมที่เข้มข้นจริงจังกว่า และในงานเลี้ยง โตเกียวและเกียวโตก็มีบรรยากาศที่ต่างกันด้วยค่ะ ในโตเกียว พวกเราจะมีเพลงและร่ายรำที่ทรงพลังและครึกครื้นมากกว่า แต่ระดับความเป็นทางการนั้นน้อยกว่าในเกียวโต ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าด้วยนะคะ

     Q: คุณคิดว่าประโยคที่ว่า “วัฒนธรรมญี่ปุ่นหลายประเภทกำลังสูญหาย” เป็นจริงไหมคะ
     A: ฉันไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้นค่ะ เพียงแค่วิถีชีวิตของคนสมัยใหม่เปลี่ยนไปเท่านั้นเอง วัฒนธรรมหลายๆ อย่าง เช่น พิธีชงชา หรือเกอิชาและงานเลี้ยง ที่เคยเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ก็กลายเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโอกาสพิเศษเท่านั้น ส่วนตัวฉันก็พยายามจะร่วมมือกับศิลปินท่านอื่น เพื่อฟื้นฟูและค่อยๆ ปรับศิลปะเหล่านี้ให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่มากขึ้นค่ะ

     Q: คุณเริ่มต้นการฝึกด้วยการเป็น Shikomi หรือ Minarrai ก่อนไหมคะ แล้วที่เกียวโตเขาเรียกการฝึกฝนเหล่านี้เหมือนกันไหมคะ
     A: โอกิยะ (置屋: Okiya [สำนักเกอิชา]) ส่วนใหญ่ในโตเกียวจะไม่มีช่วง Shikomi (仕込み : Shikomi [ช่วงฝึกก่อนเป็นไมโกะ Shikomi มีหน้าที่หลักคือดูแลบ้าน ทำความสะอาด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งกิโมโนแบบไมโกะหรือเกโกะ]) ค่ะ โดยจะทำข้อตกลงกับหญิงที่มีอาชีพอื่นอยู่แล้ว แต่ต้องการเป็นเกอิชาด้วย ด้วยสิ่งนี้นั่นเอง ที่ทำให้เกอิชาในโตเกียวไม่มีโอกาสได้อาศัยร่วมกันในโอกิยะเหมือนในเกียวโตค่ะ

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ**

Fumiou, Tai Sakura Okiya 
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #13: Ganmodoki

     Ganmodoki (がんもどき) คือเต้าหู้ผสมผักชุบแป้งทอด เช่น แครอท หรือรากบัว และบางครั้งก็อาจใส่ไข่ลงไปด้วย คำว่า Ganmodoki มาจากคำ 2 คำ がん (Gan : ห่าน) และ もどき (Modoki : ปลอม) Ganmodoki จึงแปลได้ตรงตัวว่า "เนื้อห่านปลอม" นั่นก็เพราะว่าเมนูนี้มีรสคล้ายเนื้อห่าน ทั้งที่จริงแล้วคือเต้าหู้ โดยชาวญี่ปุ่นก็ยังเรียกอาหารจานนี้สั้นๆ ว่า Ganmo อีกด้วย

(ขอขอบคุณรูปภาพจาก glutenfree-komekofood - blog)
Ganmodoki 

ตำรับ Ganmodoki
สำหรับ 2 ที่

วัตถุดิบ

     1. เต้าหู้แบบแข็ง 1 ก้อน
     2. สาหร่าย Hijiki แห้ง 5 กรัม
     3. ถั่ว Edamame 20 กรัม
     4. ต้นหอม 2 ต้น
     5. แครอท ¼ หัว
     6. เกล็ดขนมปังกรอบ 20 กรัม
     7. ไข่ฟองใหญ่ 1 ฟอง
     8. Miso ขาว 1 ช้อนโต๊ะ
     9. ผงสต็อกจากสาหร่าย Kombu 1 ช้อนชา
     10. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ

สำหรับซอส Daikon
     1. ขิง 20 กรัม
     2. หัวไชเท้า 120 กรัม
     3. ซีอิ๊ว 20 มิลลิลิตร

