วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #11: Harusame (Kamishichiken)

เพลง : Harusame (春雨)
แบบฉบับ : Kamishichiken

By: kenbjnoyakata on Youtube
ไมโกะ Ichikoma และไมโกะ Ichitaka จากโอกิยะ Ichi

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Ichitaka จากโอกิยะ Ichi
และไมโกะ Katsuna จากโอกิยะ Daimonji

By: IKEKITA Minoru on Youtube
ไมโกะ Katsune จากโอกิยะ Daimonji
และไมโกะ Ichimari จากโอกิยะ Ichi

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Ichitaka จากโอกิยะ Ichi
และไมโกะ Katsune จากโอกิยะ Daimonji

Fumiou, Tai Sakura Okiya

เกอิชา นาฏนารี #11: Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(4)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 4

     Q: ช่วยเล่าเรื่องโครงสร้างทางสังคมของ Hanamachi (花街 : เขตเกอิชา แปลตรงตัวได้ว่า "เมืองดอกไม้") ใน Shinagawa หน่อยได้ไหมคะ
     A: สำหรับเขต Shinagawa หรือถ้าจะเรียกให้เจาะจงกว่านั้นก็คือ Oimachi ตอนนี้มีโอกิยะ (置屋 : สำนักเกอิชา) ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ Yoshinoya(โอกิยะของฉันเอง), Matsunoya และ Namiki ค่ะ โดยแต่ละโอกิยะก็จะมีทั้งคุณแม่ (Okaasan[お母さん] : ผู้ควบคุมดูแลโอกิยะ) เกอิชาอาวุโส เกอิชารุ่นน้อง Hangyoku (半玉 : เกอิชาฝึกหัด) และ Minarai (見習い : เด็กฝึกขั้นรองลงมา) ที่นี่เป็นเขตเกอิชาแหล่งเล็กๆ ที่ไม่มีสำนักงานเกอิชาส่วนกลางเหมือนเขตอื่นๆ ทำให้แต่ละโอกิยะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาก และพวกเราก็ทำงานร่วมกันบ่อยๆ ด้วยค่ะ แม่ของ Eitarou-san (เกอิชาชายคนเดียวของญี่ปุ่น) เคยอยู่ในโอกิยะ Yoshinaya ก่อน แล้วจึงย้ายไปสร้างโอกิยะใหม่เป็นของตนเอง ซึ่งก็คือโอกิยะ Matsunoya นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ Eitarou-san กับคุณแม่ของโอกิยะของฉันจึงสนิทกันมากๆ เลยล่ะค่ะ

     Q: จนถึงตอนนี้แล้วคุณมีไอดอลเกอิชา ที่คุณอยากจะเจริญรอยตามบ้างไหมคะ
     A: คำถามนี้ยากจังเลยนะคะ จริงๆ ฉันก็นับถือ Eitarou-san มากเลยค่ะ ทุกสิ่งที่เขาทำมาตลอดชีวิต และการประสบความสำเร็จทางด้านศิลปะล้วนแต่น่าเหลือเชื่อค่ะ ก็แอบหวังนะคะ ว่าฉันจะประสบความสำเร็จแบบนั้นได้บ้าง อีกบุคคลหนึ่งที่ฉันเคารพก็คือคุณแม่ของโอกิยะของฉันนี่แหละค่ะ ท่านทำหลายอย่างมาตลอดการประกอบอาชีพเกอิชาของท่าน ด้วยความที่ฉันยังเป็นเด็กใหม่อยู่ก็อยากจะมองหาหญิงผู้มากประสบการณ์คอยช่วยชี้แนะและเป็นแบบอย่างให้ตัวเองค่ะ

     Q: จากวันเวลาที่ผ่านไป ภาพรวมของสังคมเกอิชาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างคะ
     A: ตอนแรกเลยฉันตกใจมากค่ะ ที่ได้รู้ว่าแม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็มีจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจเกอิชาแบบผิดๆ อย่างที่คนอเมริกันก็เป็น หลายที่เลยที่สังคมเกอิชาตกต่ำมากๆ หรือไม่พวกเขาก็ไม่เข้าใจว่าหน้าที่ของเกอิชาจริงๆ แล้วคืออะไร ในโตเกียว หรืออาจรวมถึงแหล่งเกอิชาอื่นๆ บางแห่ง ก็ยังมีชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มที่ไมรู้ตัวว่ามีแหล่งเกอิชาอยู่ใกล้ๆ น่ะค่ะ ฉันเคยได้รับคำถามว่าอาชีพเกอิชาที่ฉันทำอยู่นี้คืออะไร และฉันต้องเรียนอะไรบ้าง ซึ่งคนถามนี่ก็มีทั้งคนญี่ปุ่นและชาวต่างชาติพอๆ กันเลยค่ะ สิ่งเหล่านี้ทำให้ฉันและรุ่นพี่เกอิชาของฉันต้องพยายามอย่างมากเพื่อปรับเปลี่ยนความเข้าใจผิดให้กลับมาถูกต้องค่ะ

     Q: ครอบครัวคุณมีความคิดเห็นต่ออาชีพเกอิชาของคุณอย่างไรคะ
     A: ฉันเป็นคนที่มีความคิดความสนใจแตกต่างจากคนอื่นๆ ในครอบครัวเสมอมาเลยค่ะ ก็เลยคิดว่าครอบครัวคงไม่แปลกใจเท่าไหร่หรอกค่ะ ที่เห็นฉันเป็นคนที่แตกต่างจากบรรทัดฐานที่ควรจะเป็น และเลือกที่จะเดินบนเส้นทางสายนี้ ตอนนั้นฉันไม่ค่อยได้บอกใครเกี่ยวกับความฝันของฉันนัก สิ่งนี้อาจจะทำให้เรื่องความฝันสู่การเป็นเกอิชานี้กลายเป็นเรื่องน่าแปลกใจก็ได้นะคะ ครอบครัวฉันมีความสงสัยกันอย่างมากว่า "อาชีพเกอิชาคืออะไร" ฉันก็หวังว่าเร็วๆ นี้ พวกเขาคงได้มาญี่ปุ่นและเห็นว่าอาชีพที่ฉันทำอยู่นี้คืออะไร ย่าของฉัน ท่านเคยอ่านหนังสือของ Mineko Iwasaki ที่เขียนเกี่ยวกับช่วงชีวิตการเป็นเกอิชาของเธอ ต่อมา ท่านก็เลยมีความประหลาดใจและสนใจกับอาชีพของฉัน ซึ่งนี่ทำให้ฉันประทับใจในความใส่ใจของท่านมากเลยค่ะ

