วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฏนารี #10: Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(3)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 3

     Q: คุณฝึกฝนทักษะต่างๆ เพื่อเป็นเกอิชาในเวลานานเท่าไหร่คะ แล้วการฝึกมีขั้นตอนอะไรบ้าง
     A: ช่วงที่ฉันยังเป็นเด็กฝึก ก็ได้ Okaasan (お母さん ; ผู้ดูแลโอกิยะ) และคุณครูทุกท่านช่วยสนับสนุนนี่แหละค่ะ ในโอกิยะ (置屋 : สำนักเกอิชา) ของเราก็จะมีทั้งรุ่นพี่ที่เป็นเกอิชาเต็มตัวและเด็กฝึก พี่สาวของฉัน Nanoha-san เธอเริ่มทำงานสายนี้ด้วยการเป็น Hangyoku (半玉 : เกอิชาฝึกหัด) เพราะตอนนั้นเธอเพิ่งอายุได้ 20 ปีเอง

     Q: ชื่อในวงการเกอิชาของคุณหมายความว่าอะไร และใครเป็นคนตั้งให้คะ
     A: ชื่อในวงการของฉัน "Kimicho ()" มาจากอักษรสองตัวค่ะ "Kimi ()" เป็นอีกคำที่ใช้สำหรับเรียก "คุณ" หรือคนที่เป็นที่รัก ส่วน "Cho ()" มาจากคำว่า Chocho ที่แปลว่า "ผีเสื้อ" รวมแล้วก็แปลได้ว่า "ผีเสื้อของคุณ" ค่ะ เด็กฝึกอีกสองคนที่เริ่มการฝึกพร้อมฉันก็ได้รับชื่อที่มีอักษร "Kimi (君)" เหมือนกันค่ะ พวกเธอได้ชื่อว่า "Kimichiyo" และ "Kimiho" ค่ะ คำว่า Chiyo ค่อนข้างจะแปลยากหน่อย แต่ก็ประมาณว่ามีอายุยืนยาว ในกรณีนี้ Okaasan เลือกชื่อนี้ให้เธอ เพราะเธอเป็นคนที่ฉลาดรอบรู้ทีเดียวค่ะ ส่วนคำว่า "Ho" มาจากอักษร "Takara ()" ที่แปลว่าขุมสมบัติ และที่สำคัญ ในโอกิยะของเรา Okaasan จะเลือกชื่อให้กับเราตามบุคลิกของแต่ละคนด้วยค่ะ

     Q: คุณแต่งชุดกิโมโนด้วยตัวเองหรือเปล่าคะ
     A: ในชีวิตประจำวันฉันแต่งเองค่ะ ส่วนสำหรับงานเลี้ยง เราไม่ได้มีช่างแต่งกิโมโนมาแต่งให้เหมือนในเกียวโต ดังนั้น Okaasan จึงมักทำหน้าที่นี้ค่ะ บางครั้งเราก็ช่วยแต่งให้กันและกันด้วย เพราะเราใช้ตู้เสื้อผ้าตู้เดียวกัน และมักจะเลือกเสื้อผ้าด้วยกันค่ะ

     Q: ลายหรือรูปแบบกิโมโนแบบไหนที่คุณชอบมากที่สุดคะ
     A: ฉันชอบหลายลายมากเลยค่ะ มันเลือกยากจริงๆ อาจเป็น Kingyo (金魚 : ปลาทอง) สำหรับฤดูร้อน, Rangiku (乱菊 : ดอกเบญจมาศ), Tsuru (鶴 : นกกระเรียน), Sensu (扇 : พัด) และ Tsudzumi (鼓 : กลอง) ค่ะ 

     Q: คุณเคยพบเกโกะ (芸子 : เกอิชาในสำเนียงคันไซ) หรือไมโกะ (舞妓 : เกโกะฝึกหัด) จากเกียวโตไหมคะ และคุณเคยลองพยายามเป็นเกอิชาในจังหวัดอื่นนอกจากโตเกียวไหมคะ
     A: ฉันยังไม่เคยพบเกโกะหรือไมโกะจากเกียวโตเลยค่ะ จะทำให้ความฝันนี้เป็นจริงได้อย่างไรนะ ฉันหวังว่าในอนาคต หากฉันมีทักษะภาษาญี่ปุ่นมากพอแล้ว ฉันก็อยากจะคว้าโอกาสที่สำคัญนี้ไว้เช่นกันค่ะ ตอนแรก นอกจากโตเกียวแล้ว ฉันก็ได้ติดต่อกับโอกิยะใน Niigata (新潟) และ Shizuoka (静岡) เหมือนกันค่ะแต่ส่วนใหญ่แล้วจริงๆ ก็เป็นโอกิยะในโตเกียวนี่แหละค่ะ

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ**

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น