วิธีทำ
     1. ล้างเต้าหู้ แล้วห่อเต้าหู้ด้วยกระดาษเช็ดมือเพื่อซับน้ำส่วนเกินออก
     2. แกะกระดาษออก แล้วหั่นเต้าหู้ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ห่อด้วยกระดาษเช็ดมืออีกครั้ง จากนั้นค่อยๆ บีบเต้าหู้เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออกให้ได้มากที่สุด
     3. แช่สาหร่าย Hijiki ในน้ำสะอาด 500 มิลลิลิตร เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นเทน้ำออกแล้วพักไว้
     4. หั่นแครอทและต้นหอมเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมปอกและขูดขิงเตรียมไว้
     5. บดเต้าหู้ในชามด้วยมือ แล้วเท Miso ขาว, ผงสต็อก, ไข่, ต้นหอมหั่น และขิงขูด 1 ช้อนชา (ขิงส่วนที่เหลือให้เก็บไว้ก่อน) ลงไปผสม เมื่อเข้ากันดีแล้ว ให้ใส่สาหร่าย Hijiki, แครอท และถั่ว Edamame ลงตามไป จากนั้นค่อยๆ คนให้เข้ากัน
     6. ทำให้มือเปียกน้ำ แล้วค่อยๆ ปั้นส่วนผสมจากข้อ 5 เป็นแผ่นหนาประมาณ 2 เซนติเมตร
     7. ตั้งกระทะแบน เปิดไฟกลาง เทน้ำมันพืชลงไป จากนั้นค่อยทยอยนำส่วนผสมที่ปั้นแล้วลงทอดให้เหลือง ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที แล้วใช้ตะหลิวกลับด้าน ทอดอีกด้านต่ออีก 2-3 นาที อาจปิดฝากระทะเพื่อให้สุกเร็วขึ้นก็ได้ เสร็จแล้วตักลงใส่จาน
     8. ปอกและขูดหัวไชเท้า บีบน้ำออกจากตัวหัวไชเท้าเล็กน้อย จากนั้นวางใส่ในถ้วยน้ำจิ้มคู่กับขิงที่เหลือจากข้อ 5 แล้วเติมซีอิ๊วลงไปผสม จะได้เป็นซอส Daikon
     9. เสิร์ฟ Ganmodoki คู่กับซอส Daikon (ซอสหัวไชเท้า) ได้เลย

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Japancentre

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #13: กิโมโนกับโอกาสต่างๆ

     ตาราง TPO (Time[เวลา], Place[สถานที่], Occasion[โอกาส]) ของกิโมโน เป็นตารางที่กำหนดความเหมาะสมของการสวมใส่กิโมโนแต่ละประเภทในโอกาสต่างๆ

ตาราง TPO แสดงประเภทของกิโมโนที่เหมาะสมกับโอกาสต่างๆ

หมายเหตุุ: Furisode
                 Tomesode
                     - Kuro Tomesode (สีดำ)
                     - Iro Tomesode (สีอื่นที่ไม่ใช่สีดำ)
                 Houmongi และ Tsukesage
                     - Formal Houmongi (มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                     - Casual Houmongi (ไม่มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                     - Formal Tsukesage (มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                     - Casual Tsukesage (ไม่มีสัญลักษณ์ประจำตระกูล)
                 Iromuji
                 Edo Komon
                 Komon
                 Tsumugi

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Immortalgeisha

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #12: Rokudan Kuzushi

เพลง : Rokudan Kuzushi (六段くずし)
แบบฉบับ : Gion Higashi

By: kunihiko takenaka on Youtube
เกโกะ Tsunemomo จากโอกิยะ Shigenoya

By: bcbgarcia on Youtube
เกโกะ Hinagiku จากโอกิยะ Okatome

แบบฉบับ : Miyagawacho

By: Takeo Yamano on Youtube
เกโกะ Toshimana จากโอกิยะ Komaya

By: mamemaru93 on Youtube
เกโกะ Miehina จากโอกิยะ Harutomi

แบบฉบับ : Kamishichiken

By: kunihiko takenaka on Youtube

Fumiou, Tai Sakura Okiya

เกอิชา นาฏนารี #12: Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(5)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 5