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ
   ติดตาม Eitarou-san เกอิชาชายคนเดียวของญี่ปุ่นได้ที่ Facebook และ ameblo ของเขา**

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #11: Edamame

     Edamame (枝豆) ทั้งฝักสามารถนำไปประกอบอาหารโดยการต้ม อบ หรือเข้าไมโครเวฟ ส่วนของก้านมักถูกตัดออกก่อน จากนั้นนิยมนำไปคลุกกับเกลือหรือกระเทียมเพื่อเพิ่มรสชาติ หรือนำไปทำให้สุกก่อนค่อยโรยทีหลังก็ได้ เมนูนี้เป็นที่นิยมมากในร้านอาหารสไตล์นั่งดื่ม (居酒屋 : Izakaya) เสิร์ฟพร้อมกับวัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาล

Edamame

ตำรับ Edamame
สำหรับ 2 ที่

วัตถุดิบ
     1. ฝักถั่ว Edamame 150 กรัม
     2. เกลือ

วิธีทำ
     1. ดึงก้านออกจากฝักถั่วให้หมด จากนั้นนำถั่วใส่กระชอน เทเกลือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะพูนลงไปผสมกับถั่ว แล้วใช้มือคลุกให้เกลือขัดขนออกจากฝักถั่วด้านนอก 
     2. ล้างถั่วในกระชอนด้วยน้ำสะอาดที่ไหลอยู่ตลอดเวลาจนเกลือออกหมด เทเกลือ 1 ช้อนชาลงไปผสมกับถั่วอีก แล้วเขย่าคลุกให้เข้ากัน
     3. เทฝักถั่วทั้งหมดลงในกระทะ เกลี่ยอย่าให้ฝักถั่วซ้อนกัน จากนั้นปิดฝากระทะแล้วเปิดไฟความร้อนต่ำ ทิ้งไว้ 3 นาที
     4. เมื่อเริ่มมีไอน้ำระเหยออกมาให้เปิดฝากระทะ พรมน้ำสะอาดลงไปเล็กน้อย กลับถั่วทั้งหมด จากนั้นปิดฝาทิ้งไว้อีก 3 นาที ทำข้อ 4 นี้ซ้ำ 3-4 ครั้งจนถั่วอ่อน การทำเช่นนี้จะช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนาการและกลิ่นหอมของถั่วให้คงอยู่
     5. เสร็จแล้วตักใส่จานเป็นอันเสร็จ

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia
และ Cooking with Dog on Youtube

กิโมโนศาสตร์ #11: Uchikake

     กิโมโน Uchikake (打掛着物)

     กิโมโน Uchikake เป็นกิโมโนทางการชั้นสูงที่สวมโดยเจ้าสาวหรือนักแสดงศิลปะแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมเท่านั้น ปกติแล้วกิโมโนประเภทนี้จะเต็มไปด้วยลวดลายปักจำนวนมาก โดยวิธีสวมที่ถูกต้องคือต้องสวมทับกิโมโนและผ้าคาดเอว ( : Obi) ปกติ โดยไม่ต้องมีผ้าคาดเอวอีกชั้น และปล่อยให้ชายกิโมโน Uchikake ยาวลากพื้น กิโมโนประเภทนี้จึงมีชายส่วนล่างที่ค่อนข้างหนา ซึ่งกิโมโน Uchikake สำหรับเจ้าสาวอาจมีสีขาวไปจนถึงสีแดงสดเป็นสีพื้นเลยก็ได้

กิโมโน Uchikake สำหรับ Oiran (花魁 : หญิงคณิกาสมัยญี่ปุ่นโบราณ)
ใช้ประกอบการร่ายรำแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม
จะสังเกตเห็นว่่า ชายกิโมโนสีส้มส่วนล่างเป็นชั้นที่หนามาก

กิโมโน Uchikake จะสวมทับกิโมโนและผ้าคาดเอวปกติ
โดยไม่ต้องมีผ้าคาดเอวอีกชั้น

กิโมโน Uchikake สำหรับเจ้าสาว

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #10: Matsu Dukushi

เพลง : Matsu Dukushi (松づくし)
แบบฉบับ : Gion Higashi

By: kaiu tadokoro on Youtube
ไมโกะ Ryouka จากโอกิยะ Sakaemasa

By: ChristiMorelei on Youtube
ไมโกะ Ryouka จากโอกิยะ Sakaemasa
และเกโกะ Hinagiku จากโอกิยะ Okatome

By: kunihiko takenaka on Youtube
ไมโกะ Komako และไมโกะ Fukuharu จากโอกิยะ Okatome
ไมโกะ Ryouka จากโอกิยะ Sakaemasa
ไมโกะ Tomitae และไมโกะ Tomitsuyu จากโอกิยะ Tomikiku

แบบฉบับ : Gion Kobu

By: kunihiko takenaka on Youtube
ไมโกะ Katsuhina จากโอกิยะ Odamoto
ไมโกะ Ayako จากโอกิยะ Nishimura
และไมโกะ Katsunosuke จากโอกิยะ Odamoto

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Shouko และไมโกะ Mikako จากโอกิยะ Nishimura
และไมโกะ Katsusen จากโอกิยะ Odamoto

Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฏนารี #10: Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(3)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 3

     Q: คุณฝึกฝนทักษะต่างๆ เพื่อเป็นเกอิชาในเวลานานเท่าไหร่คะ แล้วการฝึกมีขั้นตอนอะไรบ้าง
     A: ช่วงที่ฉันยังเป็นเด็กฝึก ก็ได้ Okaasan (お母さん ; ผู้ดูแลโอกิยะ) และคุณครูทุกท่านช่วยสนับสนุนนี่แหละค่ะ ในโอกิยะ (置屋 : สำนักเกอิชา) ของเราก็จะมีทั้งรุ่นพี่ที่เป็นเกอิชาเต็มตัวและเด็กฝึก พี่สาวของฉัน Nanoha-san เธอเริ่มทำงานสายนี้ด้วยการเป็น Hangyoku (半玉 : เกอิชาฝึกหัด) เพราะตอนนั้นเธอเพิ่งอายุได้ 20 ปีเอง

     Q: ชื่อในวงการเกอิชาของคุณหมายความว่าอะไร และใครเป็นคนตั้งให้คะ
     A: ชื่อในวงการของฉัน "Kimicho ()" มาจากอักษรสองตัวค่ะ "Kimi ()" เป็นอีกคำที่ใช้สำหรับเรียก "คุณ" หรือคนที่เป็นที่รัก ส่วน "Cho ()" มาจากคำว่า Chocho ที่แปลว่า "ผีเสื้อ" รวมแล้วก็แปลได้ว่า "ผีเสื้อของคุณ" ค่ะ เด็กฝึกอีกสองคนที่เริ่มการฝึกพร้อมฉันก็ได้รับชื่อที่มีอักษร "Kimi (君)" เหมือนกันค่ะ พวกเธอได้ชื่อว่า "Kimichiyo" และ "Kimiho" ค่ะ คำว่า Chiyo ค่อนข้างจะแปลยากหน่อย แต่ก็ประมาณว่ามีอายุยืนยาว ในกรณีนี้ Okaasan เลือกชื่อนี้ให้เธอ เพราะเธอเป็นคนที่ฉลาดรอบรู้ทีเดียวค่ะ ส่วนคำว่า "Ho" มาจากอักษร "Takara ()" ที่แปลว่าขุมสมบัติ และที่สำคัญ ในโอกิยะของเรา Okaasan จะเลือกชื่อให้กับเราตามบุคลิกของแต่ละคนด้วยค่ะ

     Q: คุณแต่งชุดกิโมโนด้วยตัวเองหรือเปล่าคะ
     A: ในชีวิตประจำวันฉันแต่งเองค่ะ ส่วนสำหรับงานเลี้ยง เราไม่ได้มีช่างแต่งกิโมโนมาแต่งให้เหมือนในเกียวโต ดังนั้น Okaasan จึงมักทำหน้าที่นี้ค่ะ บางครั้งเราก็ช่วยแต่งให้กันและกันด้วย เพราะเราใช้ตู้เสื้อผ้าตู้เดียวกัน และมักจะเลือกเสื้อผ้าด้วยกันค่ะ

     Q: ลายหรือรูปแบบกิโมโนแบบไหนที่คุณชอบมากที่สุดคะ
     A: ฉันชอบหลายลายมากเลยค่ะ มันเลือกยากจริงๆ อาจเป็น Kingyo (金魚 : ปลาทอง) สำหรับฤดูร้อน, Rangiku (乱菊 : ดอกเบญจมาศ), Tsuru (鶴 : นกกระเรียน), Sensu (扇 : พัด) และ Tsudzumi (鼓 : กลอง) ค่ะ 

     Q: คุณเคยพบเกโกะ (芸子 : เกอิชาในสำเนียงคันไซ) หรือไมโกะ (舞妓 : เกโกะฝึกหัด) จากเกียวโตไหมคะ และคุณเคยลองพยายามเป็นเกอิชาในจังหวัดอื่นนอกจากโตเกียวไหมคะ
     A: ฉันยังไม่เคยพบเกโกะหรือไมโกะจากเกียวโตเลยค่ะ จะทำให้ความฝันนี้เป็นจริงได้อย่างไรนะ ฉันหวังว่าในอนาคต หากฉันมีทักษะภาษาญี่ปุ่นมากพอแล้ว ฉันก็อยากจะคว้าโอกาสที่สำคัญนี้ไว้เช่นกันค่ะ ตอนแรก นอกจากโตเกียวแล้ว ฉันก็ได้ติดต่อกับโอกิยะใน Niigata (新潟) และ Shizuoka (静岡) เหมือนกันค่ะแต่ส่วนใหญ่แล้วจริงๆ ก็เป็นโอกิยะในโตเกียวนี่แหละค่ะ

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ**

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #10: Ebi Furai

     Ebi Furai (海老フライ) เป็นเมนูกุ้งทอดในน้ำมันที่ขึ้นชื่อของเมือง Nagoya ซึ่งนิยมนำไปใส่เป็นอาหารหลักในข้าวกล่องแบบญี่ปุ่น หรือ Bento (弁当) นั่นเอง โดยแต่เดิมแล้วจะใช้กุ้ง Kuruma แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงที่น้อยลง จึงมีร้านอาหารจำนวนไม่น้อย เปลี่ยนมาใช้กุ้งกุลาดำและกุ้งมังกรญี่ปุ่นแทน

Ebi Furai

ตำรับ Ebi Furai
สำหรับ 2 ที่

วัตถุดิบ
วัตถุดิบหลัก
     1. กุ้งกุลาดำแช่แข็ง 6 ตัว
     2. เกลือหนึ่งหยิบมือ
     3. แป้งมันสำปะหลัง 1 ช้อนโต๊ะ

วัตถุดิบสำหรับชุบกุ้ง
     1. ไข่ 1 ฟอง
     2. น้ำสะอาด  ช้อนโต๊ะ
     3. แป้งมันสำปะหลัง 2 ช้อนโต๊ะ
     4. เกล็ดขนมปัง 80 กรัม

สำหรับซอส Tartar
     1. ไข่ต้ม 1 ฟอง
     2. หัวหอมใหญ่หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
     3. พาสลีย์หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
     4. แตงกวาดอง 1 ผลเล็ก
     5. มายองเนส 2 ช้อนโต๊ะ
     6. เกลือ  ช้อนชา
     7. น้ำมะนาว 2 ช้อนชา

เครื่องเคียง
     1. กะหล่ำปลี
     2. มะนาวซีก
     3. พาสลีย์
     4. มะเขือเทศผลเล็ก

วิธีทำ
ส่วนที่ 1 ซอส Tartar
     1. หั่นไข่ต้มหนึ่งด้วยเครื่องหั่นไข่ 3 ครั้ง (แนวกว้าง ยาว สูงของไข่ ให้ละเอียดเป็นลูกเต๋า) แล้ววางไข่ที่หั่นแล้วลงในชาม
     2. นำหัวหอมหั่นฝอยใส่ลงในชามอีกใบ ผสมด้วยเกลือ ⅙ ช้อนชา แล้วเทน้ำเย็นใส่ในชามเพื่อล้างหัวหอม จากนั้นนำไปกรองน้ำออก ให้เหลือแต่หัวหอมหั่น
     3. เทหัวหอมที่ล้างแล้ว พาสลีย์หั่นฝอย แตงกวาดองสับ มายองเนส เกลือ และน้ำมะนาวใส่รวมกับไข่ต้ม แล้วคนให้เข้ากัน