     Q: ช่วงที่ยากที่สุดของการก้าวขึ้นเป็นเกอิชาตัวจริงได้นั้นคือช่วงไหนคะ
     A: บางครั้งฉันก็รู้สึกว่าการสร้างการเชื่อมโยงที่แท้จริงเข้ากับวัฒนธรรมนี้ช่างยากเหลือเกิน แต่ทุกอย่างก็ต้องอากศัยเวลาทั้งนั้นนี่คะ เรื่องภาษาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ยาก บวกกับความกดดันในการใช้ชีวิตที่ขึ้นอยู่กับอาชีพที่มีบรรทัดฐานความสามารถที่ควรจะมีสูงมาก แต่ฉันก็พยายามประกอบอาชีพนี้ต่อไปเพื่อนำเสนอศิลปะชั้นสูงให้ออกมาดีที่สุด จนทำให้ตอนนี้ทั้งการรำ การบรรเลงเครื่องดนตรี และทักษะในงานเลี้ยง เริ่มมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ฉันจึงไม่รู้สึกว่ามีช่วงไหนยากเป็นพิเศษ เพราะฉันรักในสิ่งที่ทำไงคะ แต่ก็แอบยอมรับหน่อยๆ นะคะว่า ฉันก็รู้สึกกดดันกับการแสดงศิลปะขั้นสูงขึ้นไปอีกนิดหน่อยค่ะ

     Q: แล้วช่วงที่คุณชอบที่สุดล่ะคะ
     A: ฉันชอบความจริงที่ว่าฉันได้ตกหลุมรักในวัฒนธรรมนี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้นแล้วค่ะ ฉันได้รับโอกาสมากมายในการศึกษาเล่าเรียนศิลปะ แม้แต่นอกห้องเรียนด้วยค่ะ ตัวอย่างเช่น ฉันเคยได้รับเชิญไปร่วมการแสดงชามิเซ็ง (三味線 : Shamisen [เครื่องดนตรีสามสายของญี่ปุ่น]) และพิธีชงชา และเดือนหน้านี้ ฉันจะไปชมการแสดงโนะค่ะ (: Noh [ละครเวทีญี่ปุ่นโบราณ]) เหล่านี้คือสิ่งที่ฉันใฝ่ฝันจะทำมาตั้งแต่ยังเด็ก ใฝ่ฝันว่าจะได้เป็นเกอิชา ต้องขอบคุณอาชีพนี้ที่ทำให้ฉันได้พบกับศิลปินหลายท่าน และฉันก็หวังว่าจะได้พบศิลปินท่านใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ

     Q: ลูกค้่าที่สนใจสามารถติดต่อจองคุณไปแสดงได้ที่ไหนบ้างคะ
     A: สำหรับท่านที่ใช้ภาษาอังกฤษ สามารถติดต่อฉันได้โดยตรงเลยค่ะ ที่ yoshinoya.kimicho@gmail.com และท่านที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น ก็โทรมาได้โดยตรงเลยค่ะ เบอร์โทรศัพท์สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของเรา http://yoshinoya-geigi.com ค่ะ

     Q: คุณมีลูกค้าที่รู้จักดีเป็นของตัวเองหรือยังคะ แล้วพวกเขามีท่าทีอย่างไรบ้างกับเกอิชาชาวต่างชาติคะ
     A: ฉันยังใหม่เกินไปสำหรับการพบกับลูกค้าทั่วไปอยู่ค่ะ แต่ก็เคยมีประสบการณ์วิเศษกับแขกหลายท่าน และอยากจะพบพวกเขาอีกครั้งหากมีโอกาสค่ะ ฉันเคยพบแขกชาวญี่ปุ่นเช่นกัน แต่ถ้าเป็นเร็วๆ นี้ ฉันอยากพบแขกชาวต่างชาติมากกว่าคะ คือมันต่างกันจริงๆ นะคะ บางครั้งลูกค้าของพวกเราก็สงสัย ตื่นเต้น และมีคำถามเกี่ยวกับฉันด้วยล่ะค่ะ