ส่วนที่ 2 เครื่องเคียง
     4. หั่นกะหล่ำปลีเป็นเส้นเล็ก นำไปแช่ในน้ำเย็น แล้วแช่ไว้ 2-3 นาที เสร็จแล้วนำกะห่ำปลีขึ้นแล้วทิ้งให้สะเด็ดน้ำ
     5. จัดจานด้วยการวางกะหล่ำปลีฝอย พาสลีย์ มะเขือเทศลูกเล็ก และชิ้นมะนาวลงไป
     6. ตักซอส Tartar ลงในถ้วยน้ำจิ้ม แล้ววางลงไปในจานที่จัดตกแต่งไว้แล้ว

ส่วนที่ 3 ชุบกุ้ง
     7. แกะเปลือกกุ้งออก ใช้ไม้จิ้มฟันแทงลงตรงหลังกุ้ง แล้วงัดเส้นเลือดที่คล้ายกระดูกสันหลังออกมา
     8. วางกุ้งที่แกะแล้วลงในชามใบใหญ่ เทเกลือ แป้งมันสำปะหลัง และน้ำสะอาดลงไปผสมกับกุ้ง คลุกให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำใส่แล้วเทน้ำออกให้เหลือแต่กุ้ง วิธีนี้จะช่วยลดกลิ่นคาวของกุ้งได้
     9. วางกุ้งลงบนกระดาษเช็ดมือ ซับน้ำออกให้หมด แล้วเทกุ้งใส่ในชามตามเดิม
     10. ตัดหางกุ้งเล็กน้อย (ไม่ต้องตัดทั้งหมด) หั่นเฉียงเบาๆ ลงบนท้องกุ้งแบบไม่ต้องขาด จากนั้นให้จับกุ้งขึ้นมา กดลงลงตรงหลังกุ้งเพื่อหักส่วนที่แข็ง การทำเช่นนี้จะทำให้กุ้งไม่งอตัวเมื่อได้รับความร้อน
     11. วางกุ้งลงเรียงกันในชาม โรยด้วยเกลือเล็กน้อยให้ทั่ว 
     12. ในชามอีกใบ ตีไข่ผสมน้ำเล็กน้อยให้เข้ากัน จะได้ไข่สำหรับเคลือบกุ้งเวลาทอด
     13. นำกุ้งชุบลงในแป้งในส่วนวัตถุดิบสำหรับชุบกุ้ง ตามด้วยชุบไข่ เกล็ดขนมปัง ไข่ และเกล็ดขนมปังอีกครั้ง

ส่วนที่ 4 ทอดกุ้ง
     14. เทน้ำมันลงในกระทะทรงสูง กะให้ท่วมกุ้งเวลาทอด รอให้น้ำมันร้อนประมาณ 175 องศาเซลเซียส
     15. จับหางกุ้ง แล้วนำลงทอด (หากมีแป้งหรือเกล็ดขนมปังติดหางกุ้ง ให้นำออก) พลิกกุ้งและคอยดูให้สุกเหลืองทั่วกัน
     16. นำกุ้งที่สุกแล้วลงจากกระทะ วางบนกระดาษเช็ดมือเพื่อซับน้ำมันส่วนเกินออก จากนั้นวางกุ้งลงในจานที่จัดไว้เป็นอันเสร็จ

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia
และ Cooking with Dog on Youtube

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #10: Mofuku

     กิโมโน Mofuku (喪服着物)

     คำว่า Mofuku มีความหมายรวมถึงกิโมโนและอุปกรณ์ที่สวมคู่กันที่เป็นสีดำทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสวมใส่ในการไว้ทุกข์ได้หลากหลายระดับ โดยกิโมโน Mofuku มีลักษณะทั่วไป ดังนี้

     - สิ่งสวมใส่ที่อยู่ในขอบเขตของ Mofuku ต้องมีสีดำทั้งชิ้น หรือเป็นลายสีดำบนผ้าสีดำ (สำหรับโอบิหรืออื่นๆ) เท่านั้น
     - กิโมโน Mofuku จะมีสีดำทั้งหมด และต้องย้อมตราประจำตระกูลลงบนตัวกิโมโนทั้งหมด 5 จุด
     - กิโมโน Mofuku ผลิตขึ้นได้จากหลากวัสดุ รวมไปถึงผ้าไหม Rinzu และผ้าทอด้วย
     - กิโมโน Awase Mofuku (袷喪服 : กิโมโนประเภทที่มีซับใน) จะมีซับในเป็นสีขาว แต่กิโมโนรุ่นเก่าๆ ก็อาจมีซับในเป็นสีแดงได้
     - โอบิ (帯 : ผ้าคาดเอว) Mofuku อาจมีลายได้ แต่ต้องเป็นลายสีดำ
          ++ โอบิที่ใช้มักเป็นโอบิ Nagoya (名古屋帯) สามารถใช้โอบิ Fukuro (袋帯) แทนได้ แต่ไม่เป็นที่นิยม
          ++ โอบิ Hanhaba (半幅帯) สีดำ ไม่ถือเป็น Mofuku
     - เสื้อคลุม Haori (羽織) ที่เหมาะสมกับกิโมโน Mofuku ต้องมีสีดำทั้งตัว ไม่มีลาย และย้อมตราประจำตระกูล 1, 3 หรือ 5 จุด แม้เสื้อคลุมเหล่านี้จะไม่ถือเป็น Mofuku แต่ก็สามารถใช้ร่วมในโอกาสที่เป็นทางการได้
     - Obiage (帯揚げ : ผ้าคาดเหนือโอบิ) ก็มีลายได้เช่นกัน
          ++ Obiage แบบ Shibori สีดำ ไม่ถือเป็น Mofuku
          ++ สามารถใช้ Obiage สีขาวล้วนได้
     - Obijime (帯締め : สายรัดโอบิ) ต้องเป็นแบบแบน และมีสีดำทั้งเส้นเท่านั้น (สามารถใช้ Obijime สีขาวล้วนแทนได้)
     - รองเท้าที่เหมาะสมคือรองเท้า Zouri (草履) แต่รองเท้า Geta (下駄) สีดำไม่ถือเป็น Mofuku

กิโมโน Mofuku

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Immortalgeisha

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น#9: Ume no Kazukazu (Kamishichiken)

เพลง : Ume no Kazukazu (梅の数々)
แบบฉบับ : Kamishichiken

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Naoai จากโอกิยะ Nakasato
ไมโกะ Katsuna จากโอกิยะ Daimonji
และไมโกะ Naokinu จากโอกิยะ Nakasato

By: Ronin Dave on Youtube
ไมโกะ Ichitomo และไมโกะ Ichimari จากโอกิยะ Ichi

By: kyototabiya on Youtube
ไมโกะ Ichiaya และไมโกะ Ichikoma จากโอกิยะ Ichi

By: masahiromakino on Youtube
ไมโกะ Satohina จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Ichimomo จากโอกิยะ Ichi

By: 4K KAWATE on Youtube
ไมโกะ Naoai จากโอกิยะ Nakasato
และไมโกะ Ichikoma จากโอกิยะ Ichi
(เพลงแรก)

Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฏนารี #9: Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(2)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 2

     Q: ตอนนี้คุณอาศัยอยู่ที่ไหน และติดต่อกับโอกิยะ (
置屋 : สำนักเกอิชา) ของคุณอย่างไรคะ
     A:  ฉันอาศัยอยู่ที่อพาร์ทเม้นในโตเกียวของฉันเองค่ะ และก็โชคดีมากๆ ที่มันอยู่ใกล้อาคารสำหรับฝึกซ้อม และ Ryotei (
料亭 : ร้านอาหารหรือภัตตาคารสไตล์ญี่ปุ่น) สถานที่ทำงานของเราด้วยค่ะ 

     Q: ก่อนหน้านี้ คุณสนใจในกิโมโนและวัฒนธรรมญี่ปุ่นขนาดนี้ไหมคะ
     A: ครั้งแรกที่ฉันตกหลุมรักในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตอนนั้นฉันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาค่ะ ฉันเจอหนังสือเกี่ยวกับ Kabuki (歌舞伎 : ละครญี่ปุ่นโบราณ) ในห้องสมุดโรงเรียน สิ่งที่ดึงดูดฉันไม่ใช่ Kabuki แต่เป็นรูปของ Maiko (舞妓 : เกอิชาฝึกหัด) ค่ะ ฉันเอาแต่จ้องมองรูปเหล่านั้นพร้อมคิดว่าพวกเธอต้องเป็นนางฟ้าหรือไม่ก็เจ้าหญิงแน่ๆ เลย ด้วยความเป็นเด็ก ฉันถูกชักจูงเข้าสู่เส้นทางนี้อย่างง่ายดาย ฉันเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นมากขึ้นมากขึ้น และซึมซับข้อมูลมากมายจากหนังสือและเว็บไซต์ที่อ่าน แต่ฉันก็ไม่มีโอกาสได้สวมกิโมโนหรือเรียนการร่ายรำจริงจังสักที จนกระทั่งเดินทางมาญี่ปุ่นนี่แหละค่ะ

     Q: คุณค้นพบตัวเองว่าอยากเป็นเกอิชาตอนไหนคะ
     A: เกอิชาเป็นความฝันของฉันเสมอมา แต่ก็ได้แต่ฝันว่าถ้าฉันได้เป็นเกอิชาจริงๆ จะมีความสุขถึงเพียงใดกันนะ เพราะตอนนั้น การเป็นคนต่างชาติ และจะเป็นเกอิชาที่ญี่ปุ่นได้นั้นดูเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ฉันจึงเก็บให้มันเป็นเพียงฝันลมๆ แล้งๆ ในใจ จนกระทั่งได้พบเกอิชาที่ Nagasaki ตอนนั้นฉันคิดเพียงว่าต้องให้โอกาสตัวเองได้คว้าฝันค่ะ

     Q: คุณเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นตอนไหนคะ แล้วคิดว่าส่วนไหนยากที่สุด
     A: ฉันเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ที่อเมริกามาประมาณปีนึงค่ะ บวกกับใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ที่ญี่ปุ่นอีกหนึ่งปีก็เป็นสองปี ต้องยอมรับเลยค่ะว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ยาก ฉันพยายามอย่างมากที่จะใช้ภาษาสุภาพในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ซึ่งก็โชคดีที่ชาวญี่ปุ่นเขาเข้าใจคนที่ไม่ได้พูดเป็นภาษาแม่ คนที่พยายามจะเรียนรู้ และพวกเขาก็พร้อมที่จะช่วยเหลือคุณเสมอเมื่อคุณพูดไม่ถูกต้องค่ะ

     Q: ภาพในความคิดที่คุณเคยนึงถึงเกี่ยวกับเกอิชาก่อนมาญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้างคะ
     A: ฉันตกใจมากเมื่อพบว่าเกอิชาที่โตเกียวไม่ได้ทาหน้าขาวเข้าร่วมงานเลี้ยงตลอดน่ะค่ะ เรื่องนี้กลายเป็นว่าลูกค้าสามารถเลือกได้ ขึ้นอยู่กับราคาที่ต้องการและรสนิยมของพวกเขา ซึ่งฉันเองก็คิดว่านี่เป็นวิธีที่ดีทีเดียว ที่จะเพิ่มการเข้าถึงเกอิชาและลูกค้าที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้นค่ะ

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ**

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #9: Dango

     Dango (団子) เป็นขนมหวานของญี่ปุ่นที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าที่เรียกว่า Mochiko (もち粉) เมนูนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกับโมจิ ซึ่งนิยมเสิร์ฟคู่กับชาเขียว แม้ว่า Dango จะเสิร์ฟได้ตลอดทั้งปี แต่รายละเอียดที่มากกว่านั้นคือ Dango มีหลายประเภทมาก และแต่ละประเภทนั้นนิยมทานกันในฤดูกาลของมันเท่านั้น

Hanami Dango ขนมสำหรับช่วงฤดูกาลชมดอกซากุระ

ตำรับ Dango
สำหรับ 6 ไม้

วัตถุดิบ
     1. แป้งข้าวเจ้า 160 กรัม
     2. แป้งข้าวเหนียว 40 กรัม
     3. น้ำตาล 60 กรัม
     4. น้ำร้อน 200 มิลลิลิตร
     5. ผงชาเขียวมัทฉะ 1 ช้อนชา
     6. สีผสมอาหารสีแดง