     Q: ช่วยอธิบายเกี่ยวกับรายได้และเงินเดือนของเกอิชาให้พวกเราฟังหน่อยค่ะ
     A: เราจะจ้างเกอิชาไปแสดง โดยคิดเป็นรายชั่วโมงค่ะ ซึ่งราคานั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละสำนัก นอกจากนั้นคุณก็สามารถให้ทิปเกอิชาได้ด้วย หากคุณชื่นชอบการแสดงหรือการพูดคุยของเธอก็ควรให้ทิปค่ะ แต่ควรให้กับสำนักหรือผู้ดูแลนะคะ เพราะการให้ทิปโดยตรงกับเกอิชาดูไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าไหร่

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ**

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #12: Futomaki

     Futomaki (太巻 : แปลตรงตัวว่าม้วนใหญ่หรือหนา) เป็นซูชิชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นม้วนทรงกระบอก ห่อด้วยสาหร่าย Futomaki มักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคำละประมาณ 5-6 เซนติเมตร โดยมีไส้ข้างในสองชนิด สามชนิด หรือมากกว่านั้นก็ได้ แต่เดิมในช่วงบ่ายของวันเทศกาล Setsubun (節分 : เทศกาลที่จัดขึ้นก่อนวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในญี่ปุ่น) ชาวญี่ปุ่นในภุมิภาคคันไซ จะมีประเพณีการรับประทาน Futomaki ทั้งชิ้นแบบไม่หั่น เรียกประเพณีนี้ว่า Ehou-maki (恵方巻) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Futomaki นั้นเป็นอาหารมังสวิรัติ สอดไส้ด้วยแตงกวา น้ำเต้าแห้ง(かんぴょう : Kanpyou) หน่อไม้ หรือรากบัว และอาจสอดไส้ไข่หวานย่าง หรือเนื้อปลาด้วย

Futomaki

ตำรับ Futomaki
สำหรับ 2 ที่

วัตถุดิบ
     1. Kanpyou (น้ำเต้าแห้ง)
     2. เกลือ
     3. น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
     4. ซีอิ๊ว 2 ช้อนโต๊ะ
     5. แตงกวา
     6. ไข่หวานย่าง
     7. กุ้งต้ม
     8. สาหร่าย
     9. ข้าวญี่ปุ่นสำหรับทำซูชิ
     10. ซีอิ๊ว

วิธีทำ
     1. ทำความสะอาดน้ำเต้าแห้ง ขัดเบาๆ ด้วยเกลือ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกรอบ จากนั้นนำไปต้มในน้ำเป็นเวลา 5 นาที เสร็จแล้วให้เทน้ำทิ้ง เหลือแต่น้ำเต้า แล้วเทน้ำใหม่ใส่ลงไปให้พอท่วม ต้มกับน้ำตาลและซีอิ๊ว(ในข้อ 4) เคี่ยวจนน้ำระเหยเกือบหมด จากนั้นพักไว้
     2. หั่นแตงกวาและไข่หวานย่างเป็นเส้นๆ หนาครึ่งนิ้ว ยาวประมาณ 8 นิ้ว (วัตถุดิบไม่ต้องยาวเป็นเส้นเดียวตลอด แต่นำมาต่อกันหลายๆ ชิ้นให้ยาวแทนก็ได้)
     3. วางแผ่นไม่สำหรับม้วนซูชิลงบนพื้นเรียบ (วางในแนวนอน ให้สามารถม้วนซูชิออกจากตัวได้) วางสาหร่ายให้ขอบชิดกับแผ่นไม้ด้านใกล้ตัว แล้วเกลี่ยข้าวลงบนสาหร่ายให้เกือบทั่ว โดยต้องเว้นระยะห่างส่วนไกลตัว ให้เหลือที่ว่างประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นวางไข่หวานย่าง แตงกวา กุ้งต้มสุก และน้ำเต้าแห้งที่ต้มแล้วลงไป แล้วม้วน Futomaki ออกจากตัว ค่อยๆ ทำให้แน่น เสร็จแล้วนำออกจากแผ่นไม้
     4. หั่นม้วน Futomaki ที่ได้เป็นชิ้นกว้างประมาณครึ่งนิ้ว เสิร์ฟคู่กับซีอิ๊ว(ในข้อ 10) ขิงดอง หรืออื่นๆ ตามใจชอบ