วิธีทำ
     1. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และน้ำตาลเข้าด้วยกัน โดยค่อยๆเติมน้ำร้อนลงไปทีละน้อย ผสมจนเหนียวและเข้ากันดี
     2. ปิดฝาถ้วยแป้งที่ผสมแล้วนำเข้าไมโครเวฟ 3 นาที เสร็จแล้วรอให้แป้งอุ่น จากนั้นใช้มือที่เปียกน้ำนวดแป้งให้เหนียวนุ่ม
     3. แบ่งแป้งที่นวดแล้วออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกใส่ผงชาเขียวเพื่อให้สีเขียว (ถ้าผงชาเขียวแข็งเกินไป ให้เติมน้ำแล้วคนให้ละลายดี ก่อนนำไปผสมกับแป้ง) ส่วนที่สองใส่สีผสมอาหารสีแดงเพื่อให้สีแดง ส่วนที่สามไม่ต้องใส่อะไรเพื่อให้คงไว้ซึ่งสีขาว
     4. นำมือจุ่มน้ำ ปั้นแป้งให้ได้สีละ 6 ก้อน เสียบไม้ละ 3 ก้อน (3 สี) แล้วเสิร์ฟเป็นของหวานได้เลย

เคล็ดลับ
     1. แป้งที่ทำให้สุกด้วยไมโครเวฟ หากนำออกมาแล้วมีลักษณะร่วน ให้เติมน้ำร้อนเล็กน้อย ค่อยๆ คนจนเนื้อแป้งเริ่มเข้ากันและกลับมานุ่มอีกครั้ง
     2. สามารถปรับเปลี่ยนกลิ่น สี หรือรส ของแป้งได้ตามต้องการ

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia และ Japancentre

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #9: Hikuzuri และ Susohiki

     กิโมโน Hikizuri (引きずり着物)

     กิโมโน Hikizuri หรือ Susohiki (裾引き着物) ปกติแล้วจะสวมใส่โดยนักแสดงศิลปะญี่ปุ่นแบบโบราณ และเกอิชา โดยกิโมโนประเภทนี้มีความยาวมากกว่ากิโมโนปกติมาก เพราะต้องการให้ส่วนล่างของตัวกิโมโนยาวลากพื้นเมื่อสวมใส่ทำการแสดง ซึ่งคำว่า Susohiki แปลตรงตัวได้ว่า "กระโปรงยาวลากพื้น" กิโมโนของผู้หญิงแบบธรรมดามีความยาว 1.5 - 1.6 เมตร ในขณะที่กิโมโน Hikizuri สามารถมีความยาวได้ถึง 2 เมตร ลักษณะเด่นอีกประการของกิโมโนประเภทนี้คือ เมื่อถูกสวมโดยเกโกะ (芸子 : ใช้เรียกเกอิชาในสำเนียงคันไซ ส่วนมากหมายถึงเกอิชาในเกียวโต) หรือไมโกะ (舞妓 : เกโกะฝึกหัด) พวกเธอจะดึงกิโมโนส่วนล่างขึ้นไปเพื่อไม่ให้ถูกพื้นที่สกปรกในขณะเดิน เผยให้เห็นกิโมโนชั้นใน (Nagajuban : 長襦袢) ที่มีลวดลายสวยงาม

กิโมโน Hikizuri ใช้สำหรับสวมประกอบการร่ายรำ

กิโมโน Hikizuri มีความยาวมากกว่ากิโมโนธรรมดาถึงครึ่งเมตร
กิโมโนธรรมดา

เกอิชา โดยเฉพาะเกโกะและไมโกะในเกียวโตจะสวมกิโมโน Hikizuri เสมอ

เมื่อเกโกะและไมโกะสวมกิโมโน Hikizuri พวกเธอจะดึงกิโมโนส่วนล่างขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกพื้นที่สกปรกในขณะเดิน
ผ้าสีแดงด้านล่างคือกิโมโนชั้นใน เรียกว่า Nagajuban

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #8: Uji cha

เพลง : Uji cha (宇治茶)
แบบฉบับ : Gion Higashi

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Tomitae จากโอกิยะ Tomikiku

แบบฉบับ : Miyagawacho

By: woi3ocho2jin1 on Youtube
ไมโกะ Satono จากโอกิยะ Kawahisa
และเกโกะ Fukuhiro จากโอกิยะ Shigemori

By: mamemaru93 on Youtube
ไมโกะ Fukusato จากโอกิยะ Ishihatsu

แบบฉบับ : Pontocho

By: ToshihaGeiko on Youtube
เกโกะ Ichisono จากเขต Pontocho

Fumiou, Tai Sakura Okiya

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เกอิชา นาฏนารี #8: Kimicho-san เกอิชาชาวอเมริกัน(1)

     บทสัมภาษณ์ Kimicho-san ชาวอเมริกัน ผู้ทำหน้าที่เกอิชาชาวต่างขาติในโตเกียว
     โดย Geisha-kai on Tumblr
     ตอนที่ 1

     Q: ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ
     A: สวัสดีค่ะ ฉันอายุ 25 ปี มาจาก Saint Louis, รัฐ Missouri อันเป็นเมืองเกษตรกรรมเล็กๆ ทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกาค่ะ เมืองนี้มีประชากรประมาณ 2,000 คน และห่างไกลจากโตเกียวมาก ตอนนั้น นอกจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นแล้ว ฉันก็ชอบแมว บัลเลต์ และการทำอาหารด้วยค่ะ