     หมายเหตุ: ปริมาณวัตถุดิบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล สามารถปรับสูตรให้เยอะหรือน้อยลงได้ตามอิสระ

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Japanesecooking101

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #12: Edo Komon

     กิโมโน Edo Komon (江戸小紋着物)

     Komon (小紋) หมายถึง "ลายเล็กๆ" คำนี้ใช้เป็นชื่อเรียกกิโมโนประเภทที่มีลายเดิมซ้ำๆ ทั่วทั้งตัว โดย Edo Komon นี้เป็นชื่อเรียกกิโมโนที่มีความเฉพาะเจาะจงลงมาว่าต้องเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในแถบโตเกียวสมัยโบราณ ซึ่งก็คือ Edo (江戸) นั่นเอง ซึ่งลายของกิโมโนประเภทนี้จะสร้างมาจากจุดเล็กๆ หลายจุดรวมกัน

     ในสมัยโบราณ กิโมโน Edo Komon มีรูปแบบทั่วไปคือเป็นจุดสีขาวบนผ้ากิโมโนสีโทนน้ำเงิน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ากรรมวิธีในการย้อมสีกิโมโน จะใช้ผ้าไหมดิบมารองทับผ้าจริงก่อนทาสีย้อมลงไป ส่วนที่ถูกบริเวณจุดในผิวของผ้าไหมดิบทับไว้ก็จะไม่ถูกย้อม และคงสีขาวไว้ แม้ปัจจุบันกิโมโนประเภทนี้จะมีสีพื้นที่หลากหลายขึ้น แต่สีจุดก็ยังคงเป็นสีขาวเรื่อยมา

กิโมโน Edo Komon มีลายเป็นจุดเล็กๆ ประกอบกัน

     ด้วยเหตุที่ลายจุดบนกิโมโน Edo Komon นั้นค่อนข้างเล็ก จึงทำให้สามารถเห็นเป็นสีพื้นได้ในระยะไกล สิ่งนี้ช่วยยกระดับให้กิโมโนประเภทนี้มีความเป็นทางการใกล้เคียงกับกิโมโนสีพื้น (Iromuji Kimono : 色無地着物) ใช้สวมใส่ได้ในงานเลี้ยงทั่วไป งานรับประทานอาหารค่ำ พิธีสำเร็จการศึกษา(สำหรับแขกที่เข้าร่วมเท่านั้น ตัวผู้สำเร็จการศึกษาเองถือว่าไม่เหมาะที่จะสวมกิโมโนประเภทนี้ไปร่วมงาน) และโอกาสทั่วไปในสังคม กิโมโน Edo Komon ใช้สวมใส่ได้หลากหลายโอกาสเช่นเดียวกับกิโมโนสีพื้น และจะมีความเป็นทางการมากขึ้นหากเพิ่มสัญลักษณ์ประจำตระกูลลงไป

การผูกเงื่อนโอบิ แบบ Taiko

     กิโมโน Edo Komon มักสวมคู่กับโอบิที่ผูกเงื่อน Taiko (Otaiko musubi : お太鼓結び) โดยเงื่อนนี้สามารถเป็นได้ทั้งแบบลำลอง และแบบทางการ ขึ้นอยู่กับลายและชนิดของผ้า หรือจะเพิ่มความไม่เป็นทางการสำหรับงานที่ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น ด้วยการเปลี่ยนมาผูกโอบิในเงื่อน Tsunodashi (Tsunodashi musubi : 角出し結び) หรือเงื่อน Ginza (Ginza musubi : 銀座結び) ก็ได้ สำหรับด้านชนิดของโอบินั้น โอบิ Nagoya (Nagoya obi : 名古屋帯) และโอบิ Hanhaba (Hanhaba obi : 半幅帯) ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับกิโมโน Edo Komon

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขบคุณข้อมูลดีๆ จาก Maihanami - blog