     Q: เรื่องราวการก้าวเข้าสู่การเป็นเกอิชาของคุณเป็นอย่างไรคะ
     A: ฉันหลงไหลในวัฒนะธรรมญี่ปุ่นตั้งแต่เด็ก เมื่อครั้งที่ฉันจบชั้นมัธยมปลาย ตอนนั้นฉันคิดไม่ออกเลยค่ะว่าอาชีพไหนที่เหมาะกับตัวเอง ก็เลยลองเรียนหลายสาขามากๆ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจได้ว่าฉันจะวิ่งตามความฝัน ด้วยการเริ่มเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นค่ะ ฉันเรียนอยู่ที่อเมริกาหนึ่งปีเต็ม แล้วต่อมาฉันก็ได้มีโอกาสมาศึกษาต่อที่ Nagasaki นั่นเป็นการย้ายที่อยู่ของฉันเป็นครั้งแรกเลยล่ะค่ะ เมื่อย้ายมาญี่ปุ่นแล้ว ฉันได้เรียนวิชาที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นคือตอนที่ฉันไปทัศนศึกษาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวัดและศาลเจ้า ครูกล่าวถึงเกอิชาใน Nagasaki ด้วย นั่นทำให้เหมือนมีไฟลุกขึ้นมาในตัวฉันนับแต่ตอนนั้น ฉันได้แต่คิดว่ามันน่าเหลือเชื่อแค่ไหน ที่ฉันมาอยู่ที่ญี่ปุ่น ในเมืองเดียวกับเกอิชาตอนนี้ ฉันก็ไม่ได้คิดหรอกค่ะว่ามันจะเป็นไปได้ ตอนแรกก็แค่ต้องการจะพบพวกเขาเท่านั้น แต่หลังจากนั้นฉันก็คิดว่า ลองหน่อยน่า... มันอาจเป็นไปได้! แล้วฉันก็เริ่มพยายามเพื่อที่จะได้เป็นเกอิชา สุดท้ายฉันก็ทำได้ค่ะ และฉันคงอยากจะเตะตัวเอง ถ้าหากตอนฉันไม่แม้แต่คิดจะลองพยายาม

     Q: แล้วขั้นตอนสู่การเป็นเกอิชาของชาวต่างชาตินั้นยากมากไหมคะ เพื่อนร่วมงานของคุณ เกอิชาชาวญี่ปุ่นเขาดูแลคุณดีไหมคะ
     A: ทุกครั้งที่ได้รับคำถามกว้างๆ ลักษณะนี้ ฉันพยายามอย่างมากเลยค่ะที่จะไม่ตอบไปเกี่ยวกับคนหรือวัฒนธรรมญี่ปุ่นตรงๆ เพราะประสบการณ์ของฉันมันไม่สามารถตัดสินได้ ว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอ แต่สำหรับฉันนะคะ ชีวิตก็มีขึ้นมีลงเสมอ ก้าวแรกของฉันนั้นต้องขอบคุณคุณครูที่รู้จักคนที่เกี่ยวข้องกับเกอิชาใน Nagasaki ค่ะ จากนั้นฉันได้มีโอกาสเข้าไปในสำนักงานที่ดูแลเรื่องเกอิชา และดูการฝึกซ้อมนิดหน่อย ตอนนั้นฉันทำตัวสงบเสงี่ยมประหนึ่งว่าพวกเขาจะยอมรับฉัน และฝึกฉันให้เป็นเกอิชา แต่ตอนนั้นฉันยังพูดภาษาญี่ปุ่นได้ไม่ค่อยแข็งน่ะค่ะ ก็เลยทำให้ไม่ค่อยได้พูดคุยกับเกอิชาใน Nagasaki ตัวต่อตัวสักเท่าไร เกอิชาอาวุโสที่นี่ใจดีมาก แต่พวกเขายังดูสงสัยในตัวฉันมาก ฉันก็เข้าใจนะคะ สุดท้ายพวกเขาจึงตัดสินใจไม่รับฉันเข้าฝึกค่ะ ต่อมาฉันติดต่อสำนักเกอิชาที่อื่นๆ ผ่านเว็บไซต์ ผู้ดูแลสำนักปัจจุบันของฉัน (Okaasan) ก็มีมุมมองว่าเขตเกอิชาใน Oimachi (เขต Shinagawa, โตเกียว) ควรมีการปรับปรุงบ้าง ใช่ค่ะ เธอเป็นคนที่มีมุมมองเปิดกว้างต่อความพยายามของฉันมาก ฉันจึงได้เข้ารับการฝึกที่นั่น และก็โชคดีมากจริงๆ ที่รุ่นพี่ทั้งหลายดีกับฉันและคอยสนับสนุนฉันเสมอ แต่ก็มีบ้างนะคะ คนที่ยังสงสัย ระแวงกันอยู่ แต่ฉันก็เข้าใจพวกเขาค่ะ

**ติดตาม Kimicho-san ได้ที่ Instagram ของเธอ**

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก Geisha-kai on Tumblr

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตำรับอาหารญี่ปุ่น #8: Chirashizushi

     Chirashizushi (ちらし寿司) ทำมาจากผักปรุงรสและเห็ดผสมกับข้าวซูชิ โรยหน้าด้วยถั่วลันเตา พริกหมัก และ Benishoga (ขิงแดง) เมื่อกล่าวถึง Chirashizushi หลายคนอาจนึกถึงอาหารจานใหญ่ ที่มีข้าวซูชิ และซาชิมิหั่นบางวางอยู่ด้านบน จึงทำให้เมนูนี้เป็นที่นิยมมากในภัตตาคารญี่ปุ่น

Chirashizushi

ตำรับ Chirashizushi
สำหรับ 4 ที่

วัตถุดิบ
สำหรับข้าว
     1. เห็ดหอม 20 กรัม (ประมาณ 3 ดอกใหญ่)
     2. เต้าหู้แช่แข็ง 2 ก้อน
     3. รากบัว 100 กรัม
     4. น้ำมันพืช 2 ช้อนชา
     5. แครอท 75 กรัม (หั่นบาง)
     6. เส้น Shirataki 150 กรัม (หั่นหยาบๆ)
     7. น้ำสต๊อกผัก 1 ถ้วย
     8. สาเก ½ ถ้วย
     9. น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
     10. ซีอิ๊ว ½ ช้อนโต๊ะ
     11. เกลือ ½ ช้อนชา
     12. ข้าวญี่ปุ่นสุก 1 หม้อ
     13. งาปิ้ง 1½ ช้อนโต๊ะ
     14. น้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับแช่รากบัว)

สำหรับส่วนโรยหน้า
     1. ถั่วลันเตา 100 กรัม
     2. พริกหวานสีแดง 200 กรัม
     3. พริกหวานสีเหลือง 200 กรัม
     4. น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
     5. เกลือ ¼ ช้อนชา
     6. Benishoga (ขิงแดง)

วิธีทำ
     1. วางเห็ดหอมลงในชาม เติมน้ำร้อน ½ ถ้วย  แช่ไว้ 30 นาที แล้วเทน้ำออก จากนั้นให้หั่นก้านเห็ดออก แล้วหั่นส่วนที่เหลือเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม
     2. แช่เต้าหู้แช่แข็งในน้ำที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 นาที แล้วหั่นเป็นชิ้นบางๆ
     3. ปิ้งพริกหวาน จากนั้นให้ปอกเปลือก หั่นเป็นเส้นๆ ยาว 2 นิ้ว แล้วปรุงรสด้วย น้ำตาล 1 ช้อนชา และเกลือ ¼ ช้อนชา คลุกให้เข้ากันดี
     4. ตั้งน้ำสะอาดบนเตา เตรียมน้ำเย็นใส่ชามไว้ใกล้ๆ  แล้วเตรียมถั่วลันเตาด้วยการนำเมล็ดออก จากนั้นเมื่อน้ำเดือด ให้ใส่ถั่วลันเตาลงไป ต้มต่อ 30 นาที เรียบร้อยแล้วจึงนำลงจากเตา นำไปแช่ในน้ำเย็นทันที นำขึ้น แล้วหั่นเป็นเส้นๆ
     5. เติมน้ำใส่ชาม ใส่น้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูลงไป 1 ช้อนชา จากนั้นปอกรากบัวและหั่นเป็นชิ้นหนาประมาณ ¼ นิ้ว นำไปแช่ในน้ำที่เตรียมไว้เพื่อช่วยให้รากบัวไม่เปลี่ยนสีเมื่อถูกอากาศ แล้วนำขึ้นจากน้ำ
     6. หุงข้าวญี่ปุ่น
     7. เทน้ำมันลงบนกระทะ ใช้ไฟกลางผัดแครอท 1 นาที
     8. ใส่เห็ดหอมลง เต้าหู้ รากบัว และเส้น Shirataki ลงไปผัดกับแครอทต่ออีก 1 นาที
     9. เติมน้ำสต๊อกผัก สาเก น้ำตาล และซีอิ๊ว ผัดต่อจนน้ำสต๊อกแห้งและแครอทเริ่มนิ่ม
     10. เทส่วนผสมทั้งหมดที่ผัดได้ใส่กระชอนสะอาด ทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ
     11. ผสมส่วนผสมจากข้อ 10 กับงาปิ้ง คลุกให้เข้ากัน
     12. เทใส่จาน ตกแต่งหน้าข้าวด้วยพริกหวานปรุงรส ถั่วลันเตา และ Benishoga (ขิงแดง)

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Norecipes

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

กิโมโนศาสตร์ #8: Tomesode

     กิโมโน Tomesode (留袖着物)

     กิโมโน Tomesode เป็นกิโมโนแขนสั้นสำหรับหญิงแต่งงานแล้วที่มีระดับความเป็นทางการสูง ตามแบบแผนของกิโมโน หญิงโสดจะสวมกิโมโนแขนยาว และแขนจะสั้นลงเมื่อเธอแต่งงานแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่าแขนของกิโมโนหากยาวมากเกินไป จะเป็นปัญหาสำหรับการทำงานในครัวของหญิงที่แต่งงานแล้วได้

     ข้อแตกต่างของกิโมโน Tomesode กับกิโมโนของผู้หญิงประเภทอื่นก็คือ กิโมโนประเภทนี้จะมีลายเฉพาะช่วงต่ากว่าเอวเท่านั้น และจะมีตราประจำตระกูล 3 - 5 จุด ปรากฏบนชุดเสมอ เนื่องจากตราประจำตระกูลจะทำให้กิโมโนมีระดับความเป็นทางการสูงขึ้น

     Kuro-Tomesode (黒留袖 : Tomesode สีดำ) นิยมใส่ในงานแต่งงาน สำหรับหญิงผู้เกี่ยวข้องกับเจ้าสาวเจ้าบ่าวนั่นเอง โดยปก (Eri : ) เชือกประดับโอบิ (Obijime : 帯締め) และผ้าคาดเหนือโอบิ (Obiage : 帯揚げ) จะมีสีโทนขาวเสมอ และมีลายบนโอบิที่เข้ากับตัวกิโมโน อันเป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับโอกาสแห่งความสุขเท่านั้น ที่มาของสีดำบน Kuro-Tomesode ก็คือ มีความเห็นกันว่าสีดำนี้จะเข้ากับสีขาวจากกิโมโนของเจ้าสาวได้ดี สิ่งนี้จึงทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นหญิงสาวสวมกิโมโน Tomesode สีดำไปร่วมงานอื่นนอกจากงานแต่งงาน และสำหรับเจ้าสาว เธอจะไม่สวมกิโมโน Kuro-Tomesode แต่อาจเป็น Iro-Tomesode หรือ Houmongi แทน

Kuro-Tomesode กิโมโนแขนสั้นสีดำ

     Iro-Tomesode (色留袖) เป็นกิโมโนแบบเดียวกับ Kuro-Tomesode แต่แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ Iro-Tomesode จะมีสีสันอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีดำ กิโมโนประเภทนี้สามารถสวมได้โดยทั้งหญิงโสดและหญิงที่แต่งงานแล้ว โดยมีระดับความเป็นทางการปานกลาง เว้นแต่ว่าจะมีสัญลักษณ์ประจำตระกูลบนตัวกิโมโน ที่จะทำให้กิโมโน Iro-Tomesode เป็นทางการมากขึ้น

     สำหรับงานพระราชพิธีในพระราชวัง มีข้อห้ามว่าห้ามสวมกิโมโน Kuro-Tomesode เข้าร่วมพิธีเด็ดขาด เพราะถือว่าสีดำเป็นสีแห่งความเศร้าโศกและการไว้ทุกข์

Fumiou, Tai Sakura Okiya
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Wikipedia

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รำอย่างงาม ตามฉบับญี่ปุ่น #7: Ume ni mo Haru (Gion Higashi)

เพลง : Ume ni mo Haru (梅にも春)
แบบฉบับ : Gion Higashi

By: 山谷一秀 on Youtube
ไมโกะ Miharu จากโอกิยะ Okatome

By: Kei Gekiku on Youtube
ไมโกะ Tomitsuyu จากโอกิยะ Tomikiku

By: cokeccoco on Youtube
ไมโกะ Ryouka จากโอกิยะ Sakaemasa

Fumiou, Tai Sakura Okiya